ผู้เขียน หัวข้อ: ระวังถูกหลอกและเรื่องเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ ของใกล้ตัว  (อ่าน 68975 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
กลโกงบัตรเครดิต

ปัจจุบันพบกลโกงบัตรเครดิตในประเทศไทยหลายวิธี ได้แก่
1. การใช้อุปกรณ์อ่านข้อมูลจากแถบแม่เหล็ก (เครื่อง Skimmer) คัดลอกข้อมูลส่วนตัวที่บันทึกในแถบแม่เหล็กบนบัตรเครดิต แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปทำบัตรปลอม
และนำบัตรปลอมนั้นไปซื้อสินค้าหรือบริการ ทั้งนี้ ปัจจุบันสถาบันการเงินอยู่ระหว่างการเปลี่ยนรูปแบบของบัตรเครดิตจากการเก็บข้อมูลในแถบแม่เหล็ก
มาเป็นการใช้ชิปแทน ซึ่งจะช่วยลดปัญหานี้ได้
2. การขโมยบัตรเครดิตหรือนำบัตรเครดิตที่สูญหายไปใช้โดยเจ้าของบัตรไม่รู้ตัวดังนั้น หากพบว่าบัตรเครดิตสูญหายหรือถูกขโมย ให้รีบติดต่อสถาบันการเงิน
ผู้ออกบัตรเครดิตทันทีเพื่อขออายัดบัตร เพราะหากผู้อื่นนำไปใช้ ผู้ถือบัตรจะต้องรับผิดชอบต่อหนี้สินที่เกิดขึ้น
3. การปลอมแปลงเอกสารสำคัญเพื่อสมัครบัตรเครดิต ไม่ว่าจะเป็นลายเซ็น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ทะเบียนบ้าน สลิปเงินเดือน เพื่อหลอกลวงให้สถาบันการเงิน
ผู้ออกบัตรเครดิตหลงเชื่อ และนำบัตรเครดิตนั้นไปใช้จ่ายในนามของท่าน ทำให้ผู้ที่ถูกแอบอ้างเดือดร้อนเพราะถูกเรียกเก็บหนี้ที่ตนไม่ได้ก่อ
ข้อแนะนำในการป้องกันกลโกงบัตรเครดิต

1. ควรเก็บรักษาบัตรเครดิต บัตรประจำตัวประชาชน ใบขับขี่ และเอกสารสำคัญอื่น ๆ ไว้ในที่ที่ปลอดภัย และไม่มอบเอกสารดังกล่าวให้กับผู้ไม่น่าไว้ใจ
2. ควรจดหมายเลขที่บัญชีบัตรเครดิตและหมายเลขโทรศัพท์ของแผนกบริการไว้ในที่ปลอดภัย (ไม่ควรเก็บไว้ในกระเป๋าสตางค์)
3. เพื่อป้องกันกลโกงแบบ Skimming หากท่านจ่ายค่าสินค้าหรือบริการด้วยบัตรเครดิต ท่านควรอยู่ ณ จุดที่พนักงานทำรายการอยู่ หรืออยู่บริเวณใกล้ ๆ
ในระยะที่สังเกตได้
4. หลีกเลี่ยงการใช้บัตรเครดิตในร้านค้าที่มีความเสี่ยงหรือมีข่าวเรื่องการทุจริต
5. ท่านควรตรวจสอบความถูกต้องของรายการใช้จ่ายในสลิปบัตรเครดิต เช่น จำนวนเงิน วันที่ทำรายการ เลขที่บัญชี ทุกครั้งที่มีการใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิต
และควรเก็บสำเนาสลิปบัตรเครดิตเอาไว้เพื่อใช้ตรวจกับใบแจ้งยอดบัญชีว่าถูกต้องและตรงกัน หากพบรายการผิดพลาด ต้องรีบแจ้งผู้ออกบัตรเครดิตทันที
6. ระมัดระวังการใช้บัตรเครดิตเบิกเงินผ่านตู้เอทีเอ็มที่มีลักษณะน่าสงสัยว่าอาจมีการลักลอบติดตั้งอุปกรณ์ Skimmer รวมทั้ง ในขณะที่กดรหัสเอทีเอ็ม
ต้องระวังไม่ให้ผู้อื่นเห็นด้วย
7. ควรเลือกซื้อสินค้าหรือบริการทางอินเตอร์เน็ตจากเว็บไซต์ที่เชื่อถือได้

กลโกงบัตรเครดิต
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
กลโกงการปลอมแปลง E-mail และ Website สถาบันการเงินปลอม

