ผู้เขียน หัวข้อ: ระวังถูกหลอกและเรื่องเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ ของใกล้ตัว  (อ่าน 69662 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
.
ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) > บัตรเครดิต สิทธิที่ควรทราบ
-http://www.bot.or.th/Thai/FinancialLiteracy/creditcard/Pages/creditcard.aspx-

คิดให้ดี ก่อนก่อหนี้บัตรเดรดิต

บัตรเครดิต ควรใช้เป็นช่องทางในการชำระหนี้ค่าสินค้าและบริการ เพื่อความสะดวก แต่ไม่ควรใช้เป็นช่องทางในการกู้เงิน เพราะเสียอัตราดอกเบี้ยแพง

- บัตรเครดิตทำให้ผู้ถือบัตรมีความยืดหยุ่นทางการเงิน โดยที่ผู้ออกบัตรจ่ายเงินสดให้ก่อนล่วงหน้า  และผู้ถือบัตรได้รับสินเชื่อปลอดดอกเบี้ยประมาณ 30-55 วัน ทำให้มีอำนาจการใช้จ่ายสูงขึ้นจากรายได้ปกติ  แต่อย่าลืมว่าคุณกำลังเอาเงินของผู้อื่นมาใช้ซึ่งผู้ถือบัตรต้องชำระคืนในภายหลัง  ดังนั้น ต้องระวังการใช้จ่ายที่เกินตัวหรือเกินจำเป็น เพื่อไม่ให้มีภาระที่ต้องชำระหนี้มากเกินความสามารถ

- คุณควรเตรียมเงินให้เพียงพอกับยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตและชำระเงินภายในเวลาที่กำหนด เพื่อจะได้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยและค่าปรับต่าง ๆ

- หากคุณมีบัตรเครดิตหลายใบ  ควรจดบันทึกหมายเลขบัตรเครดิต วงเงินสินเชื่อ ภาระหนี้ที่มีอยู่ และวันครบกำหนดชำระเงิน ฯลฯ ให้ครบถ้วน เพื่อวางแผนการใช้บัตรเครดิตและการชำระหนี้ให้ตรงเวลา


ปัญหาหนี้สินบัตรเครดิต...มีทางออก

1. อย่าท้อถอย ทุกปัญหามีทางแก้ไข

2. คุณต้องตรวจสอบรายรับ-รายจ่ายในแต่ละเดือน  โดยอาจทำเป็นตารางรายรับ - รายจ่าย เพื่อให้คุณทราบสถานะทางการเงินของคุณอย่างชัดเจน และรู้ว่าคุณมีเงินเหลือเท่าไหร่สำหรับชำระคืนหนี้สิน และเก็บออม นอกจากนั้น ยังช่วยให้รู้ว่าสามารถลดรายจ่ายรายการใดที่ไม่จำเป็นลงได้บ้าง

3. คุณต้องสำรวจภาระหนี้สินของตนเอง  โดยอาจทำเป็นตาราง มีรายละเอียดต่าง ๆ เช่น ประเภทหนี้  จำนวนเงินต้นค้างชำระ จำนวนดอกเบี้ยค้างชำระ และวันถึงกำหนดชำระ เป็นต้น เพื่อให้คุณสามารถวางแผนการชำระเงินของคุณได้

4. คุณควรหยุดวงจรแห่งหนี้ ด้วยการอยู่ให้ได้ด้วยรายได้ของคุณในแต่ละเดือน และบอกกับตนเองว่า คุณจะไม่ก่อหนี้สินเพิ่มอีก ซึ่งรวมถึงการกู้ยืมเพื่อมาจ่ายหนี้เก่าด้วย แล้วทยอยผ่อนชำระหนี้สินเดิม แม้จะใช้เวลา แต่หนี้สินของคุณก็จะหมดไปในที่สุด

5. หากคุณมีภาระหนี้สินมากกว่าเงินคงเหลือในแต่ละเดือน คุณสามารถปรึกษากับเจ้าหนี้ หรือสถาบันผู้ออกบัตร เพื่อร่วมกันหาวิธีแก้ไขปัญหาหนี้สินที่เหมาะสมกับความสามารถในการชำระหนี้ของคุณ ซึ่งมีหลายวิธี  เช่น การยืดอายุการชำระหนี้  การลดจำนวนเงินที่ผ่อนชำระต่อเดือน หรือ การชำระเงินต้นโดยปลอดดอกเบี้ยให้ระยะเวลาหนึ่ง เป็นต้น


ข้อห้าม  อย่าหนีหนี้

คุณนำเงินของผู้อื่นมาใช้ คุณจึงมีหน้าที่ชำระเงินคืน  ดังนั้น เพื่อรักษาเครดิตของคุณไว้ เผื่อในอนาคต คุณอาจมีความจำเป็นต้องกู้เงินจากธนาคารในจำนวนที่มากกว่าวงเงินสินเชื่อของบัตรเครดิต เช่น การกู้ยืมเงินเพื่อซื้อบ้าน หรือรถยนต์ เป็นต้นการหนีหนี้หรือไม่ชำระหนี้ จะทำให้คุณมีประวัติการเงินที่ไม่ดีบันทึกอยู่ในบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ซึ่งหากคุณต้องการกู้เงินในอนาคต ธนาคารพาณิชย์ก็จะตรวจสอบประวัติการชำระหนี้ของคุณจากบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด และทำให้คุณถูกปฏิเสธการขอกู้เงิน ทั้งนี้ ประวัติการชำระเงินจะถูกเก็บอยู่ที่บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด เป็นเวลา 3 ปี นับจากวันที่บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด ได้รับรายงาน


ใคร..มีหน้าที่ช่วยแก้ปัญหาบัตรเครดิต

ปัญหาจากบัตรเครดิต เช่น ภาระหนี้ของผู้บริโภค การถูกขโมยข้อมูลไปใช้ ล้วนเป็นปัญหาที่หลายๆฝ่าย ตั้งแต่ผู้ออกบัตร ผู้ถือบัตร หรือแม้แต่ผู้กำกับดูแล ต่างต้องร่วมกันดูแลอย่างเหมาะสม กล่าวคือ

