ผู้เขียน หัวข้อ: ระวังถูกหลอกและเรื่องเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ ของใกล้ตัว  (อ่าน 69666 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เปิดโปงมิจฉาชีพลวงเหยื่อจากความเชื่อใจ ตอนที่ 1
-http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=PSVPY4e38Tw-

เปิดโปงมิจฉาชีพลวงเหยื่อจากความเชื่อใจ ตอนที่ 1

เปิดโปงมิจฉาชีพลวงเหยื่อจากความเชื่อใจ ตอนที่ 1




เปิดโปงมิจฉาชีพลวงเหยื่อจากความเชื่อใจ ตอนที่ 2
-http://www.youtube.com/watch?v=mtxhVfJWL5g-

เปิดโปงมิจฉาชีพลวงเหยื่อจากความเชื่อใจ ตอนที่ 2

เปิดโปงมิจฉาชีพลวงเหยื่อจากความเชื่อใจ ตอนที่ 2

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
กสทช.เตือนปิด "โรมมิ่ง" ขณะเยือนหนองคายชมบั้งไฟพญานาค ระวังค่าโทรพุ่งเป็นแสน
-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1382096373&grpid=00&catid=&subcatid=-

นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า กสทช. ออกประกาศเตือนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถือที่เดินทางไปเที่ยวเทศกาลบั้งไฟพญานาค วันออกพรรษา จ.หนองคาย ซึ่งติดกับประเทศลาว ต้องระมัดระวังและตรวจสอบกับเครือข่ายผู้ให้บริการแจ้งปิดบริการข้ามแดนอัตโนมัติ (โรมมิ่ง)  เพื่อป้องกันปัญหาการเชื่อมต่อสัญญาณของประเทศเพื่อนบ้านอัตโนมัติ และทำให้เกิดค่าใช้บริการที่มีราคาสูง
 
ทั้งนี้ หากผู้ใช้บริการไม่ได้แจ้งกับเครือข่ายเพื่อปิดสัญญาณ จะทำให้สัญญาณจากประเทศลาวเชื่อมต่อโครงข่ายอัตโนมัติ ส่งผลให้จะถูกเรียกเก็บค่าบริการรับสายในอัตราโรมมิ่งจากประเทศลาว แม้จะยังอยู่ในพรมแดนประเทศไทยก็ตาม

ดังนั้น สิ่งที่ผู้บริโภคควรดำเนินการ คือ การปิดบริการกับศูนย์บริการลูกค้าสัมพันธ์ของผู้ให้บริการเครือข่าย หรือ การกดปิดบริการที่ตัวเครื่อง โดยเฉพาะการใช้งานดาต้า ซึ่งแต่ละเครือข่ายจะไม่เหมือนกัน รวมทั้งควรสังเกตสัญลักษณ์ชื่อเครือข่ายที่ขึ้นบนหน้าจอโทรศัพท์ หากไม่ใช่เครือข่ายที่ใช้บริการอยู่ในไทย แสดงว่ากำลังโรมมิ่งอยู่
 
นายประวิทย์ กล่าวว่า จากข้อมูลพบว่า เคยมีกรณีร้องเรียนค่าบริการดาต้าโรมมิ่งจากการเดินทางไปประเทศสิงคโปร์เพียง 3 วันถูกเรียกค่าบริการถึง 2 แสนบาท หรือกรณีที่เกิดขึ้นกับผู้บริโภคชาวแคนาดาเมื่อ 2 ปีที่แล้ว ถูกคิดค่าบริการดาต้าโรมมิ่ง 200ล้านบาท
 
อย่างไรก็ตาม ในบางประเทศมีกฎหมายกำหนดไว้ว่า หากผู้บริโภคไม่สมัครใช้บริการ ห้ามเปิดบริการโรมมิ่งให้กับผู้บริโภค  แตกต่างจากประเทศไทยที่ผู้ให้บริการจะเปิดบริการให้อัตโนมัติ โดยเปิดบริการโรมมิ่งให้ทันทีพร้อมการเปิดซิม ซึ่งหากผู้ใช้บริการไม่ทราบ เมื่อเดินทางไปยังต่างประเทศ หรือแม้แต่พื้นที่ชายแดน ก็จะทำให้เกิดค่าใช้จ่ายจากการเชื่อมต่อกับสัญญาณโทรศัพท์ของประเทศเพื่อนบ้านและทำให้เกิดค่าใช้จ่ายจำนวนมาก

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ตร.รวบหนุ่มออสซี่แก๊งบัตรเครดิตปลอม ตระเวนกดเงินทั่วเมืองพัทยา

-http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNE16UTFNak0yT1E9PQ==&subcatid=-



วันที่ 3 พ.ย. พ.ต.ท.ชิดเดชา สองห้อง สวป.สภ.เมืองพัทยา จ.ชลบุรี พร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ และนายอรรถวิทย์ จุติเวช เจ้าหน้าที่สืบสวนและตรวจสอบด้านร้านค้ารับบัตรเครดิตสายบริหารทางการป้องกันการทุจริตของธนาคารทยพานิชย์ ได้ร่วมกันจับกุมตัวนายปีเตอร์ จูนาส (Peter Junas) อายุ 42 ปี สัญชาติออสเตรเลีย  พร้อมของกลาง บัตรอิเล็คทรอนิกส์ปลอมสีขาวล้วน และหลากสี ด้านหลังมีแถบแม่เหล็กจำนวน 271 ใบ เงินสด 10,000 บาท มาสอบสวน ที่ สภ.เมืองพัทยา หลังเข้าจับกุม ทั้งนี้ สืบเนื่องจาก เจ้าหน้าที่ตำรวจ ชุดจับกุม ได้รับการประสานจากเจ้าหน้าที่ของธนาคารไทยพานิชย์ว่า มีชาวต่างชาตินำบัตรอิเล็คทรอนิกส์ปลอมมาใช้เบิกถอนเงินสดอัตโนมัติตามตู้เอทีเอ็ม ในเขตเมืองพัทยา ซึ่งส่วนใหญ่ผู้เสียหายจะอยู่ต่างประเทศ คาดว่าน่าจะมีแก๊งปลอมบัตรเครดิตข้ามชาติ เข้ามาในพื้นที่ จึงออกสืบสวนหาข่าวและตรวจสอบภาพจากกล้องวงจรปิดพบกลุ่มชายต่างชาติได้ขับรถยนต์มาจอด แล้วลงเดินตระเวณกดเงินตามตู้บริการเงินด่วนเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 56  จึงทำการออกสืบสวนหาข่าว
               