Phishing คือ การหลอกลวงทางอินเตอร์เน็ตในรูปแบบของการปลอมแปลง e-mail หรือสร้าง Website ปลอม เพื่อหลอกให้ลูกค้าเปิดเผยข้อมูลทางด้านการเงิน
หรือข้อมูลส่วนตัวต่างๆ เช่น ข้อมูลหมายเลขบัตรเครดิต Username และ Password เป็นต้น ซึ่งสร้างความเสียหายทางการเงินต่อลูกค้าและสถาบันการเงิน
รวมทั้งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของลูกค้าในการใช้บริการการเงินทางอิเล็กทรอนิกส์
วิธีการที่พบในปัจจุบัน คือ การหลอกให้ลูกค้าหลงเชื่อว่ามี e-mail มาจากสถาบันการเงินและใช้หัวข้อและข้อความที่มีความน่าเชื่อถือ เช่น ขอให้ลูกค้าแจ้งยืนยัน
ข้อมูลทางการเงินเพื่อให้เป็นไปตามมาตรการการรักษาความปลอดภัยของบัญชีลูกค้า หรือ การแจ้งลูกค้าว่าถึงรอบระยะเวลาที่จะต้องตรวจสอบข้อมูลของลูกค้า หรือ
การแจ้งว่าบัญชีของลูกค้าได้ถูกอายัดไว้ชั่วคราว จึงขอให้ลูกค้ายืนยันข้อมูล เพื่อให้การทำธุรกรรมทางการเงินของลูกค้าสามารถดำเนินการได้ต่อไป เป็นต้น
พร้อมใส่สัญลักษณ์หรือเครื่องหมายของสถาบันการเงินและ Hyperlink ที่ e-mail โดยมีชื่อโดเมนและ Subdirectory เหมือนกับ URL ของสถาบันการเงินนั้น ๆ
ซึ่งแท้จริงแล้วเป็น Website ปลอม ที่เรียกว่า Spoofed Website หรือแนบแบบฟอร์มการสอบถามข้อมูล เพื่อให้ลูกค้ากรอกข้อมูลส่วนบุคคล เช่น หมายเลขบัตรเครดิต
เลขที่บัญชีเงินฝาก ชื่อบัญชีผู้ใช้บริการ (Username) และรหัสผ่าน (Password) เป็นต้น หลังจากที่ลูกค้าได้กรอกข้อมูลลงใน Website ปลอม หรือ
แบบฟอร์มการสอบถามนั้น ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ในทางมิชอบ เช่น การโอนเงินหรือการชำระเงินให้บุคคลที่สามผ่านการให้บริการ Internet Banking
หรือ Telephone Banking หรือ Mobile Banking หรือ การซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ตโดยใช้บัตรเครดิต เป็นต้น
ข้อแนะนำในการป้องกันการปลอมแปลง E-mail และ Website สถาบันการเงินปลอม

1. อย่าตอบรับ e-mail ที่ขอให้ท่านส่งข้อมูลส่วนตัวให้ รวมทั้ง ไม่ส่งข้อมูลส่วนบุคคลหรือข้อมูลสำคัญทางการเงิน เช่น หมายเลขบัตรเครดิต
ชื่อบัญชีผู้ใช้บริการ (Username) และรหัสผ่าน (Password) หมายเลขบัตรประจำตัวประชาชน หรือข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ไปกับ e-mail หรือ
การติดต่อทางโทรศัพท์ที่แอบอ้างมาจากสถาบันการเงิน
2. ไม่ควรใช้ Hyperlink ที่แนบมากับ e-mail หากต้องการเข้าใช้บริการ ให้เข้าผ่าน Website ของสถาบันการเงินนั้น ๆ โดยตรง