บริษัทผู้ออกบัตร ต้องให้ความรู้แก่ผู้ถือบัตรในการใช้บัตรเครดิตที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง ต้องพัฒนาระบบและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้มีความทันสมัย ปลอดภัย เพื่อป้องกันการถูกขโมยข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย

ผู้ถือบัตร ต้องเรียนรู้การรักษาสิทธิของตนเอง รวมทั้งต้องเข้าใจหน้าที่ของผู้ถือบัตร และการเป็นลูกหนี้ที่ดีด้วย

ผู้กำกับดูแล ได้แก่ กระทรวงการคลัง และธนาคารแห่งประเทศไทย มีหน้าที่กำกับดูแลผู้ออกบัตรเครดิต โดยการออกหลักเกณฑ์ที่เป็นธรรมให้ผู้ออกบัตรถือปฏิบัติ เช่น ดอกเบี้ยสูงสุด ค่าธรรมเนียม กำกับ และตรวจสอบให้ผู้ออกบัตรปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด รวมทั้งคุ้มครองผู้ถือบัตรให้ได้รับความเป็นธรรม ซึ่งรวมถึงการให้ความรู้ที่ถูกต้องและจำเป็นต่าง ๆ เกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย ตลอดจนการใช้บัตรเครดิตอย่างถูกต้องเหมาะสม



รู้กฎหมายไว้...ไม่เสียเปรียบ


คุณรู้หรือไม่ว่า ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตไม่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์ หรือไม่ใช่ก็ตาม จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของแบงก์ชาติ โดยมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตแต่ละประเภท ดังนี้

1. ธนาคารพาณิชย์ ต้องดำเนินธุรกิจภายใต้พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ. ศ. 2551 และ
    ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกตามความใน พ.ร.บ. ดังกล่าว 

2. ผู้ประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (Non-bank) ต้องดำเนินธุรกิจภายใต้ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58
     (ปว. 58)  ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2545  รวมถึงประกาศกระทรวงการคลัง และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย
     ที่ออกตามความใน ปว. 58

ข้อกำหนดสำคัญที่ผู้บริโภคควรรู้ มีดังนี้
(ข้อมูล ณ วันที่ 9 มกราคม 2555)

> กรณีผ่อนชำระ ผู้ถือบัตรต้องชำระหนี้ขั้นต่ำในแต่ละงวดไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของยอดคงค้างทั้งสิ้น

> ห้ามผู้ออกบัตรเรียกเก็บดอกเบี้ย หรือดอกเบี้ยผิดนัด หรือเบี้ยปรับ หรือค่าบริการต่าง ๆ เป็นจำนวนรวมกันเกินร้อยละ 20 ต่อปี   (ดูวิธีการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก)  ทั้งนี้ ผู้ออกบัตรอาจเรียกเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้ ในกรณีต่อไปนี้

              - กรณีเบิกถอนเงินสดด้วยบัตรเครดิต ผู้ออกบัตรสามารถเรียกเก็บค่าธรรมเนียม เพิ่มเติมได้อีก ไม่เกินร้อยละ 3

               - กรณีมีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริง ผู้ออกบัตรสามารถเรียกเก็บได้ตามจริง และ/หรือพอสมควรแก่เหตุ แต่ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย เช่น ค่าบริการในการใช้บัตรเครดิตเพื่อชำระภาษีอากร และค่าธรรมเนียมของทางราชการ และค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามหนี้ เป็นต้น

  > หนี้อันเกิดจากการใช้บัตรเครดิต ที่ยังไม่ได้โอนไปเป็นหนี้ตามสัญญาเดินสะพัด ห้ามเอาดอกเบี้ยทบเข้ากับเงินต้น แล้วคิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากัน

  > ห้ามนำเบี้ยปรับ และค่าใช้จ่ายในการทวงถามหนี้ มารวมกับหนี้ค้างชำระ เพื่อคิดเบี้ยปรับอีก

  > วิธีการติดตามทวงถามหนี้  ต้องอยู่ภายในขอบเขตของ กฎ กติกา มารยาท ที่กำหนดใน แนวปฏิบัติในการติดตามทวงถามหนี้ ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย

  > เมื่อผู้ออกบัตรได้รับเรื่องร้องเรียนจากผู้บริโภค  ผู้ออกบัตรต้องดำเนินการ ดังนี้

               -  ตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริง

               - แจ้งความคืบหน้าของผลการตรวจสอบและขั้นตอนการดำเนินการต่อไป ให้ผู้บริโภคทราบภายใน 7 วัน นับจากวันที่ได้รับแจ้งการร้องเรียน

              - ดำเนินการแก้ไขข้อร้องเรียนให้แล้วเสร็จ และแจ้งให้ผู้บริโภคทราบโดยเร็ว

 .



.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
พระราชบัญญัติธุรกิจสถาบันการเงิน พ. ศ. 2551
-http://www.bot.or.th/Thai/LawsAndRegulations/DocLib_ThaiLaw/Law_T31_Institution.pdf-

http://www.bot.or.th/Thai/LawsAndRegulations/DocLib_ThaiLaw/Law_T31_Institution.pdf


ประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ออกตามความใน พ.ร.บ.
-http://www2.bot.or.th/fipcs/Documents/FPG/2551/ThaiPDF/fiba_notification%28new%29.pdf-

http://www2.bot.or.th/fipcs/Documents/FPG/2551/ThaiPDF/fiba_notification%28new%29.pdf



ประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 58
(ปว. 58)  ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน 2545  รวมถึงประกาศกระทรวงการคลัง และประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ที่ออกตามความใน ปว. 58
-http://www2.bot.or.th/fipcs/Documents/FPG/2551/ThaiPDF/fiba_notification%28new%29.pdf-

http://www2.bot.or.th/fipcs/Documents/FPG/2551/ThaiPDF/fiba_notification%28new%29.pdf



(ดูวิธีการคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก)
-http://www.bot.or.th/Thai/FinancialLiteracy/interest/Pages/interest.aspx#nonbank-

http://www.bot.or.th/Thai/FinancialLiteracy/interest/Pages/interest.aspx#nonbank


วิธีการติดตามทวงถามหนี้  ต้องอยู่ภายในขอบเขตของ กฎ กติกา มารยาท ที่กำหนดใน แนวปฏิบัติในการติดตามทวงถามหนี้ ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย
-http://www.bot.or.th/THAI/FINANCIALLITERACY/DUTY/Pages/duty_right.aspx#duty3-

http://www.bot.or.th/THAI/FINANCIALLITERACY/DUTY/Pages/duty_right.aspx#duty3

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
.
ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) > สิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้บริการทางการเงิน
 รู้ไว้ไม่เสียเปรียบ .. สิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้บริการทางการเงิน
-http://www.bot.or.th/Thai/FinancialLiteracy/duty/Pages/duty_right.aspx-


สิทธิและหน้าที่ของผู้ใช้บริการทางการเงิน


เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วทำให้สถาบันการเงินต่าง ๆ มีการพัฒนารูปแบบการให้บริการทางการเงินที่หลากหลายกับลูกค้าของตน เพื่อรองรับความต้องการของลูกค้า และการแข่งขันทางธุรกิจ แต่ผลิตภัณฑ์ทางการเงินเหล่านั้นอาจมีความซับซ้อน และความเสี่ยง จึงอาจเป็นความสะดวกสบายที่นำภัยมาสู่ผู้บริโภคได้

ด้วยเหตุนี้ การเป็นผู้บริโภคในยุคที่ผลิตภัณฑ์ทางการเงินมึความหลากหลาย ซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นต้องรู้จักสิทธิและหน้าที่ และการปกป้องสิทธิของตน เสมือนเป็นการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ตนเอง จะได้ตัดสินใจเลือกใช้บริการทางการเงินได้เหมาะสมกับสถานะทางการเงินและความต้องการ แถมยังเป็นการป้องกันการถูกเอารัดเอาเปรียบอีกด้วย 

 

สิทธิในการได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และครบถ้วน

ผู้ใช้บริการทางการเงินมีสิทธิที่จะได้รับทราบรายละเอียด และเงื่อนไขการให้บริการต่าง ๆ ซึ่งสถาบันการเงินต้องเปิดเผยข้อมูล
ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และการให้บริการต่างๆอย่างถูกต้อง ครบถ้วน เพียงพอ ต่อการเปรียบเทียบเพื่อตัดสินใจ และไม่บิดเบือน
ข้อเท็จจริงตามเกณฑ์ที่แบงก์ชาติกำหนด ดังนี้

    เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ไว้ในที่เปิดเผย
    สังเกตุเห็นง่าย เช่น สำนักงานใหญ่ สาขาที่ทำการ รวมทั้งในเว็บไซต์ของตนเอง
    และของแบงก์ชาติ เพื่อสร้างความโปร่งใส และช่วยให้ลูกค้ามีข้อมูลเปรียบเทียบ
    เพื่อประกอบการตัดสินใจ
    เปิดเผยอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Effective Rate) ที่ผู้ฝากเงินได้รับให้แก่ผู้ฝากเงินทราบด้วย เช่น ในใบโฆษณาเงินฝากประจำที่มีการให้อัตราดอกเบี้ยแบบขั้นบันได เป็นต้น


เปิดเผยข้อมูลอย่างไร

 

    เจ้าหน้าที่ของสถาบันการเงินมีหน้าที่อธิบายลักษณะของผลิตภัณฑ์ทางการเงินและบริการต่างๆ ให้ท่านเข้าใจก่อนตัดสินใจ
    การโฆษณาและประชาสัมพันธ์ต้องมีความชัดเจนเข้าใจง่าย ให้ข้อมูลครบถ้วน ไม่ก่อให้เกิดการเข้าใจผิด
    ไม่โฆษณาเกินจริง และต้องระบุอัตราดอกเบี้ย เบี้ยปรับ ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้ครบถ้วนและชัดเจน
    กรณีขอกู้เงินแล้วไม่ได้รับการอนุมัติเงินกู้ สถาบันการเงินต้องมีหนังสือชี้แจงเหตุผลที่ไม่ให้เงินกู้ และท่านมีสิทธิในการขอคืนเอกสารประกอบการพิจารณาสินเชื่อ และต้องได้รับเอกสารคืนภายในเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ท่านเกิดความเข้าใจ สามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ และมีข้อมูลในการปรับปรุงประสิทธิภาพตนเองเพื่อขอสินเชื่อใหม่

สิทธิที่ต้องได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการติดตามทวงถามหนี้

ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดแนวนโยบายในการติดตามทวงถามหนี้ของสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับ
เพื่อความเหมาะสม และความเป็นธรรมกับลูกหนี้ดังนี้

    ติดตามทวงถามได้เฉพาะภายในเวลาที่กำหนด
      -  วันจันทร์ – วันศุกร์ ภายในเวลา 08.00 น. – 20.00 น.
      -  วันหยุดราชการ ภายในเวลา 08.00 น. – 18.00 น.
      -  ความถี่ในการติดต่อต้องเหมาะสม
    ต้องแสดงตัวและแจ้งวัตถุประสงค์ในการติดตามทวงถามหนี้
      -  กรณีเป็นสถาบันการเงิน ต้องแจ้งชื่อ และวัตถุประสงค์ในการติดต่อให้ลูกหนี้ได้รับทราบอย่างถูกต้องเหมาะสม
      -  กรณีเป็นผู้ให้บริการเรียกเก็บหนี้ (ตัวแทนสถาบันการเงิน) ต้องแสดงเอกสาร
         ว่าได้รับอนุญาตจากผู้ประกอบธุรกิจให้ทำการแทน
    ต้องใช้วิธีการเรียกเก็บหนี้ที่เหมาะสม
      -  เก็บเงินได้จากลูกหนี้เท่านั้น ยกเว้นได้รับความยินยอมจากลูกหนี้ หรือเป็นสิทธิตามกฏหมาย
      -  ไม่รบกวนหรือรังควานลูกหนี้โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
      -  ไม่ใช้คำพูดที่รุนแรง หรือหยาบคาย ข่มขู่ และคุกคามในลักษณะที่ผิดกฏหมายเพื่อให้ลูกหนี้ชำระหนี้
      -  ห้ามปลอมแปลง บิดเบือนข้อมูล เอกสาร หรือแสดงท่าทางอันทำให้ลูกหนี้สำคัญผิดว่าเอกสารเรียกเก็บหนี้
         หรือเอกสารที่ใช้ในการติดต่อกับลูกหนี้นั้น ออกหรือได้รับอนุญาต หรือรับรองจากหน่วยงานของรัฐ หรือ
         บริษัทข้อมูลเครดิต
    ต้องเก็บรักษาความลับของลูกหนี้ ห้ามเปิดเผยข้อมูลหนี้ของลูกหนี้ให้บุคคลอื่นทราบระหว่างติดต่อทวงถามหนี้ แม้จะเป็นบุคคลในครอบครัว ยกเว้นได้รับความยินยอมจากลูกหนี้
    ต้องมีหลักฐานแสดงการรับเงินจากลูกหนี้ที่เหมาะสมและมีผลในทางกฎหมาย