จนเจ้าหน้าที่ชุดจับกุมได้ทำการสืบสวนเป็นที่แน่ชัดว่ากลุ่มดังกล่าวพักที่บริเวณโรงแรมดิไอคอนเพลส ม.6 ซ.เนินพลับหวาน อ.บางละมุง จ.ชลบุรี จึงได้ออกติดตามดูพฤติการณ์จนพบชายต่างชาติมีลักษณะการแต่งกายและรูปร่างคล้ายกับผู้ก่อเหตุที่ได้ตรวจสอบในภาพกล้วงวงจรปิดเดินสะพายกระเป๋าสีดำอยู่บริเวณลานจอดรถของโรงแรมดิไอคอนเพลส จึงได้แสดงตัวเข้าจับกุม จากการตรวจสอบพบว่านายปีเตอร์ จูนาส (Peter Junas) เคยถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.เมืองพัทยาจับกุมในข้อหาลักทรัพย์หรือรับของโจรมาแล้ว สอบสวนเบื้องต้นให้การรับสารภาพว่าได้ใช้บัตรอิเล็คทรอนิกส์ปลอมกดเงินตามตู้เงินด่วนจริง และ ยังรับว่าได้บัตรอิเล็คทรอนิกส์ปลอมมาจากเพื่อน ชื่อเล่นไอเยน ชาวสเปน(ไม่ทราบชื่อนามสกุลจริง)อายุประมาณ 42 ปี โดยจะนำเงินที่ได้จากการกดเงินส่งให้กับนายไอเยน ส่วนตนจะได้ค่ากด 25 เปอร์เซ็นจากยอดที่กด
 
ภายหลังจากการสอบสวนแล้วจึงได้แจ้งข้อหาได้ทำบัตรอิเล็คทรอนิกส์ปลอมขึ้นและนำบัตรอิเล็คทรอนิกส์ปลอมไปใช้เบิกถอนเงินสดอัตโนมัติ(ATM)ก่อนควบคุมตัวผู้ต้องหาพร้อมของกลางส่งพนักงานสอบสวนดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ตู้เอทีเอ็มตึกออลซีซั่น ถูกแฮก! สูญหลายหมื่น งดกดเงิน

-http://news.sanook.com/1307378/%E0%B8%95%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%8B%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%AE%E0%B8%81-%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99/-


(7 พ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทวิตเตอร์ วิทยุ จส.100 (@js100radio) ได้โพสต์ข้อความแจ้งเตือนประชาชนเกี่ยวกับการใช้บริการกดเงินสดผ่านตู้เอทีเอ็ม ภายในอาคารออลซีซั่น ย่านสาทร หลังพบผู้เสียหายจำนวนมาก ถูกโจรกรรมข้อมูล สููญเงินในบัญชีหลายหมื่นบาท

ตามรายงานระบุว่า กรณีดังกล่าวเกิดจากกระแสข่าวในโซเชียลเน็ตเวิร์ก ที่ต่อมาได้รับการยืนยันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ลุมพินี ว่าเกิดกรณีกดเงินผ่านตู้เอทีเอ็มและพบว่าถูกโจรกรรม เบื้องต้นพบผู้เสียหายกว่า 30 ราย เงินในบัญชีสูญหายไปตั้งแต่ 30,000 - 70,000 บาท โดยตู้เอทีเอ็มที่มีปัญหาพบว่าเกิดปัญหาตั้งอยู่ที่ย่านถนนวิทยุ ได้แก่ อาคารออลซีซั่น และอาคารโรเล็กซ์

พ.ต.ท.เดชา พรมสุวรรณ์ พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ สน.ลุมพีนี ได้ประกาศแจ้งเตือนประชาชนว่า งดใช้บัตรเอทีเอ็มทุกธนาคารกดเงินที่อาคารออลซีซั่นและอาคารโรเล็กซ์ หลังพบผู้เสียหายหลายราย เบื้องต้นพบว่า ข้อมูลถูกโจรกรรมโอนเงินไปยังประเทศยูเครน ขณะนี้กำลังสืบสวนสอบสวนอยู่

ขณะที่ทางด้าน สมาคมธนาคารไทย สั่งงดใช้บริการตู้เอทีเอ็มที่อาคารดังกล่าวที่กล่าวข้างต้น พร้อมกับแจ้งเตือนว่า ควรใช้มือบดบังขณะกดรหัสเพื่อทำธุรกรรมทางการเงิน ส่วนความเสียหายที่เกิดขึ้นทางธนาคารจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมด

ขอบคุณข้อมูลจาก ทวิตเตอร์ วิทยุ จส.100
-https://twitter.com/js100radio-


-------------------------------------------------------------------------
.
โดนมิจฉาชีพมาขอซื้อ S4 ยกกล่อง แล้วจ่ายแบงค์ปลอม

-http://hitech.sanook.com/1387784/%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%89%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD-s4-%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A1/-

โดนมิจฉาชีพมาขอซื้อ S4 ยกกล่อง แล้วจ่ายแบงค์ปลอม

กลายเป็นอีกหนึ่งอุทาหรณ์ที่ทางทีมงานอ่านเจอมา เลยอยากนำมาฝากกันครับ เมื่อมีกรณีขโมยมือถือกันต่อหน้าต่อตาโดยมูลดังกล่าวนั้นทางทีมงาน Sanook! Hitech เจอมาจาก เว็บไซต์ pantipmarket.com ซึ่งผู้เสียหายได้โพสรายละเอียดไว้ดังนี้


ช่วยด้วยคะ โดยขโมยมือถือ


ทำที่เป็นมาขอซื้อ เราบริสุทธิ์ใจนัดเจอในคอนโด มันก็อ้างว่ามาจาก พระราม 2 ขี่มอเตอร์ไซด์มา มาไม่เป็น ให้เรามารอที่ bts บางนาได้ไหม เราบอกว่าได้ ปรากฎว่า มันบอกว่า มารอข้างล่างนะ เพราะมันขี่มอเตอร์ไซด์มาไกล คุยราคากันไว้ 18,000 บาทถ้วน สรุปผ่านไปได้ประมาณ 1 ชม. มันโทรมาบอกว่าถึงพระโขนงแล้ว ใกล้ถึงแล้ว ให้มารอได้เลย