กลโกงสินเชื่อส่วนบุคคล

ในปัจจุบันแม้ว่าผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งที่เป็นสถาบันการเงินและผู้ประกอบธุรกิจที่มิใช่สถาบันการเงิน (Non-bank) จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก
แต่ยังมีการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคลที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย (สินเชื่อนอกระบบ) ที่เอาเปรียบผู้กู้เงิน ซึ่งจะนำไปสู่ภาระหนี้สินที่เพิ่มขึ้น
ธุรกิจบริการเงินด่วนนอกระบบสามารถพบเห็นได้ทั่วไป เช่นประกาศตามเสาไฟฟ้าหรือโฆษณาผ่านหนังสือพิมพ์ Website ตู้โทรศัพท์สาธารณะ โดยมี
ข้อความเชิญชวนให้มาใช้บริการ เช่น ระบุว่า “ให้วงเงินสูง อนุมัติและรับเงินสดทันทีภายใน 30 นาที” โดยสินเชื่อนอกระบบเหล่านี้จะมีอัตราดอกเบี้ย
ค่าบริการและค่าธรรมเนียมที่แพงกว่าปกติ
ตัวอย่าง
1. เมื่อลูกค้าติดต่อเข้าไปตามหมายเลขโทรศัพท์มือถือที่ระบุไว้ในโฆษณาผู้ให้บริการเงินกู้นอกระบบจะแนะนำวิธีการและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการขอรับสินเชื่อ
ซึ่งลูกค้าที่มีประวัติการชำระหนี้ไม่ดีหรือลูกค้าที่ใช้บัตรเครดิตเต็มวงเงินแล้วก็สามารถใช้บริการนี้ได้
2. เมื่อลูกค้ายอมรับข้อตกลงในการให้สินเชื่อ ผู้ให้บริการเงินกู้นอกระบบจะดำเนินการ ดังนี้
- กรณีลูกค้ามีบัตรเครดิตหรือบัตรของ Non-Bank ที่ให้บริการผ่อนสินค้าหรือสินเชื่อเงินสดก็จะให้ไปซื้อสินค้าจากร้านค้า เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ก
กล้องถ่ายรูปดิจิตอล และเครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น
- กรณีลูกค้าไม่มีบัตรดังกล่าวก็จะพาไปทำบัตรสมาชิกของ Non-Bank ที่ให้บริการผ่อนสินค้า หลังจากนั้นก็จะพาไปซื้อสินค้าจากร้านค้า
3. เมื่อได้สินค้าแล้ว ผู้ให้บริการเงินกู้นอกระบบจะรับสินค้าไว้และจ่ายเงินสดให้ลูกค้าแทนโดยจะหักค่านายหน้าในการให้บริการไว้ประมาณ 30% เช่น
ซื้อคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก 100,000 บาท หักค่านายหน้า 30% เป็นเงิน 30,000 บาท ลูกค้าได้รับเงินสด 70,000 บาท แต่เป็นหนี้เงินกู้ 100,000 บาท
4. หลังจากนั้น ลูกค้าสมาชิกบัตรจะต้องเป็นผู้ผ่อนชำระค่าสินค้าซึ่งรวมเงินต้น (100,000 บาท) พร้อมดอกเบี้ย ค่าปรับ ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมต่าง ๆ
กับสถาบันผู้ออกบัตรทำให้ผู้กู้มีภาระหนี้เพิ่มขึ้น ขณะที่ผู้ให้บริการเงินกู้นอกระบบไม่ต้องร่วมรับผิดชอบใด ๆ และยังนำสินค้าดังกล่าวไปจำหน่ายต่อด้วย
ข้อแนะนำในการป้องกันกลโกงสินเชื่อส่วนบุคคล

1. ควรใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลกับสถาบันการเงินหรือบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลแทนการกู้เงินนอกระบบ เนื่องจากการกู้เงิน
นอกระบบดอกเบี้ย ค่าบริการ และค่าธรรมเนียมจะแพงกว่าปกติ
2. ในการเลือกใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลกับผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าวควรพิจารณาเรื่อง อัตราดอกเบี้ย และ ค่าธรรมเนียมต่าง ๆ (เช่น ค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน
ค่าธรรมเนียมการจัดการเงินกู้ ค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี) เป็นต้น
3. ระมัดระวังโฆษณาที่ระบุว่า “ดอกเบี้ยต่อเดือนน้อยนิด หรือดอกเบี้ย 0%” โดยต้องดูว่าอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นอัตราต่อเดือนหรือไม่ ถ้าใช่ให้คูณ 12
จึงจะได้อัตราดอกเบี้ยต่อปีที่ต้องจ่ายจริง
นอกจากนี้ หากดอกเบี้ยที่ท่านต้องจ่าย มีลักษณะเป็นจำนวนคงที่ตลอดอายุสัญญาเงินกู้ (Flat Rate) ท่านต้องลองคำนวณว่าอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงแบบลดต้นลดดอก
(Effective Rate) เป็นเท่าไรโดยคูณด้วย 1.8 นอกจากดอกเบี้ยแล้ว ท่านต้องพิจารณาว่ายังมีค่าธรรมเนียม หรือค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นอีกหรือไม่
หากใช้บริการดังกล่าว เช่น ค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามหนี้ ค่าธรรมเนียมการชำระเงินที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสหรือธนาคารพาณิชย์ เป็นต้น
4. อย่าใช้บริการสินเชื่อส่วนบุคคลเพียงเพื่อต้องการของแถมจากผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าว เพราะท่านอาจประสบปัญหาหนี้สินได้ ควรระลึกอยู่เสมอว่า
ใช้สินเชื่อส่วนบุคคลเมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องกู้ยืมเงินไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
การล่อลวงข้อมูลลูกค้าจากกลุ่มมิจฉาชีพ