ข้อควรรู้ก่อนเป็นลูกหนี้

     1.  ก่อนเป็นลูกหนี้ ผู้ประกอบการหรือสถาบันการเงินต้องแจ้งให้ผู้ที่มาขอกู้เงินครั้งแรกทราบในเรื่องต่อไปนี้
            -  ค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นในการกู้เงิน เช่น ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ค่าปรับต่างๆ
            -  รายชื่อตัวแทนที่ทำหน้าที่ในการติดตามทวงถามหนี้

     2.  ขณะเป็นลูกหนี้
            -  ต้องแจ้งให้ลูกหนี้ทราบล่วงหน้าหากมอบหมายให้ผู้อื่นเก็บหนี้แทน
            -  ต้องจัดส่งเอกสารยืนยันยอดหนี้ให้แก่ลูกหนี้

     3.  ลูกหนี้สามารถร้องเรียนได้ที่สถาบันการเงิน หรือแบงก์ชาติ หากสถาบันการเงินหรือตัวแทนมีพฤติกรรมในการติดตาม
          ทวงถามหนี้ไม่เหมาะสม หรือเข้าข่ายคุกคามลูกหนี้

หมายเหตุ : กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างยกร่าง พ.ร.บ. ติดตามทวงถามหนี้อย่างเป็นธรรมเพื่อเป็นกฏหมายที่ใช้ควบคุมผู้ทวงถามหนี้
                    ของสินเชื่อทุกประเภท และสร้างความเป็นธรรมต่อลูกหนี้

สิทธิที่ได้รับความคุ้มครองเรื่องการรักษาความลับของข้อมูล


สถาบันการเงินหรือผู้ประกอบการที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน รวมทั้ง บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือเครดิตบูโร ต้องรักษาข้อมูลของลูกค้าเป็นความลับ จะใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับลูกค้าได้เฉพาะวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานของสถาบันการเงิน หรือเพื่อผลประโยชน์ของลูกค้าเท่านั้น การเปิดเผยข้อมูลของลูกค้าจะทำได้ต่อเมื่อ

    ลูกค้ายินยอมให้เปิดเผยข้อมูล ซึ่งต้องเซ็นชื่อในหนังสือยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลเป็นลายลักษณ์อักษร เช่น การยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลกับเครดิตบูโร
    กฏหมายอนุญาตหรือกำหนดไว้ เช่น การเปิดเผยข้อมูลของลูกค้าตามคำสั่งศาล พนักงานสอบสวน กระทรวงการคลัง ผู้ตรวจการของแบงก์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ บรรษัทตลาดรองสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย

เครดิตบูโรคือใคร เกี่ยวข้องกับเราอย่างไร
เครดิตบูโร  จะทำหน้าที่จัดเก็บ รักษา รวบรวม และประมวลผล ข้อมูลสินเชื่อของลูกค้าสถาบัน
การเงิน ซึ่งประกอบด้วยข้อมูล 2 ส่วน คือ ข้อมูลของผู้ขอสินเชื่อหรือข้อมูลบ่งชี้ตัวบุคคล เช่น ชื่อ ที่อยู่ เลขประจำตัวประชาชน อีกส่วนหนึ่งเป็นประวัติการขอสินเชื่อ และการชำระหนี้ของลูกค้า ซึ่งสถาบันการเงินจะใช้ข้อมูลเหล่านี้ประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ แต่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลก่อน (อ่านเพิ่มเติม click)

เจ้าของข้อมูลมีสิทธิอะไรบ้าง

    สิทธิที่จะรู้ว่าเครดิตบูโรเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวอะไรบ้าง
    สิทธิที่การขอตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล
    สิทธิการได้รับแจ้งผลการตรวจสอบข้อมูลภายในเวลาที่กำหนด
    สิทธิการโต้แย้งและขอแก้ไขหากข้อมูลส่วนตัวที่เก็บไว้ไม่ถูกต้อง
    สิทธิการขออุทธรณ์ต่อคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลเครดิตเพื่อวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องความถูกต้องของข้อมูลที่ยังหาข้อยุติไม่ได้
    สิทธิการขอตรวจสอบข้อมูลโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม หากธนาคารปฏิเสธคำขอกู้ และออกเป็นหนังสือแจ้งสาเหตุที่ไม่อนุมัติ เนื่องจากข้อมูลที่ปรากฏในเครดิตบูโรไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด




สิทธิในการร้องเรียนเมื่อประสบปัญหาการใช้บริการทางการเงิน

เมื่อประสบกับปัญหาในการใช้บริการทางการเงินสามารถร้องเรียนได้ที่

    สถาบันการเงินผู้ให้บริการ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน
    เช่น การเบิกเงินจากตู้เอทีเอ็มแล้วไม่ได้รับเงิน เงินฝากในบัญชีสูญหาย มีผู้อื่นนำบัตรเครดิต
    ไปซื้อสินค้าและบริการ ทั้งนี้ สถาบันการเงินต้องแจ้งความคืบหน้าในการดำเนินการในเวลาที่เหมาะสม
    รวมทั้งแจ้งขั้นตอนที่จะดำเนินการต่อไป หากต้องใช้เวลาในการดำเนินการ
    ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย ในกรณีที่ท่านไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือถูกเอารัดเอาเปรียบ หรือไม่ได้รับการชี้แจงจากสถาบันการเงิน รวมทั้งกรณีที่ท่านต้องการสอบถาม หรือขอข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่แบงก์ชาติดูแล เช่น ธนบัตร พันธบัตร ตราสารหนี้ และการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เป็นต้น