แต่มันบอกว่า มันมารออีกฝั่ง เราก็ งง (ก็นัดกันหน้ากรมอุตุ) จะไปรอฝั่งตรงข้ามทำไม ซึ่งแถวนั้นช่วงค่าๆ จะเปลี่ยวเพราะไม่มีบ้านคนเลย สรุปเราเลยนัดมันมาที่หน้าปั๊ม Esso หน้าปากซอยลาซาล เราอยู่รอมันประมาณ 20 นาที มันโทรมาบอกว่า มันรอฝั่งตรงข้าม ซึ่งฝั่งตรงข้ามถนนโล่ง รถไม่ติด (แต่ฝั่งที่เรายืนรอรถติดมาก) ด้วยความที่เราเห็นใจมัน เพราะคิดว่ามันบิดมอเตอร์ไซด์มาไกลจากพระราม 2 มาถึงซอยลาซาล

เราเลยยินดีข้ามสะพานลอยไปหามัน ณ จุดที่มันบอก ปรากฎว่า มันขอดูเครื่องเราก็เลยเปิดเครื่องให้มันดู พอมันดูได้ไม่นาน มันก็ทำเป็นควักเงินออกจากกระเป๋าสะพายของมันแล้วก็เก็บเข้าไปเหมือนเดิม ทำเป็นควักมานับแล้วเก็บ เราก็บริสุทธิ์ใจยังไม่เอาตังค์กับมัน รอจนให้มันเช็คสภาพเครื่องจนพอใจ จนมันพอใจมันบอก OK เราเลยยื่นถุงให้มัน ยกกล่องพร้ออมใบเสร็จตามรูปภาพ



ปรากฎว่า ระหว่างที่เรายื่น มันก็ยื่นเงินมา เรากำลังจะนับเงิน ระหว่างที่เราคลี่แบงค์ออกจากหนังยาง มันบิดมอเตอร์ไซด์หนีไปเลย (เลวมาก) เราดูเลขทะเบียนรถไม่ทัน เพราะตกใจ และทำอะไรไม่ถูกเลย เราพยายามจะมองหา แต่ไม่เห็นแล้วว่ามันขี่ไปทางไหน เรากำลังจะไปแจ้งความ จึงอยากมาบอกให้พ่อค้า แม่ค้า หรือคนขาย หลายๆคน รู้นะ มิจฉาชีพมันมาได้หลายรูปแบบจริงๆ

มิจฉาชีพ เป็นผู้ชาย ผอมผิวขาว มีนวดนิดหน่อย และใส่หมวกกันน็อคเต็มใบ แต่เอาหมวกขึ้นครึ่งใบที่หัว ไม่ได้ถอดออกหมด และคร่อมมอเตอร์ไซด์ไว้ตลอด ขี่มอเตอร์ไซด์ยี่ห้ออะไร ทะเบียนอะไร เราจำไม่ได้ เพราะตกใจมาก และ มืดด้วย

เบอร์มือถือของมัน 088-9319xxx (แต่เช็คใน Google ไม่พบอะไรเลย เหมือนซิม 1 บาท)

เราเคยขายให้ใครหลายๆ คน เจอหลายๆ คนที่มาซื้อนัดเจอแบบนี้ก็เยอะ แต่ไม่เคยเจอเลวๆ แบบนี้ เพราะปกติคนที่มาซื้อ บางทีมาไกล เราก็เห็นใจ เราเลยต้องยอมออกมาหาคนซื้อที่ปากซอยตามนัด แต่ก็ไม่เคยมีปัญหาแบบนี้ มาเจอไอ้เลวคนนี้รายแรก

ตอนที่เราคลี่แบงค์พัน ใบที่ 2 เราเห็นลายการ์ตูน เรารู้เลยว่าแบงค์กาโม่ เราเอามือไปคว้าด้านหลังมอเตอร์ไซด์ของมันแต่ไม่ทันเพราะมันบิดไปแล้ว เพราะตอนนั้นถนนโล่งมาก

เตือนภัยให้ทุกคนทราบนะ เราเอารูปมาลงไว้ ก็จะไปแจ้งความก็ไม่รู้ว่าจะได้คืนหรือไม่

จากเหตุการณ์ดังกล่าวมีเหล่าสมาชิกเข้ามาความเห็นที่ในมุมต่างๆ มากมาย ถือว่าเป็นอีกหนึ่งกรณีที่อยากให้อ่านและจำไว้เป็นประสบการณ์นะครับ!!

ที่มา: www.pantipmarket.com
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
สังเกตก่อนใช้...ตู้เอทีเอ็มปลอดภัย ไร้เครื่องสกิมเมอร์ฉกข้อมูล
-http://hilight.kapook.com/view/93328-



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

            บ่อยครั้งที่เราได้ยินข่าวมิจฉาชีพลอบติดตั้งเครื่องสกิมเมอร์ในตู้เอทีเอ็ม เพื่อขโมยข้อมูลในบัตรเอทีเอ็มของผู้ใช้งานแล้วกดเงินออกไปใช้เอง ซึ่งที่ผ่านมาก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่ต้องสูญเงินไปฟรี ๆ อย่างน่าเจ็บใจ แต่ถ้าเราลองสังเกตดูตู้เอทีเอ็มที่เราจะเข้าไปใช้ทำธุรกรรมสักนิด ก็อาจพอช่วยป้องกันไม่ให้เราตกเป็นเหยื่อของกลุ่มโจรไฮเทคเป็นรายต่อไปได้ แน่นอนว่ากระปุกดอทคอมมีคำแนะนำมาฝากกันด้วย


ก่อนอื่นมารู้จักเครื่องที่มีชื่อว่า "สกิมเมอร์" (Skimmer) กันก่อน

            สกิมเมอร์ เป็นเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ชิ้นเล็ก ๆ ที่คนร้ายสร้างขึ้นด้วยการนำแถบแม่เหล็กวงจรถอดรหัส และวงจรหน่วยความจำมาประกอบเข้าด้วยกัน สามารถพกพาได้ และใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ จากนั้นนำไปติดตั้งไว้ที่ช่องรูดบัตรของตู้เอทีเอ็ม