ช่วงเวลาที่ผ่านมา มีกลุ่มมิจฉาชีพพยายามเจาะข้อมูลของลูกค้าธนาคารพาณิชย์ต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้หาประโยชน์ในทางที่มิชอบ โดยใช้วิธีการอ้างว่าลูกค้าประชาชนมีหนี้อยู่กับธนาคารพาณิชย์ ซึ่งกลุ่มมิจฉาชีพจะมีวิธีการดังต่อไปนี้
1. โทรศัพท์ไปหาลูกค้าประชาชนแจ้งว่า ท่านค้างชำระหนี้จำนวนหนึ่งและจะมีเจ้าหน้าที่ของฝ่ายกฎหมายธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โทรมาสอบถามข้อมูลเพื่อจะแก้ไขข้อมูลเกี่ยวกับหนี้ที่ค้างชำระนั้นให้ถูกต้อง
2. ต่อมาผู้ที่อยู่ในกลุ่มมิจฉาชีพอีกคนหนึ่งจะโทรศัพท์มาเป็นครั้งที่สองโดยแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ ธปท. มาขอข้อมูล เช่น วันเดือนปีเกิด หมายเลขบัตรประชาชน หมายเลขบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตร ATM หรือหลอกลวงให้ไปที่ตู้ ATM และทำรายการตามที่บอก โดยอ้างว่าเพื่อแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง ซึ่งจะกลายเป็นการโอนเงินไปให้กลุ่มมิจฉาชีพ
นอกจากนี้อาจมีพฤติกรรมอื่น ๆ ในลักษณะทำนองเดียวกัน วิธีการปกติในการที่จะล่อลวงเอาเงินของลูกค้าประชาชนที่มีบัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตร ATM หรือบัตรที่ใช้ในการถอนเงินต่าง ๆ พวกมิจฉาชีพจำเป็นต้องรู้ข้อมูลของลูกค้าเสียก่อน โดยเฉพาะรหัสต่าง ๆ เช่น Security Code (หมายเลข 3 ตัวสุดท้ายที่อยู่ด้านหลังบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต) และใช้ข้อมูลรหัสดังกล่าวไปทำบัตรปลอมเพื่อลักลอบถอนเงินของลูกค้า
ข้อแนะนำในการป้องกันการล่อลวงข้อมูล
1. โปรดทราบว่าเรื่องที่เกิดขึ้นไม่มีเจ้าหน้าที่ของ ธปท. มีส่วนเกี่ยวข้องในการโทรศัพท์ขอข้อมูลท่านอย่างแน่นอน อย่าได้หลงเชื่อคำกล่าวอ้างของพวกมิจฉาชีพ
2. อย่าได้เปิดเผยข้อมูลในบัตรเครดิต บัตรเดบิต หรือบัตร ATM ของท่านให้แก่คนที่ท่านไม่รู้จักไม่ว่าจะมีข้อกล่าวอ้างประการใด
3. หากท่านได้รับโทรศัพท์เพื่อขอข้อมูลใด ๆ ขอให้ท่านตรวจสอบไปยังธนาคารพาณิชย์หรือผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตโดยตรง เพื่อสอบถามข้อเท็จจริงต่าง ๆ โดยไม่ใช้เบอร์โทรศัพท์ที่ผู้ขอข้อมูลแจ้งมา
4. หากมีเหตุที่ท่านไม่แน่ใจว่ามีกลุ่มมิจฉาชีพได้ล่วงรู้ข้อมูลของท่านไปแล้วหรือไม่ ขอได้โปรดติดต่อกลับไปยังธนาคารเจ้าของบัตรหรือผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตโดยตรงเพื่อดำเนินการต่าง ๆ ในการป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นและอาจทำการยกเลิกบัตรและเปลี่ยนบัตรใหม่

การแอบอ้างชื่อธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ พนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย เพื่อล่อลวงให้หลงเชื่อและทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ

ปัจจุบันมีมิจฉาชีพบางกลุ่มได้แอบอ้างชื่อธนาคารแห่งประเทศไทย หรืออ้างเป็นพนักงานแห่งประเทศไทย ในการติดต่อกับประชาชนทั่วไปทั้งทางโทรศัพท์ หรือ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) เพื่อลวงให้เหยื่อหลงเชื่อและทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ เช่น ลวงว่ามีเงินโอนจากต่างประเทศ (ซึ่งมาจากการขายสินค้าหรือได้รับมรดก) เข้ามาอยู่ที่บัญชีของธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว หากผู้รับต้องการเงินดังกล่าว ต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ นอกจากนี้อาจมีพฤติกรรมอื่น ๆ ในลักษณะทำนองเดียวกัน
ข้อแนะนำในการป้องกันการล่อลวง
1. ไม่ควรให้ข้อมูลส่วนตัวของท่านกับบุคคลภายนอกที่ติดต่อเข้ามา โดยที่ท่านไม่รู้จักหรือไม่เคยติดต่อกันมาก่อน เพราะท่านอาจถูกล่อลวงให้เสียทรัพย์ เมื่อท่านได้รับการติดต่อ ควรตั้งสติและไตร่ตรองความเป็นไปได้ของข้อความดังกล่าว พร้อมตรวจสอบข้อเท็จจริงกับสถาบันต่าง ๆ ที่ถูกระบุชื่อ
2. อย่าหลงเชื่อหรือทำธุรกรรมใด ๆ กับบุคคลที่แอบอ้างเป็นธนาคารแห่งประเทศไทย หรือพนักงานธนาคารแห่งประเทศไทย เนื่องจากอาจเป็นการหลอกลวงโดยประสงค์ต่อทรัพย์สินของท่าน ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย มีฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐ ทำหน้าที่เป็นธนาคารกลาง ดูแลเสถียรภาพด้านนโยบายการเงิน กำกับดูแลสถาบันการเงิน และจัดตั้งระบบการชำระเงินตามที่กฎหมายกำหนด มิได้มีหน้าที่ทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ เช่น โอน-รับโอนเงินจากประชาชนโดยตรง (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย (ฉบับที่ 4) พุทธศักราช 2551)
ทั้งนี้ หากได้รับความเสียหายจากเรื่องดังกล่าวโปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือ กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยี (บก.ปศท.) โทร. 0-2234-1068


 
 

 


ธนาคารแห่งประเทศไทย

ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ระวังกับดักเงินกู้นอกระบบ

http://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/PopularConner/Fraudalert/Documents/beware.pdf

ดูตามลิงค์นะครับ

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด

เชิญชมวิดิทัศน์ ระวังการกู้เงินนอกระบบ

http://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/PopularConner/Fraudalert/Pages/ClipPolicity_C.aspx

โทรศัพท์หลอกลวงแอบอ้างชื่อ ธปท.

ระวังถูกหลอก แอบอ้างเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนว่า ได้รับโทรศัพท์จากมิจฉาชีพแอบอ้าง เป็นเจ้าหน้าที่ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ เจ้าหน้าที่แบงค์ชาติ โดยแจ้งว่า เหยื่อติดหนี้บัตรเครดิต หรือบางครั้งแจ้งสถานที่ซื้อสินค้าผ่านบัตรเครติด ทำให้เหยื่อตกใจ หลังจากนั้นจะเสนอตัวเข้าไปให้ความช่วยเหลือโดยขอข้อมูลส่วนตัวหรือ ข้อมูลการเงินและให้ทำธุรกรรมผ่านเครื่อง ATM โดยให้โอนเงินเข้าบัญชี หรือบางรายให้เบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ ซึ่งเบอร์โทรศัพท์ดังกล่าวเป็นเบอร์หน่วยงานภายใน ธปท. จริง แต่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำดังกล่าว เช่น 0-2283-5355
ดังนั้น ธปท. จึงขอเตือนว่า อย่าหลงเชื่อกลุ่มมิจฉาชีพดังกล่าว เพราะ ธปท. ไม่มีธุรกรรมทางการเงินโดยตรงกับประชาชนทั่วไป และไม่มีระเบียบปฏิบัติให้เจ้าหน้าที่โทรศัพท์ติดตามทวงถามหนี้สินของประชาชน ทั้งนี้ ขอให้ผู้ที่พบเห็นพฤติกรรมดังกล่าว โทรศัพท์สอบถามมายัง ธปท.ได้ที่ ศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาการปล่อยสินเชื่อ Hotline 0-2283-5900 ระหว่างเวลา 8.30 – 16.30 น.

ธนาคารแห่งประเทศไทย

ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย
.

.




.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เตือนภัย เว็บไซต์หลอกลวง (Phishing) ว่าเป็น ธนาคารแห่งประเทศไทย !!!!!!!!!

ด้วยปรากฎว่ามีกลุ่มมิจฉาชีพ ได้จัดทำเว็บไซต์ลอกเลียนแบบเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) โดยมีข้อความ เนื้อหา และรูปภาพเลียนแบบเว็บไซต์ของ ธปท. รวมทั้งส่งเมล์ในนาม ธปท. แจ้งว่า บัญชีผู้ใช้งานมีปัญหา หรือ มีการพัฒนาระบบใหม่ เพื่อประกอบธุรกรรมทางเงินต่าง ๆ เช่น Internet Banking ซึ่งในเมล์ได้แนบ URL ที่มิจฉาชีพได้สร้างเลียนแบบไว้ ทำให้ผู้ที่ได้รับเมล์ความเข้าใจผิดและอาจหลงเชื่อดำเนินธุรกรรมทางการเงินผ่านเว็บไซต์ดังกล่าว
ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงขอแจ้งเตือนทุกท่าน อย่าได้หลงเชื่อ และตกเป็นเหยื่อ ของกลุ่มมิจฉาชีพดังกล่าว เนื่องจาก ธปท. ไม่มีการดำเนินธุรกรรมทางการเงินโดยตรงกับประชาชนทั่วไป และโปรดสังเกต URL ของเว็บไซต์ ธปท. จะต้องขึ้นต้นด้วย www.bot.or.th หรือ www2.bot.or.th เท่านั้น