                                           ช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน หรือสอบถามข้อมูลทางการเงิน       
                           ธนาคารแห่งประเทศไทย มีช่องทางการรับเรื่องร้องเรียนและสอบถามข้อมูลสำหรับบริการประชาชน ดังนี้

    โทรสายด่วน 1213 (บริการตอบรับอัตโนมัติ 24 ชั่วโมง)
     เว็บไซต์ แบงก์ชาติ  www.bot.or.th และเลือก ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
    ส่ง e-mail ถึง ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน (ศคง.) : fcc@bot.or.th
    ส่งโทรสาร (FAX) หมายเลข 0-2283-6151 หรือ
    ติดต่อขอพบเจ้าหน้าที่เพื่อรับคำปรึกษา ตามที่อยู่ด้านล่างนี้
     

    ศูนย์คุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
    อาคาร 3 ชั้น 5
    ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่
    ถนนสามเสน แขวงบางขุนพรหม
    เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200

    ส่วนคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
    ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ
    68/3 ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก
    อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50300
                 
    ส่วนคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
    ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    393 ถนนศรีจันทร์ ตำบลในเมือง
    อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000
     
    ส่วนคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน
    ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคใต้
    472 ถนนเพชรเกษม อำเภอหาดหใญ่
    จังหวัดสงขลา 90110
                 
     


ขั้นตอนการรับเรื่องร้องเรียน หรือสอบถามข้อมูลทางการเงิน

 

หน้าที่ของผู้บริโภค

แม้ว่าสถาบันการเงินจะเล็งเห็นความสำคัญของการคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงินอย่างเป็นระบบ ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์
ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของธนาคารแห่งประเทศไทย แต่สิ่งสำคัญ คือ ผู้บริโภคมีหน้าที่ทำความเข้าใจเอกสาร และเงื่อนไขการ
ให้บริการต่าง ๆ อย่างละเอียดรอบคอบก่อนตัดสินใจสมัครเป็นผู้ใช้บริการ เพื่อป้องกันตนเองจากการถูกหลอก หรือเอารัดเอาเปรียบ
และเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการเลือกใช้บริการทางการเงินเหล่านั้น

 

ดูแลตัวเองอย่างไรให้พ้นภัยการเงิน

    ศึกษาข้อมูลและติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวของบริการทางการเงิน เพื่อป้องกันการถูกหลอก หรือถูกเอารัดเอาเปรียบ และเพื่อรักษาผลประโยชน์สูงสุดของตนในการเปรียบเทียบผลตอบแทนในการทำธุรกรรมกับสถาบันการเงิน
    อ่าน ศึกษา และทำความเข้าใจผลิตภัณฑ์ทางการเงินและเงื่อนไขการให้บริการ
    อย่างรอบคอบก่อนซื้อหรือตัดสินใจใช้บริการ
    วางแผนการเงินของตน เพื่อจะได้ทราบสถานะการเงิน และสามารถเลือกผลิตภัณฑ์
    ทางการเงินได้สอดคล้องกับรายได้ของตนเอง
    อ่าน ทำความเข้าใจ และตรวจสอบสัญญาทุกครั้งก่อนลงนาม ซึ่งในเบื้องต้นต้องใส่ใจประเด็นสำคัญ ดังนี้

            จำนวนเงิน ที่ระบุในสัญญาเป็นจำนวนเงินที่ตกลงไว้หรือไม่ ตัวเลขตรงกับตัวหนังสือหรือไม่
            ระยะเวลา ทั้งวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดสัญญา
            ระบุรายละเอียด เช่น รายชื่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บ ระยะเวลาการคิดดอกเบี้ย (ถ้ามี)
            ไว้ในสัญญาอย่างครบถ้วนถูกต้อง
            จำนวนเงินที่ต้องชำระต่องวด และจำนวนงวดที่ต้องชำระ
            ค่าปรับกรณีผิดนัดชำระหนี้
            ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในส่วนที่ต้องรับผิดชอบ
            เงื่อนไขอื่นๆ ที่ระบุไว้ในสัญญา

    ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารที่ได้รับจากสถาบันการเงิน เช่น ใบแจ้งยอดการใช้เงิน ใบแจ้งข้อมูลเครดิต ใบเสร็จ
    รับเงิน เป็นต้น หากข้อมูลในเอกสารไม่ถูกต้อง รีบติดต่อกับสถาบันการเงินผู้ออกเอกสารทันที และติดตามให้สถาบันการเงินแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง ทั้งนี้ ควรเก็บเอกสารหลักฐาน หรือเอกสารการติดต่อให้มีการแก้ไขข้อมูลไว้อย่างน้อย 1 รอบบัญชี หรือจนกว่าจะได้รับหลักฐานยืนยันว่าข้อมูลได้แก้ไขถูกต้องแล้ว
    ต้องระมัดระวังก่อนลงนามในเอกสารเพิ่มเติม เพื่อสอบถามความยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลแก่บุคคลภายนอก เช่น “สามารถเปิดเผยข้อมูลให้แก่บริษัทในเครือได้” หรือ “ยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลเพื่อให้บริการอื่นๆ ที่ลูกค้าสนใจได้” หากลงนามเท่ากับเราได้ให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลของเราแก่บุคคลอื่นได้

 

ทำตัวอย่างไรเมื่อเป็นลูกหนี้

    มีหน้าที่ต้องชำระหนี้อาจเป็นตัวเงินหรือทรัพย์สินอื่นให้กับเจ้าหนี้ตามจำนวนที่ได้ไปขอกู้ยืม
    หากลูกหนี้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ หรือไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาได้ เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องค่าชดเชย หรือค่าเสียหายตามที่ระบุไว้ในสัญญาภายใต้กรอบของกฏหมาย
    หากท่านไม่สามารถชำระหนี้ตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญา ท่านสามารถติดต่อเจ้าหนี้เพื่อหาทางแก้ปัญหา
    ข้อสำคัญอย่าเบี้ยวหรือหนีหนี้เพราะท่านจะไม่ได้รับการพิจารณาสินเชื่อเป็นเวลาอย่างน้อย 3 ปี