            เมื่อมีคนนำบัตรเอทีเอ็ม หรือบัตรเครดิตมารูด หรือสอดบัตรเข้าช่องเสียบบัตร แล้วกดรหัส ตัวแถบแม่เหล็กของสกิมเมอร์ก็จะบันทึกข้อมูลแล้วส่งไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ หรืออาจส่งข้อมูลต่อไปถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ของมิจฉาชีพเลยก็ได้ จากนั้นหน้าจอเอทีเอ็มอาจแสดงข้อความว่า "ขออภัย เครื่องไม่สามารถทำรายการได้" หรือ "ท่านทำรายการเรียบร้อยแล้ว กรุณารับเงิน" ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องอ่านบัตรปลอมที่ใช้

            เมื่อมิจฉาชีพขโมยข้อมูลจากบัตรเอทีเอ็มและรหัสผ่านไปแล้ว ก็จะนำข้อมูลนั้นไปสร้างบัตรปลอมที่มีข้อมูลในแถบแม่เหล็กเหมือนกับบัตรจริง ซึ่งสามารถนำไปกดเงิน หรือรูดซื้อสินค้าได้เหมือนบัตรจริงทุกประการ ทั้งนี้ คนร้ายบางคนอาจไม่นำข้อมูลไปทำบัตรปลอม แต่นำข้อมูลไปขายต่อในอินเทอร์เน็ตอีกทอดก็มี


แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรล่ะว่าตู้เอทีเอ็มตู้ไหนปลอดภัย ไร้สกิมเมอร์?

            เนื่องจากมิจฉาชีพมักซ่อนเครื่องสกิมเมอร์ไว้อย่างแนบเนียนมาก ดังนั้น การตรวจสอบอาจทำได้ไม่ง่ายนัก แต่อย่างน้อยก็มีแนวทางที่จะช่วยให้เราสังเกตเบื้องต้น เพื่อดูว่าตู้เอทีเอ็มนั้นเสี่ยงต่อการใช้งานหรือไม่ นั่นก็คือ

            ตรวจดูสิ่งผิดปกติรอบตู้เอทีเอ็มก่อนใช้งาน เพื่อดูว่ามีกล้องตัวเล็กซุกซ่อนอยู่หรือไม่ โดยมิจฉาชีพอาจติดกล่องใส่ใบปลิวไว้บริเวณเครื่อง เพื่อใช้ซ่อนกล้อง ถ้าพบเห็นกล่องใส่ใบปลิวแปลก ๆ ไม่ควรใช้เครื่องดังกล่าว และควรแจ้งให้ธนาคารทราบทันที

            ตรวจสอบบริเวณที่สอดบัตร หรือตรงแป้นกดตัวเลขว่ามีอุปกรณ์แปลกปลอมติดอยู่หรือไม่ หากสังเกตเห็นอุปกรณ์แปลกปลอม ให้รีบแจ้งให้ธนาคารทราบ

            ลองขยับหรือโยกอุปกรณ์ต่าง ๆ ของตู้เอทีเอ็มดู เพราะหากมีตัวสกิมเมอร์ติดอยู่ การโยกอาจจะทำให้ตัวสกิมเมอร์หลุดออกมาได้ เนื่องจากปกติแล้ว คนร้ายจะไม่ติดตั้งเครื่องนี้ไว้อย่างแน่นหนาเท่าใดนัก เพราะต้องถอดเครื่องสกิมเมอร์ไปใช้ติดตั้งตู้อื่น ๆ ด้วย

            หากเครื่องเอทีเอ็มเกิดขัดข้อง และบัตรติดอยู่ในเครื่อง ให้รีบแจ้งธนาคารเพื่ออายัดบัตรทันที เพราะการที่เครื่องขัดข้องอาจเป็นเล่ห์กลของคนร้ายที่ใช้เศษไม้ หรือไม้จิ้มฟันใส่เข้าไปในช่องอ่านบัตร เพื่อให้บัตรของผู้ใช้บริการติดอยู่ที่เครื่อง แล้วจะทำทีเข้ามาช่วยเหลือกดรหัสให้

            หากใส่บัตรไปในเครื่องแล้วไม่มีไฟกะพริบรอบช่องเสียบบัตร ควรเปลี่ยนไปใช้ตู้อื่น เพราะตู้นั้นอาจมีการติดตัวสกิมเมอร์ไว้ดูดข้อมูล


            นอกจากนี้ เพื่อเป็นการป้องกันตัวเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ ลองมาดูวิธีการใช้เครื่องเอทีเอ็มอย่างปลอดภัยกัน โดยเราควรจะต้อง...

            ตรวจสอบบริเวณเครื่องเอทีเอ็มที่จะเข้าไปใช้ว่ามีบุคคลต้องสงสัยอยู่หรือไม่ หากพบ ให้เปลี่ยนไปใช้เครื่องอื่น

            ใช้มือบังแป้นกดรหัสส่วนตัวขณะทำรายการ เพื่อไม่ให้ใครที่อยู่ข้าง ๆ หรือกล้องที่มิจฉาชีพแอบติดตั้งไว้มองเห็นรหัสส่วนตัวของเรา

            ใช้ลำตัวบังหน้าจอ ยืนประชิดกับตัวเครื่อง ขณะทำรายการ เพื่อไม่ให้คนที่ต่อแถวอยู่ข้างหลังมองเห็น
 
            พยายามใช้เครื่องเอทีเอ็มเครื่องที่เคยใช้เป็นประจำ เพราะหากเกิดความผิดปกติขึ้นเราจะสังเกตเห็นทันที

            พยายามเลือกใช้เครื่องเอทีเอ็มที่ตั้งอยู่ในที่ปลอดภัย มีคนพลุกพล่าน ในที่มีแสงสว่าง ไม่ใช่ที่เปลี่ยว เช่น ในสาขาของธนาคาร หรือตามร้านค้าที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง เพราะสถานที่ที่มีคนพลุกพล่านจะทำให้คนร้ายยากที่จะนำกล้องมาติดตั้งเพื่อแอบดูรหัสส่วนตัว

            หากพบความผิดปกติของเครื่อง ให้กดปุ่ม "ยกเลิก" เพื่อยุติการทำธุรกรรมนั้นทันที แล้วเปลี่ยนไปใช้เครื่องอื่น

            หลีกเลี่ยงการใช้เครื่องเอทีเอ็มที่มีข้อความ หรือป้ายที่แจ้งเตือนว่า ข้อความแนะนำการใช้เครื่องมีการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อข้อความถูกติดเหนือช่องรับบัตร เนื่องจากธนาคารไม่มีนโยบายที่จะติดข้อความหรือป้ายประกาศใด ๆ บนเครื่อง โดยเฉพาะกรณีที่มีการดัดแปลงเครื่อง