ตัวอย่าง : หน้าจอเว็บไซต์หลอกลวง




ตัวอย่าง : ช่องทางติดต่อเพื่อลงทะเบียน




ตัวอย่าง : Internet Banking




ตัวอย่าง : หน้าจอ Login เพื่อเข้าใช้งาน




ที่มา http://www.bot.or.th/Thai/FinancialInstitutions/PopularConner/Fraudalert/Pages/phishing_web.aspx






.


.


.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด



ฉบับที่ 3/2553


เรื่อง มิจฉาชีพโทรศัพท์หลอกลวงเกี่ยวกับหนี้บัตรเครดิต


ด้วยปัจจุบันได้มีกลุ่มมิจฉาชีพโทรศัพท์หลอกลวงประชาชน เพื่อให้ประชาชนทำธุรกรรม โอนเงินให้กลุ่มมิจฉาชีพ ทำให้ประชาชนหลายรายได้รับความเดือดร้อนและบางรายต้องสูญเสียเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย จึงขอแจ้งเตือนประชาชนให้ทราบถึงวิธีการหลอกลวง และแนะนำแนวทาง ที่ควรปฏิบัติ
ทั้งนี้ พฤติกรรมการหลอกลวงของกลุ่มมิจฉาชีพปัจจุบันมีหลายรูปแบบ เช่นหลอกลวงว่าประชาชนเป็นหนี้บัตรเครดิตธนาคารพาณิชย์และจะช่วยเหลือแก้ไขรายการ หรือหลอกลวงเพื่อให้ได้รับข้อมูลส่วนตัวของประชาชน เพื่อให้ทำรายการโอนเงินที่ตู้ ATM เข้าบัญชีของกลุ่มมิจฉาชีพ นอกจากนี้ยังหลอกลวงว่าประชาชนจะได้รับสินเชื่อ อัตราดอกเบี้ยต่ำตามโครงการพิเศษจากหน่วยงานรัฐ และให้ทำรายการโอนชำระดอกเบี้ยล่วงหน้าเข้าบัญชีกลุ่มมิจฉาชีพ เพื่อให้จะได้รับสินเชื่อนั้น ๆ ต่อไป


การโทรศัพท์หลอกลวงของกลุ่มมิจฉาชีพมีจำนวนเพิ่มขึ้นมากขึ้นเป็นลำดับ โดยที่ ศูนย์ประสานงานการแก้ไขปัญหาสินเชื่อ ธปท ได้รับเรื่องร้องเรียนช่วงเดือนตุลาคมถึงธันวาคม 2552 จำนวน 489 ราย แต่ในครึ่งแรกของเดือนมกราคม 2553 นี้ การร้องเรียนเกี่ยวกับการถูกหลอกลวงเพิ่มขึ้น 316 ราย รวมเป็นทั้งสิ้น 805 ราย


ทั้งนี้ ธปท. มีข้อแนะนำสำหรับประชาชนเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ คือ
(1) หากท่านได้รับโทรศัพท์จากบุคคลที่อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ ธปท. หรือธนาคารพาณิชย์ หรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ แจ้งว่าท่านเป็นหนี้บัตรเครดิต หรือจะได้รับการสนับสนุนสินเชื่อหรือ ขอตรวจสอบข้อมูลส่วนตัวของท่าน ขอให้ท่านอย่าตกใจและอย่าให้ข้อมูลส่วนตัว แต่ให้โทรศัพท์ไปสอบถามที่ Call Center ของธนาคารติดต่ออยู่ หรือมีบัตรเครดิต หรือให้ไปติดต่อที่ธนาคารพาณิชย์ที่ถูกอ้างชื่อสาขาใดก็ได้ เพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อน
(2) หากท่านมีข้อสงสัยสามารถโทรศัพท์สอบถามที่ ศูนย์ประสานงานแก้ไขปัญหาการปล่อยสินเชื่อ ธนาคารแห่งประเทศไทยโทรศัพท์ 02-2835900 ในวันทำการ ตั้งแต่เวลา 8.30-16.30 น.


ธนาคารแห่งประเทศไทย
20 มกราคม 2553


.

http://www.bot.or.th/Thai/PressAndSp...553/n0353t.pdf

.



.



.


.