ก่อนผูกพันตนเองในฐานะลูกหนี้ควรทำความเข้าใจ ประเมินความสามารถในการชำระคืนหนี้
และตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาในสัญญาก่อนลงนามทุกครั้ง

 

 

ทำอย่างไรเมื่อเป็นผู้ค้ำประกัน

ผู้ค้ำประกัน คือ บุคคลที่สามที่เข้ามาผูกพันตนกับเจ้าหนี้ โดยยินยอมชำระหนี้แทนลูกหนี้ (ผู้กู้เงิน) หากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้
ซึ่งการค้ำประกันจะจำกัดวงเงินค้ำประกันหรือไม่ก็ได้

กรณีที่จำกัดวงเงินค้ำประกัน : มีการระบุจำนวนเงินที่รับชำระหนี้แทนลูกหนี้ไว้ในรายละเอียดไว้เป็นลายลักษณ์อักษร

กรณีไม่จำกัดวงเงินค้ำประกัน : ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบหนี้สิน และค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากภาระหนี้ทั้งหมด รวมถึง
ดอกเบี้ยผิดนัด ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น ค่าทนายความ ค่าดำเนินการติดตามทวงถามหนี้ ค่าธรรมเนียมศาล

พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน พ.ศ. 2551 กำหนดให้สถาบันการเงินถือปฏิบัติ โดยในการทำสัญญาค้ำประกันด้วยบุคคล
ให้มีการระบุเงินต้นในสัญญา และไม่ให้มีการทำข้อตกลงค้ำประกันแบบไม่จำกัดจำนวน

http://www.bot.or.th/Thai/FinancialLiteracy/duty/Pages/duty_right.aspx
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
รวบแก๊งผลิตทองคำเก๊เขตภาษีเจริญ-เตือนระวังก่อนซื้อ
-http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMU1qQXlPVE0zT1E9PQ==&subcatid=-




รวบแก๊งผลิตทองคำเก๊เขตภาษีเจริญ-เตือนระวังก่อนซื้อ

เมื่อวันที่ 4 พ.ย. พ.ต.ท.ณฐกร คุ้มทรัพย์ รอง ผกก.สส.สน.ชนะสงคราม พ.ต.ท.สมยศ อุดรรักษาทรัพย์ สว.สส.สน.ชนะสงคราม พร้อมเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน สน.ชนะสงคราม นำหมายค้นศาลอาญาธนบุรี เลขที่ ค.506/2555 ลงวันที่ 4 พ.ย.55 เข้าค้นบ้านเลขที่ 19/262 หมู่บ้านธารทองวิลล่า ซอยบางแวก 26 แยก 7 แขวงบางแวก เขตภาษีเจริญ กทม. หลังจับกุม น.ส.พรทิพย์ สุวรรณไตร อายุ 19 ปี ขณะนำทองปลอมมาหลอกขายที่ร้านทองประภัสสร ย่านสามเสน และขยายผลจนจับกุมนายพงษ์พิทักษ์ แสนรัตน์ อายุ 27 ปี และทราบว่ามีนายบุญช่วย ชัยโนนตุ่น อายุ 48 ปี เป็นหัวหน้าแก๊งมาเช่าบ้านสำหรับทำทองปลอมขาย

ตรวจค้นทาวน์เฮาส์สูง 2 ชั้น 1 คูหา พบเครื่องรีดทอง เครื่องชั่ง ตราประทับชื่อร้านทอง เครื่องหลอม เครื่องยืดทอง และทองเหลืองที่ถูกเป่าแล้วอีกจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีรถ จยย.ฮอนด้า แอร์เบลด สีเทา-ดำ ทะเบียน รยม 647 กรุงเทพมหานคร 1 คัน ที่ห้องนอนชั้นสอง พบเสื้อผ้าและอุปกรณ์เสพยาจำนวนหนึ่ง 

น.ส.ฉวีวรรณ พันเดช อายุ 28 ปี เจ้าของบ้านที่ให้นายบุญช่วยเช่าให้การว่า ตนให้นางสมจิต ชัยโนนตุ่น อายุ 50 ปี ภรรยาของนายบุญช่วย เช่าอยู่ได้ยังไม่ถึง 1 ปี ส่วนใหญ่นายบุญช่วยจะเข้ามาในช่วงเย็น และไม่พักค้างคืน โดยจะมีช่างทำทองขี่รถ จยย.มาทำทองอยู่ในบ้านทั้งคืน และออกจากบ้านไปในตอนเช้า ล่าสุดไม่เห็นนายบุญช่วยเข้ามาที่บ้าน 2-3 วันแล้ว กระทั่งมีตำรวจมาที่บ้านถึงรู้ว่าทั้งหมดเป็นแก๊งทำทองปลอม

ด้านพ.ต.ท.สมยศกล่าวว่าขณะนี้นายบุญช่วยและนางสมจิตได้หลบหนีไป โดยแก๊งดังกล่าวถือเป็นแก๊งใหญ่ มีความชำนาญเรื่องทองมาก โดยนายบุญช่วยจะใช้วิธีเอาทองเหลืองมาทำเป็นทอง และใช้ทองจริงเคลือบด้านนอกอีกชั้น ทำให้ตรวจสอบได้ยากมาก ที่ผ่านมามีหลายร้านหลงเชื่อจึงฝากให้ร้านทองคอยระมัดระวัง

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMU1qQXlPVE0zT1E9PQ==&subcatid=

.