            เก็บสลิปข้อมูลการใช้บัตรเอทีเอ็มทุกครั้ง เพื่อไว้ใช้เปรียบเทียบกับรายการเดินบัญชีประจำเดือนของคุณ

            ไม่ควรรีบร้อนทำธุรกรรม ควรเก็บบัตรและธนบัตรเข้ากระเป๋าเงิน หรือกระเป๋าถือให้เรียบร้อยก่อนเดินออกจากบริเวณเครื่อง

            หลีกเลี่ยงการใช้รหัสบัตรเอทีเอ็มที่เดาง่าย เช่น เลขตอง เลขสวย เลขที่เรียงกัน รวมทั้งเลขที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนตัว เช่น เลขวันเกิด ทะเบียนรถ อายุ ฯลฯ ควรตั้งรหัสให้เดายาก โดยทั้ง 4 หลัก ไม่ควรจะเป็นเลขซ้ำกัน เพื่อให้การสุ่มหมายเลขรหัสบัตรทำได้ยากขึ้น

            ควรเปลี่ยนรหัสบัตรเอทีเอ็มเป็นประจำ และให้รีบเปลี่ยนรหัสบัตรทันทีเมื่อมีบุคคลอื่นทราบรหัสบัตรของคุณ เพราะคุณไม่ควรให้ใครรู้รหัสเด็ดขาด ไม่ว่าจะเป็นสมาชิกในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน หรือตำรวจ

            ควรจำกัดวงเงินการถอนในแต่ละวันไว้ โดยแจ้งไปยังธนาคาร เพื่อที่หากมิจฉาชีพได้นำบัตร หรือรหัสของคุณไปกด จะยังคงรักษาเงินไว้ได้บางส่วน

            ลองจดจำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ จะได้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพในยุคไอที !


อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก
เดลินิวส์
-http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=193379-

, ธนาคารกรุงเทพ
-http://www.bangkokbank.com/BangkokBankThai/WebServices/YourSecurityFirst/Howyouprotectyourself/Pages/HowtosafeguardyoursecuritywhenusingATM.aspx-

, ธนาคารกสิกรไทย
-http://www.kasikornbank.com/TH/ServicesChannel/SearchServiceChannel/ElectronicMachines/Pages/KATM.aspx-

-------------------------------------------------------------------------

แนะนำวิธีสังเกตตู้เอทีเอ็มที่ต้องสงสัยว่าจะมีเครื่องสกิมเมอร์ติดตั้งอยู่ เพื่อเฝ้าระวังภัยก่อนเงินของเราจะเกิดการสูญหาย
วันศุกร์ 8 พฤศจิกายน 2556 เวลา 11:24 น.
-http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=193379-














เมื่อวันที่ 8 พ.ย. ภายหลังจากมีคนร้ายชาวต่างชาติติดตั้งเครื่องสกิมเมอร์ในตู้เอทีเอ็ม ก่อนลักข้อมูลบัตรไปกดเงินจนเสียหายไปเป็นเงินหลายแสน แต่ยังมีหลายคนที่ไม่รู้จักเจ้าเครื่องดังกล่าวว่ามีวิธีการทำงานอย่างไร จึงเสนอข้อมูลไว้ให้เป็นประโยชน์ รวมทั้งวิธีสังเกตุสิ่งผิดปกติก่อนจะเสียบบัตรที่ตู้เอทีเอ็ม

วิธีสังเกตในการใช้บริการตู้เอทีเอ็ม คือก่อนใช้บริการทุกครั้ง ควรตรวจสิ่งดูผิดปกติ เช่น มีกล่องประชาสัมพันธ์ กล่องใส่ใบปลิว ติดที่หน้าตู้ ซึ่งเป็นการโฆษณาอื่นที่ไม่ใช่ของธนาคารหรือไม่ เพราะอาจจะมีกล้องตัวเล็กถูกซุกซ่อนไว้แอบถ่ายอยู่ จากนั้นก็ลองขยับหรือโยกอุปกรณ์ของตู้ได้ ถ้าไม่เป็นมาตรฐานของธนาคารมันจะหลุดออกมา เนื่องจากปกติมิจฉาชีพจะไม่ติดตั้งให้แน่นแบบถาวร เนื่องจากต้องถอดเครื่องสกิมเมอร์ไปที่ตู้อื่นด้วย

แต่ผู้มาใช้บริการบางรายอาจจะมาทำธุรกรรมที่ตู้ด้วยความเร่งรีบจนลืมระมัดระวัง ดังนั้นวิธีที่ง่ายที่สุดที่พอจะช่วยสังเกตุถึงความผิดปกติได้คือ ตู้เอทีเอ็มของทุกธนาคาร ก่อนที่จะเสียบบัตรจะต้องมีไฟกะพริบล้อมรอบช่องเสียบบัตรทุกครั้ง ดังนั้นถ้าไม่มีไฟกะพริบปรากฏให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจมีเครื่องดูดข้อมูล จึงควรเปลี่ยนไปใช้ตู้อื่น เพื่อความปลอดภัย

สำหรับ เครื่องสกิมเมอร์ (skimmer เครื่องดูดหรือกวาดข้อมูล) นั้น เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่คนร้ายสร้างขึ้น โดยนำเครื่องอ่านแถบแม่เหล็ก วงจรถอดรหัส และวงจรหน่วยความจำมาประกอบเข้าด้วยกัน สกิมเมอร์มีหลายขนาดตั้งแต่เท่ากับกล่องใส่รองเท้าไปจนถึงขนาดเท่าซองบุหรี่ที่คนร้ายซ่อนไว้ในอุ้งมือได้ ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่จึงสามารถพกพาได้สะดวก เมื่อนำบัตรเครดิต (หรือบัตรเดบิตเช่นบัตร ATM) มารูด สกิมเมอร์จะอ่านข้อมูลจากแถบแม่เหล็กและนำไปเก็บไว้ในหน่วยความจำ สกิมเมอร์ที่มีหน่วยความจำน้อยจะเก็บข้อมูลบัตรเครดิตได้ 50 ใบ ส่วนสกิมเมอร์ที่มีหน่วยความจำมากอาจเก็บข้อมูลได้หลายหมื่นใบ และเมื่อลักลอบดูดข้อมูลจากบัตรเครดิตไปแล้ว คนร้ายก็จะนำไปสร้างบัตรปลอมซึ่งมีอยู่ 2 แบบ แบบแรกเรียกว่า “บัตรสี” เป็นบัตรเครดิตปลอมที่มีสี มีลวดลาย และมีตัวพิมพ์นูนเหมือนของจริงทุกอย่าง รวมทั้งมีข้อมูลในแถบแม่เหล็กอย่างถูกต้องอีกด้วย บัตรแบบนี้สามารถนำไปใช้ได้ทุกแห่งเช่นเดียวกับบัตรจริง บัตรปลอมอีกแบบเรียกว่า “บัตรขาว” เป็นบัตรพลาสติกสีขาวมีเพียงแถบแม่เหล็กเก็บข้อมูล ซึ่งเพียงพอที่จะนำไปใช้ในหลายๆ แหล่ง เช่นนำไปกดเงินสดจากตู้ ATM หรือนำไปใช้กับร้านค้าที่ทุจริต คนร้ายบางคนไม่ทำบัตรปลอม แต่นำข้อมูลบัตรของเราไปขายในอินเตอร์เน็ตก็มี
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด

8 ข้อเตือนภัยก่อนใช้ INTERNET BANKING

-http://guru.sanook.com/pedia/topic/8_%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89_INTERNET_BANKING/-


ปฏิเสธไม่ได้ว่า ทุกวันนี้คนเราต่างต้องใช้อินเตอร์เน็ตกันมากขึ้น ไม่เว้นแม้กระทั่งการทำธุรกรรมการเงินต่างๆ ที่สถาบันการเงินแต่ละแห่งต่างคิดค้นบริการทางอินเตอร์เน็ตหลากหลายรูปแบบ เพื่อให้บริการลูกค้าผ่านทางเว็บไซต์ของตัวเอง ซึ่งแน่นอนว่าลูกค้าหรือผู้ใช้บริการจะได้รับความสะดวกสบายมากขึ้น สามารถทำธุรกรรมการเงินกับธนาคารได้โดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง ลดการสิ้นเปลืองพลังงาน แถมยังได้รับบริการที่รวดเร็วทันใจเพียงแค่คลิกเท่านั้น

แต่อย่างไรก็ตาม การใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อทำธุรกรรมการเงินต่างๆ เมื่อมีข้อดีมากมาย ก็มีข้อควรระวังในเรื่องของความปลอดภัย ที่แม้ว่าธนาคารจะมีระบบป้องกันความปลอดภัยให้กับลูกค้าเป็นอย่างดี แต่ก็ยังมีเหล่ามิจฉาชีพที่พยายามหาช่องโหว่ด้วยวิธีการต่างๆ ล่อล่วงเอา ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อนำไปใช้ในทางมิชอบ ซึ่งผู้ใช้บริการเองก็ต้องรู้เท่าทัน เพื่อป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อ

1. ผู้สมัครใช้บริการทางการเงินผ่านทางอินเตอร์เน็ต ต้องเก็บรักษารหัสชื่อผู้ใช้บริการ (User ID) รหัสผ่าน (Password) และรหัสรักษาความปลอดภัย (Security Password) เป็นความลับ

2. หมั่นเปลี่ยนรหัส ผ่านอยู่เสมอ และไม่ควรใช้รหัสผ่านที่บุคคลอื่นคาดเดาได้ง่าย

3. ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง เช่น รหัสชื่อผู้ใช้บริการ (User ID) รหัสผ่าน (Password) รหัสเอทีเอ็ม (ATM PIN) รหัสบัตรเครดิต หมายเลขบัญชี หมายเลขบัตร หรือข้อมูลส่วนบุคคลผ่านทางอีเมล์ใดๆ

4. อย่าตอบกลับอีเมล์ที่ส่งข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ มาให้ปรับปรุงข้อมูลหรือยืนยันความถูกต้อง

5. หลีกเลี่ยงการคลิกลิงก์ (link) ที่แนบมากับอีเมล์ที่ไม่ทราบชื่อผู้ ส่ง หรืออีเมล์ที่ขอข้อมูลส่วนบุคคล เพราะอาจมีโปรแกรมสอดแนม (Spyware) แนบมากับลิงค์เหล่านั้นเพื่อโจรกรรมข้อมูล

6. คลิก ออกจากระบบ (Log out) เมื่อเลิกใช้อีเมล์หรือทำรายการทางการเงินต่างๆ แต่ละครั้งเรียบร้อยแล้ว

7. ตรวจสอบความถูกต้องของรายการธุรกรรม และยอดเงินในบัญชีของตนเองอย่าง สม่ำเสมอ เพื่อป้องกันรายการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น

8. หลีกเลี่ยงการใช้คอมพิวเตอร์ร่วมกับผู้อื่น เช่น ในร้านอินเตอร์เน็ต เพราะอาจไม่มีระบบความปลอดภัยที่ดีพอ


ที่มาข้อมูลและภาพ xn--r3ckmn7exc7b.com

http://guru.sanook.com/pedia/topic/8_%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89_INTERNET_BANKING/
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :42: เคยเจอตู้กดเงินตอนดึกๆ ไฟไม่กระพริบเหมือนกันครับพี่หนุ่ม ผมก็งงๆ เลยไม่ได้เสียบบัตร
เสียวๆเหมือนกันครับ

ส่วนเรื่องแบงค์กาโม่นี่ เป็นตลกร้ายจริงๆนะครับ อ่านแล้วขำๆ แต่คนได้แบงค์กาโม่ไปคงขำไม่ออก
ช่วงนี้คนหากินกันแปลกๆผิดๆเยอะนะครับ

ขอบคุณครับพี่หนุ่ม
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เผยแฮกเกอร์ล้วงข้อมูลรหัสผ่านทั่วโลกไปแล้ว 2 ล้านบัญชี

-http://money.kapook.com/view77813.html-


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

           บริษัทรักษาความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ตในสหรัฐฯ เผยผลการวิจัย พบแฮกเกอร์ทั่วโลกจารกรรมข้อมูลรหัสผ่าน เข้าสู่เว็บไซด์ต่าง ๆ จากผู้ใช้ทั่วโลก รวมแล้วราว 2 ล้านรหัส

           เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2556 สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น รายงานว่า ทรัสต์เวฟ (Trustwave) บริษัทรักษาความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ตในสหรัฐฯ เผยผลการวิจัย พบแฮกเกอร์ทั่วโลกได้เคยจารกรรมข้อมูลรหัสผ่านที่ผู้ใช้งานทั่วโลกใช้เพื่อเข้าสู่เว็บไซด์ต่าง ๆ อาทิ เฟซบุ๊ก, ทวิตเตอร์, ยาฮู, กูเกิล และฮอตเมล รวมทั้งอีเมลธนาคารออนไลน์และเว็บไซต์อื่น ๆ รวมแล้วราว 2 ล้านรหัส

           โดยการจารกรรมข้อมูลส่วนใหญ่นั้น เกิดจากการที่แฮกเกอร์ได้ส่งมัลแวร์หรือไวรัสเข้าไปติดตั้งและแฝงตัวอยู่ในคอมพิวเตอร์ของเหยื่อ ซึ่งมัลแวร์หรือไวรัสนั้นจะทำหน้าที่ดักจับข้อมูลรหัสผ่านที่ผู้ใช้งานใช้ล็อกอินเข้าสู่เว็บไซต์ต่าง ๆ ในช่วงเดือนที่ผ่านมา ก่อนส่งชื่อผู้ใช้ และรหัสผ่านของผู้ใช้งานนั้นมายังเซิร์ฟเวอร์ที่ควบคุมโดยแฮกเกอร์

           นอกจากนี้ จากผลการวิจัยการติดตามเซิร์ฟเวอร์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ยังพบว่า มีข้อมูลส่วนตัวในบัญชีผู้ใช้บนเว็บไซต์ต่าง ๆ ที่ถูกบุกรุกโดยแฮกเกอร์มากถึง 93,000 เว็บไซต์ อาทิ เฟซบุ๊ก 318,000 บัญชี, จีเมล กูเกิล และยูทูบ รวม 70,000 บัญชี, ยาฮู 60,000 บัญชี และทวิตเตอร์อีก 22,000 บัญชี

           ด้าน จอห์น มิลเลอร์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยความปลอดภัยของทรัสต์เวฟ เผยว่า แม้ว่าทางทีมวิจัยของบริษัทจะยังไม่มีหลักฐานที่บ่งชี้อย่างชัดเจนว่าบัญชีต่าง ๆ เหล่านี้ได้ถูกแฮกเกอร์ล็อกอินเข้ามา แต่ก็เป็นไปได้ที่จะเป็นฝีมือของแฮกเกอร์ ซึ่งในขณะนี้ทางทีมผู้วิจัยเองก็ยังไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัดว่าไวรัสตัวนี้ได้บุกรุกเข้าไปแฝงตัวอยู่ในคอมพิวเตอร์ส่วนตัวของผู้ใช้งานกี่เครื่องแล้วกันแน่ เพราะมันเป็นไปไม่ได้เลยที่พวกเขาจะติดตามจำนวนคอมพิวเตอร์ที่ติดเชื้อเหล่านั้น

           อย่างไรก็ตาม จอห์น ได้ให้คำแนะนำสำหรับผู้ที่ไม่มั่นใจว่าคอมพิวเตอร์ของพวกเขาติดเชื้อหรือไม่ว่า ผู้ใช้งานสามารถลดความเสี่ยงได้ด้วยการอัพเดทซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสในเครื่องของพวกเขา รวมทั้งอัพเดทแพทช์ล่าสุดของอินเทอร์เน็ตเบราว์เซอร์, Adobe (ADBE) และ Java

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ต้องการยกเลิกบัตรเครดิตที่ไม่ใช้งาน ทำได้ทันทีหรือไม่

-http://money.kapook.com/view78098.html-


เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม

          สมัครบัตรเครดิตไว้ โดยไม่เคยใช้ แต่กลับถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในช่วงสิ้นปี กรณีนี้เจ้าของบัตรสามารถยกเลิกการใช้บริการได้ทันทีหรือไม่ วันนี้เรามีคำตอบมาฝากค่ะ

          สำหรับใครที่กำลังประสบปัญหาน่าปวดหัว หลังจากเคยสมัครบัตรเครดิตไว้ โดยไม่เคยเปิดใช้งาน แต่ในช่วงสิ้นปีกลับถูกเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียม หนำซ้ำเมื่อจะขอยกการใช้บัตรเครดิตทันที ก็ไม่สามารถทำได้ เนื่องจากพนักงานอ้างว่า ต้องรอตัดรอบบิลใหม่ จนกลายเป็นการเพิ่มภาระทางการเงินโดยไม่รู้ตัว เพื่อคลี่คลายปัญหาเหล่านี้ กระปุกดอทคอมซึ่งได้รับการเอื้อเฟื้อข้อมูลจากเว็บไซต์ decha.com จึงนำข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกันค่ะ

          คำถาม : สมัครบัตรเครดิตแต่ไม่เคยแจ้งเปิดใช้งาน พอถึงสิ้นปีกลับถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียม และเมื่อโทรไปคอลเซ็นเตอร์  ทางพนักงานบอกว่าจะยกเลิกค่าธรรมเนียมให้  แต่พอขอปิดบัตรเลย พนักงานกลับบอกว่าปิดไม่ได้ เนื่องจากบัตรได้ต่ออายุไปแล้ว คงต้องรอช่วงเดือนธันวาคม ของปีถัดไป กรณีนี้หากต้องการปิดบัตรทันที จะต้องทำอย่างไรบ้าง

          คำตอบ :  สำหรับกรณีดังกล่าว เจ้าของบัตรเครดิตควรทำหนังสือบอกเลิกสัญญาการใช้บริการบัตรเครดิต ด้วยการส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับอย่างเป็นทางการไปถึงคู่สัญญา และหากผู้ให้บริการซึ่งเป็นผู้ประกอบธุรกิจยังเรียกเก็บค่าธรรมเนียมโดยมิชอบอีก ผู้ใช้บริการที่ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหาย อันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ประกอบธุรกิจดังกล่าว มีสิทธิที่จะยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ต่อสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย ตามความมาตรา 20 (1) แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้ทันที


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
อีกแล้ว!! เตือนภัย ลูกค้าธนาคาร แม้ไม่ได้เปิด e-Banking ก็โดนขโมยเงินได้!