.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เครดิตบูโร
ที่มา http://www.ncb.co.th/CreditBureau_What.htm


ใครมีสิทธิ์ที่จะเข้ามาดูรายงานข้อมูลเครดิต

นอกจากสถาบันการเงินที่ผู้ขอสินเชื่อได้ให้ความยินยอม จะสามารถเรียกดูรายงานข้อมูลเครดิตเพื่อการวิเคราะห์สินเชื่อได้แล้ว ผู้ขอสินเชื่อเองก็ยังมีสิทธิ์ที่จะมาขอดูรายงานข้อมูลเครดิตของตนได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ค่ะ โดยการยื่นคำขอได้ที่ส่วนบริหารข้อมูลผู้บริโภค บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ และบริษัทยังได้อำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้น โดยให้ยื่นคำขอผ่านธนาคารนครหลวงไทยทุกแห่งทั่วประเทศก็ได้ค่ะ มีค่าธรรมเนียม 200 บาท ค่ะ (ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 50 ค่าธรรมเนียมลดเหลือ 100 บาท) ทั้งนี้บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติมีหน้าที่เก็บรักษารายงานดังกล่าวเป็นความลับ และไม่สามารถเปิดเผยให้แก่ผู้อื่นใด เว้นแต่ที่กฎหมายกำหนดไว้ค่ะ

การรักษาความลับ
นอกจากบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติจะมีหน้าที่ในการเปิดเผยข้อมูลเครดิตเพื่อใช้เป็นส่วนประกอบหนึ่งในการพิจารณาสินเชื่อแล้วนั้น บริษัทยังมีหน้าที่ในการรักษาความลับของข้อมูลด้วยนะคะ โดยบริษัทจะเปิดเผยรายงานข้อมูลเครดิตให้แก่สถาบันการเงินที่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์สินเชื่อเท่านั้นค่ะ นอกจากนี้แล้วบริษัทยังมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างแน่นหนา เพื่อไม่ให้ข้อมูลถูกทำลาย หรือถูกแก้ไขโดยไม่ได้รับอนุญาตด้วยคุ่ะ ดังนั้นคุณผู้ฟังก็มั่นใจได้เลยนะคะว่า ข้อมูลเครดิตของคุณผู้ฟังจะไม่ถูกนำไปเปิดเผยในทางอื่นใดค่ะ

การติดแบล็กลิส (Black List)
ท่านคงจะเคยได้ยินประโยคที่ว่า ไม่ได้รับสินเชื่อเพราะติดแบล็กลิสจากเครดิตบูโรใช่ไหมค่ะ จริงๆ แล้ว เครดิตบูโรไม่มีสิทธิ์ในการจัดแบล็กลิสผู้ขอสินเชื่อนะคะ เพราะเครดิตบูโรจะทำหน้าที่รวบรวมประวัติการชำระสินเชื่อหรือบัตรเครดิตของสินเชื่อทุกบัญชีจากสถาบันการเงินตามข้อเท็จจริง ซึ่งสถาบันการเงินใช้ข้อมูลเครดิตเป็นส่วนประกอบหนึ่งในการพิจารณาสินเชื่อค่ะ เพราะการตัดสินใจว่าจะให้หรือไม่ให้สินเชื่อนั้นยังมีปัจจัยอื่นๆ อีก เช่น รายได้ของผู้สมัครสินเชื่อ หลักประกัน บุคคลผู้ค้ำประกัน เป็นต้นค่ะ ในทางกลับกัน หากผู้ขอสินเชื่อมีประวัติการชำระสินเชื่อตรงเวลา ข้อมูลเครดิตก็จะมีส่วนช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้สถาบันการเงินพิจารณาอนุมัติสินเชื่อได้รวดเร็วยิ่งขึ้นค่ะ

รายงานข้อมูลเครดิต=รายงานผลการศึกษา
ท่านอาจเคยสงสัยว่า เหตุใดเมื่อผู้ขอสินเชื่อได้ชำระสินเชื่อที่เคยผิดนัดชำระไปเรียบร้อยแล้ว ประวัติการผิดนัดชำระยังปรากฏอยู่ในรายงานข้อมูลเครดิตอีก ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าข้อมูลเครดิตถูกเก็บเป็นประวัติคล้ายกับรายงานผลการศึกษาค่ะ โดยการชำระหนี้ก็เหมือนผลการเรียน ที่จะได้ดีหรือไม่ อย่างไร ก็จะบันทึกตามข้อเท็จจริง ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ดังนั้นหากต้องการแก้ไขให้มีประวัติชำระที่ดีขึ้น ก็ต้องชำระหน้าที่ค้างไว้ให้เสร็จสิ้น เพราะจะเป็นเหมือนการสอบซ่อมเพื่อให้มีผลการเรียนเพิ่มขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการมีวินัยและความตั้งใจที่ดีนั่นเองค่ะ แต่ทางที่ดีที่สุด ก็คือการไปชำระหนี้ให้ครบถ้วนและตรงเวลาทุกครั้งนะคะ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
การขอข้อมูลของตนเอง ณ ที่ทำการบริํษัทฯ





ตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต พ.ศ. 2545 มาตรา 25 เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองให้ความเป็นธรรมแก่เจ้าของข้อมูลให้เจ้าของข้อมูล มีสิทธิที่จะตรวจสอบข้อมูลของตน โดยบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด มีความยินดีที่ให้ท่านตรวจสอบข้อมูล ดังนี้

ณ ที่ทำการบริษัทฯ (ส่วนบริหารข้อมูลผู้บริโภคและข้อโต้แย้ง) มีขั้นตอนดังนี้


1. เจ้าของข้อมูลกรอก แบบคำขอตรวจสอบข้อมูลเครดิต (บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล) และยื่นแบบฟอร์มพร้อมแนบหลักฐานประกอบคำขอ ณ ที่ทำการของบริษัทฯ หลักฐานประกอบคำขอมีดังนี้
กรณีบุคคลธรรมดา
• บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง หรือบัตรประจำตัวบุคคลต่างด้าวตัวจริง หรือหนังสือเดินทางฉบับตัวจริงมาแสดง


ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ ให้นำ
• หนังสือมอบอำนาจบุคคลธรรมดา
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบอำนาจ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมทั้งบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงมาแสดง
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมทั้งบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงมาแสดง


กรณีนิติบุคคล
• สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล ที่รับรองไว้ไม่เกิน 3 เดือน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้องโดยกรรมการผู้มีอำนาจ พร้อมประทับตราบริษัท (ถ้ามี)
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจ พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง


ในกรณีที่มีการมอบอำนาจ ให้นำ
• หนังสือมอบอำนาจนิติบุคคล
• สำเนาหนังสือรับรองของนิติบุคคล ที่รับรองไว้ไม่เกิน 3 เดือน พร้อมลงนามรับรองสำเนาถูกต้องโดย กรรมการผู้มีอำนาจ พร้อมประทับตราสำคัญบริษัท (ถ้ามี)
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามและลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมทั้งนำบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงมาแสดง
• สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ และลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง พร้อมทั้งนำบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริงมาแสดง
2. ยื่นเอกสารในข้อ 1 และชำระค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบข้อมูลเครดิตต่อเจ้าหน้าที่ของบริษัทฯ
3. เจ้าของข้อมูลสามารถขอรับรายงานภายในวันยื่นคำขอ หรือยื่นความจำนงให้จัดส่งรายงานทางไปรษณีย์ลงทะเบียน (กรณีให้จัดส่งทางไปรษณีย์ ฉบับละ 20 บาท) 

สถานที่ตรวจสอบข้อมูลเครดิต
ส่วนบริหารข้อมูลผู้บริโภคและข้อโต้แย้ง
ชั้น 2 อาคาร 2 ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (สำนักงานใหญ่)
เลขที่ 63 ถนนพระราม 9 เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10320
โทรศัพท์ : (66) 02-643-1250
โทรสาร: (66) 02-612-5895




คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
รายงานข้อมูลเครดิตแสดงอะไร
http://www.ncb.co.th/credit_report.htm

1.ข้อเท็จจริงที่บ่งชี้ถึงตัวลูกค้าและคุณสมบัติของลูกค้าที่ขอสินเชื่อ
รายงานจะแสดงข้อมูลบ่งชี้ของท่าน ได้แก่ ชื่อ นามสกุล หมายเลขประำจำตัวประชาชน วันเดือนปีเกิด และที่อยู่ตามข้อมูุลที่ท่าน แจ้งในการขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินผู้ให้สินเชื่อ ที่เป็นสมาชิกของบริษัทฯ



2.การชำระหนี้ที่ดี
รายงานบัญชีที่มีประวัติการชำระที่ดี หมายถึง ท่านได้ชำระยอดหนี้ครบถ้วนและตรงตามกำหนดที่ระบุในเงื่อนไขสัญญา ข้อมูลในรายงานจะแสดงดังนี้



3.การผิดนัดชำระหนี้ หรือชำระหนี้ล่าช้า
หากท่านไม่ได้ชำระยอดหนี้หรือยอดใช้ไปของบัตรเครดิตตามเงื่อนไขการชำระเงิน ข้อมูลในรายงานจะแสดงดังนี้



4.กรณีชำระหนี้เดิมที่เคยผิดนัดหรือชำระล่าช้า
หากท่านได้กลับมาชำระยอดหนี้บัตรเครดิตที่ค้างชำระ ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2550 ในวันที่ 5เมษายน 2550 รวมทั้งสิ้นเป็นจำนวน 4,000 บาท รายงานจะแสดงข้อมูลดังนี้






.



.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)