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เตือนภัยออนไลน์!! จดหมายแจ้งระงับ apple id หลอกลวงเอาข้อมูลบัตรเครดิต

-http://hitech.sanook.com/1386531/%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%87%E0%B8%B1%E0%B8%9A-apple-id-%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B8%A5%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%95/-



เตือนภัยออนไลน์!! จดหมายแจ้งระงับ apple id หลอกลวงเอาข้อมูลบัตรเครดิต

Sanook! Hitech วันนี้ขอนำเสนออีกหนึ่งวิธีการของเหล่ามิจฉาชีพ ซึ่งกรณีนี้อาจจะไม่ใช่คนแรกที่โดน...โดยระบุถึง User คนหนึ่งซื้อของในเว็บบอร์ดชื่อดัง Pantip.com ที่ได้รับจดหมายแจ้งระงับ apple id หลอกลวงเอาข้อมูลบัตรเครดิต

ทั้งนี้ผู้ใช้เว็บบอร์ดดังกล่าวได้โพสข้อความ ระบุว่า



เช้านี้ได้รับอีแมวจากแอปเปิ้ล เนื้อจดหมาย..แจ้งว่าแอปเปิ้ลไอดีถูกระงับ เพราะมีการเปลี่ยนแปลงอีเมล์ ให้คลิ๊กลิ้งค์เพื่อไปยืนยันตัวตนอีกครั้ง



หน้าที่ให้กรอก apple id ทำเนียนมาก หัวด้านบนเป็นของแอปเปิ้ลจริง แต่ตัว URL นั้นปลอม และ สามารถใส่อีเมล์/พาสเวิร์ดมั่วๆ ก็ผ่านได้



ถ้ามาถึงตรงนี้ยังไม่รู้ตัว กรอกบัตรเครดิตพร้อม รหัส CVC หลังบัตร แล้วกด verify ก็เสร็จโจรล่ะครับ





หวังว่าจะช่วยเตือนภัยให้เพื่อนๆ ในพันทิปได้ทันการณ์นะขอรับ เอวัง.

หมายเหตุ:

Phishing mail ไม่ใช่ของใหม่ครับ ประเด็นไม่ได้จะมาจาก Apple เจอมาหมด eBay PayPal FB แม้กระทั่งจากแบงก์ไทย

แค่คลิ๊กเข้าไปเห็น URL address ก็รู้แล้วครับ ถ้าเห็น mail ลักษณะนี้ก็ลบทิ้งไปได้เลย

ดู ตย. ได้เลยครับมีเป็นร้อย -https://www.google.co.th/search?q=phishing+mail&tbm=isch&tbo=u&source=univ&sa=X&ei=5aOuUaDUAsPKrAfwyYCoBw&ved=0CEMQsAQ&biw=1196&bih=766-

ขอบคุณที่มา:  -www.pantip.com-  ที่มาต้นฉบับ -pantip.com/topic/30568990-


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เมื่อผมถูกตำรวจควบคุมตัวไม่ให้ออกจาก ธนาคารกรุงไทย สาขาสี่แยกสะพานกรุงธน
-http://pantip.com/topic/30484962-

ถามผู้รู้...แต่เรื่องยาวหน่อยนะครับ

ผมชื่อวรเทพครับ...เนื่องจากผมได้ดำเนินการกู้สินเชื่อสำหรับซื้อบ้านของโครงการบ้านจามจุรี พาร์ค ตั้งแต่เดือนเมษายน 2556 ที่ผ่านมา และตลอดระยะเวลาในการประสานงานกับทางธนาคารกรุงไทย ผมได้รับการติดต่อจากพนักงานชื่อ คุณตู่ ทางโทรศัพท์มาโดยตลอด และหลังจากสรุปการอนุมัติสินเชื่อแล้ว ทางคุณตู่ ได้เชิญให้ผมเข้าไปเซ็นสัญญา ที่ธนาคากรุงไทย สาขาสะพานกรุงธน ในวันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม 2556 ในช่วงบ่าย ซึ่งในวันเวลาดังกล่าว ผมได้เข้าไปตามเวลานัด แต่เนื่องจากเอกสารประกอบการอนุมัติสินเชื่อ ส่วนที่เป็นการทำประกันชีวิต ไม่ตรงตามที่ได้คุยกันแต่แรก แต่พนักงานท่านอื่น ไม่สามารถชี้แจงได้ เพราะคุณตู่ ไม่อยู่สาขา แต่ได้ไปออกงาน Money Expo ที่เมืองทองธานี ทั้งนี้พนักงานที่สาขาได้ต่อสายโทรศัพท์คุยกับคุณตู่ แต่คุณตู่ก็โอนสายให้กับพนักงานอีกคน ซึ่งเป็นคนอธิบายเรื่องกรมธรรม์ ซึ่งผมเห็นว่ายังอธิบายได้ไม่ชัดเจน ผมเลยไม่ได้ทำการเซ็นสัญญากู้สินเชื่อในวันและเวลาดังกล่าว ทางคุณตู่จึงได้นัดเข้าไปสาขาอีกครั้งในวันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม 2556 เวลา 13.00 น.

วันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2556 เวลา 12.55 น. ผมได้เดินทางไปยังธนาคารกรุงไทย สาขาสี่แยกสะพานกรุงธน พร้อมกับลูกน้องที่ทำงาน (ต้องไปพร้อมกันเพราะนัดลูกค้าต่อตอนบ่าย 2) ได้พบกับคุณตู่ เจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงไทย เป็นครั้งแรก และได้สอบถามเรื่องการกู้สินเชื่อซื้อบ้าน และถามอย่างตรงไปตรงมาว่า ในกรณีการกู้ของผม ผมจะไม่ทำประกันชีวิตได้หรือไม่ ระหว่างที่คุยกับคุณตู่นั้น ได้มีผู้หญิงคนหนึ่ง เดินเข้ามายืนอยู่ข้างเก้าอี้นั่งของคุณตู่ โดยได้แนะนำตัวว่า ชื่อภา เป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับประกันชีวิต กรุงไทย-แอกซ่า เข้ามาอธิบายเรื่องการทำประกันชีวิต และรายละเอียดต่างๆ ซึ่งผมก็ยังยืนยันว่าผมจะไม่ทำ และสอบถามไปยังคุณตู่ว่า ผมจะไม่ทำประกันชีวิต จะกู้ได้หรือไม่ ถ้าไม่อนุมัติก็ให้ทางคุณตู่โทรไปบอกยังโครงการบ้านให้ด้วย

ระหว่างที่ผมคุยกับคุณตู่เจ้าหน้าที่ธนาคารกรุงไทยนั้น คุณภา ก็ไม่ได้หยุดพูด พยายามพูดแทรก ยั่วยุตลอดเวลา ซึ่งผมได้พยายามบอกให้คุณภา หยุดพูด เพราะผมไม่อยากฟัง และได้เชิญไปยังโต๊ะอื่น , คุณภา เดินไปจริง ประมาณ 30 วินาที แล้วก็เดินกลับมาหาเรื่องใหม่ ด้วยคำพูดยั่วยุอีกอย่างเดิม เช่น
-    อ๋อ..ขอโทษนะคะ ดิฉันเป็นท็อปเซลล์
-    ไม่เป็นไร พี่ขอเคลียร์กับผู้จัดการเองเคสนี้ พี่มีอำนาจสามารถเซ็นท์ได้
-    ไม่คิดถึงคนข้างหลังอยู่เลยเวลาจากไปใช่ใหมคะ??
-    คงไม่คิดถึงคนข้างหลังอยู่แล้วละสิ ก็คงไม่คิดจะแต่งงาน มีลูก มีผัว อยู่แล้วละลิ?? (ผมเป็นผู้ชายครับ)
-    ถ้าคุณตาย คุณจะได้เงิน 2 ล้าน เพื่อจะไม่ต้องมีภาระให้ใครไง??