ขอบคุณที่มา:  -www.it24hrs.com-

-http://hitech.sanook.com/1388218/%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94-e-banking-%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B9%80/-


จากเหตุการณ์ เตือนภัย Internet Banking รูปแบบใหม่!! ปลอมเป็นคุณ ด้วยหลักฐานปลอม สวมรอยโอนเงินออก สูญหลายแสน! ที่ เคยนำเสนอมาแล้ว….มาคราวนี้ ได้รับข้อมูลใหม่ จากผู้เสียหายอีกท่าน ที่ใช้บริการบัญชีออมทรัพย์ธนาคารเดี่ยวกันกับเคสที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ แต่ คราวนี้ หนักกว่าเดิม! เพราะผู้เสียหายรายนี้ ไม่เคยมีบัญชี Internet Banking ด้วยซ้ำ! แต่โดนคนร้ายสวมรอยใช้เอกสารปลอม เปิดบัญชีใหม่แบงค์เดียวกัน แต่ต่างสาขา และคนร้ายก็ไปจัดการเปิดใช้ internet banking เอง ขโมยเงินเจ้าของบัญชีตัวจริงไป รวมกว่า 5 แสนบาท!!!


iT24Hrs เตือนภัย แม้ไม่มี e-banking ก็โดนขโมยโอนเงินได้ 20aug13
-http://www.youtube.com/watch?v=WCC74uxJTyo-

iT24Hrs เตือนภัย แม้ไม่มี e-banking ก็โดนขโมยโอนเงินได้ 20aug13
iT24Hrs เตือนภัย แม้ไม่มี e-banking ก็โดนขโมยโอนเงินได้ 20aug13


คุณเอ ไชยเดช ศิริวัฒนกุล ผู้เสียหายจากเหตุการณ์นี้ ได้ แจ้งความที่ สน.หาดใหญ่ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม หลังพบว่าบัญชีของตัวเองเงินหายไปกว่า 560,000 บาท ซึ่งทางผู้เสียหายได้ไปตรวจสอบกับธนาคารแห่งดังกล่าวสาขาใน อ.หาดใหญ่ ซึ่งเป็นสาขาที่เจ้าของบัญชีตัวจริงเปิดไว้   ใน ชื่อบัญชี ธนัท ศิริวัฒนกุล  (ซึ่งเป็นชื่อเก่าของเจ้าของบัญชี  ก่อนที่เปลี่ยนชื่อเป็น คุณชยเดช [ เมื่อ 14 มิย. 53 ] และเปลี่ยนชื่อเป็นคุณ ไชยเดช [เมื่อ 17 มิย. 53])



พบ ว่ามีคนร้ายไปสวมรอยเปิดบัญชีใหม่และเปิดบริการธนาคารบนอินเตอร์เน็ต (internet bangking) เมื่อวันทื่ 30 เมษายน  โดยเปิดที่ธนาคารเดียวกัน แต่คนร้ายไปเปิดที่สาขา กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร  โดยหลักฐานการเปิดบัญชีนั้น คน ร้ายใช้เอกสารปลอมโดยยื่นบัตรข้าราชการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ระดับ 7 อ.หาดใหญ่ ที่ระบุชื่อ นาย ชยเดช ศิริวัฒนกุล ให้กับเจ้าหน้าที่ธนาคาร   ซึ่งความจริงแล้วเจ้าของบัญชีตัวจริง คุณชยเดช  ศิริวัฒนกุล ไม่ได้รับราชการเลย     และเปลี่ยนชื่อจาก ชยเดช เป็น ไชยเดช เมื่อ 17 มิย 53     จากที่ทีมงานสัมภาษณ์ผู้เสียหาย เค้าให้สัมภาษณ์ว่า  คาดว่าคนร้ายทราบชื่อข้อมูลเราเป็น ชยเดช เลยทำบัตรราชการปลอมเป็นชื่อ ชยเดช ไว้ไปเปิดบัญชีธนาคาร

จากนั้นคนร้ายก็ขอเปิดใช้บริการ internet banking ด้วย! ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อคนร้ายเป็นคนเปิดใช้บริการ internet banking เอง… username และ password จึงเป็นสิ่งที่คนร้ายทราบแน่นอน เพราะเป็นคนเลือกเอง! ส่วนเบอร์มือถือสำหรับรับรหัส OTP (One time password) ที่ธนาคารจะส่งมาเข้ามือถือ ผ่านทาง SMS เพื่อให้รหัสอีกชั้นหนึ่งเวลามีการทำธุรกรรมการเงินผ่าน internet banking ก็ใช้เบอร์มือถือของคนร้าย (เพราะคนร้ายเป็นคนแจ้งเบอร์เอง)…



คราวนี้คนร้ายเข้า Login ผ่านทาง Internet Banking แล้วสั่งโอนเงินออกจากบัญชีไปได้อย่างสบายๆ เพราะได้ครบทั้ง username, password, OTP โดยขโมยเงินจากเจ้าของบัญชีตัวจริง ครั้งละ 100,000 บาท จำนวน 5 ครั้ง หลังจากนั้นคนร้ายก็สั่งโอนเงิน ขโมยอีกประมาณ 67,000 และยังสั่งโอนเงินทีละน้อยๆ   โดยที่เจ้าของบัญชีตัวจริงไม่รู้ตัว จนกระทั่ง มารู้ตัวว่าโดนขโมย เมื่อวันที่ 16พฤษภาคม  2556 และไปแจ้งความ ที่ สน.หาดใหญ่ และตอนนี้อยู่ในระหว่างตามจับคนร้าย



จะเห็นได้ว่าคนร้ายได้พยายามใช้ช่องทางใหม่ที่ไม่ใช่การขโมยเงิน แบบเก่าๆแล้ว จะใช้วิธีสวมรอยเป็นคุณ ขโมยเงิน เป็นวิธีที่โจรเลือกใช้ที่ฮิตและแนบเนียนมากขึ้น …. ลูกค้าที่ใช้บริการธนาคารต้องหมั่นตรวจสอบบัญชี และระมัดระวังในเรื่องหลักฐานส่วนตัวต่างๆ เช่นบัตรประชาชน  เป็นต้น และทางธนาคารเองต้องตรวจเฉพาะบัตรประชาชนตัวจริงเท่านั้น ไม่ใช่บัตรข้าราชการซึ่งสามารถปลอมแปลงได้ง่าย

“ในเมื่อกรณีแบบนี้ ก็จะเห็นได้ว่าลูกค้าไม่อาจจะป้องกันตนเองได้เลย แถมเกิดขึ้นกับใครก็ได้ แม้ไม่มีบัญชี e-banking …. คุณคิดว่า ธนาคาร ควรปรับปรุงระบบไหม? ”
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)