ที่สำคัญ มีบางช่วงที่คุณตู่ ต้องไปโทรศัพท์ โดยลุกออกไปจากโต๊ะ คุณภาได้เข้ามานั่งยังเก้าอี้คุณตู่ และบางทีใช้เม้าท์ คลิกหน้าจอ ผมไม่เห็นหรอกว่าหน้าจอขึ้นข้อมูลอะไรไว้บ้าง เนื่องจากจอคอมหันหลังให้ผม อีกทั้งโต๊ะของคุณตู่ เต็มไปด้วยเอกสารต่างๆ มากมาย

ตลอดระยะเวลาประมาณ 30 นาที คุณภา ไม่หยุดพูดยั่วยุเลย  ผมเลยบอกคุณภา ว่า “ผมเป็นเซลล์มา 12 ปี ปัจจุบันผมเป็นผู้จัดการฝ่ายขาย ผมไม่เคยเห็นประกันคนไหนมาขายประกันแล้วบอกผมว่า ถ้าผมตาย ผมจะได้เงิน 2 ล้าน”
ทางคุณภา ตอบว่า “ก็มันเป็นเรื่องจริง ใครๆ เขาก็พูดกันเป็นธรรมดา”
ผมเลยตอบไปว่า “งั้นผมยกตัวอย่าง ถ้ามีคนมาขายประกันให้คุณ มาขายให้แม่คุณ แล้วบอกว่า ถ้าแม่คุณตาย คุณจะได้เงิน 2 ล้าน คุณเอาไหม??”
คุณภา ยืนกดโทรศัพท์มือถือ แล้วโยนใส่ด้านหน้าที่ผมนั่ง กระเด็นผ่านโต๊ะ แล้วตกไปกับพื้น ซึ่งก่อนหน้านี้ คุณภา ได้โยนโทรศัพท์มือถือ แบบนี้มาแล้วหลายครั้งต่อหน้าผม เพียงแต่ครั้งนี้มันกระเด็นเฉียดตัวผมไปหล่นกับพื้น

หลังจากนั้นคุณภา ได้โทรศัพท์ไปแจ้งความ โดยแจ้งต่อหน้าผมว่า “เป็นผู้ชาย ลักษณะเป็นเกย์ เป็นตุ๊ด ทำการหมิ่นประมาท....” และก็เดินไปคุยด้านหลัง

ระหว่างนั้นผมได้ยินคุณภาแจ้งกับใครสักคนทางโทรศัพท์ ว่า “ผมก้าวร้าว” ตลอดเวลา
   
เวลาผ่านไปประมาณ 10 นาที หลังจากที่คุณตู่ ได้ยืนยันแล้วว่าสินเชื่อไม่ผ่านหากไม่ทำประกันชีวิต จึงได้คืนเอกสารให้ผม ผมก็ได้ล่ำลา และลุกเดินจะออกจากสาขา ทางคุณภา มาเดินขวางแล้วแจ้งว่า ให้รอตำรวจก่อน เพราะได้ดำเนินการแจ้งความไว้แล้ว ผมก็รอจนตำรวจมา กลายเป็นว่า ผมถูกตำรวจควบคุมตัว ไม่ให้ออกจากสาขา และให้เข้าไปคุยกันในห้องผู้จัดการสาขา

ในห้องผู้จัดการสาขา มีตำรวจ 2 นาย, คุณตู่, เจ้าหน้าที่สาขาผู้หญิงสูงวัย, คุณภา, ผม และลูกน้อง รวมทั้งหมด 7 คน ซึ่งระหว่างการสนทนาทั้งหมด ผมได้ทำการบันทึกเสียงไว้ในโทรศัพท์มือถือ ความยาวประมาณ 13 นาที

ได้รับการบอกกล่าวจากทางตำรวจว่า คุณภา แจ้งกับตำรวจว่า "มีการหมิ่นประมาท ทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย" ตำรวจเลยรีบมา และทางผมได้ชี้แจงกับตำรวจ เช่นเดียวกับเนื้อหาด้านบน และไม่ได้เกิดการทำร้ายร่างกายเกิดขึ้นแต่อย่างใด

สุดท้ายตำรวจแจ้งให้ในห้องว่า กรณีนี้ไม่เข้าข่ายใดๆ ที่จะฟ้องร้องเรื่องหมิ่นประมาทได้ ซึ่งทางคุณภา และผมก็เข้าใจตรงกัน ก็ทำการขอโทษกันไป  ผมถึงได้ออกจากสาขา เหตุการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้น อยู่ในคลิปเสียงที่ผมอัดไว้ เป็นการชื้แจงและรับทราบต่อหน้าตำรวจ

สิ่งที่ผมอยากทราบที่สุดเลยคือ

1.    คุณภา เจ้าหน้าที่กรุงไทย-แอกซ่า เป็นพนักงานธนาคารกรุงไทยสาขาสี่แยกสะพานกรุงธนหรือไม่? ทำไมถึงมีอำนาจมากมาย คุยกับผู้จัดการสาขาได้ว่าจะอนุมัติเคสใครให้ทำประกันก็ได้ ทั้งๆ ที่เจ้าหน้าที่(คุณตู่) ทำไม่ได้ เพราะผมไม่เห็นว่าเขาจะแต่งกายชุดพนักงานของธนาคารเลย และเป็นคนเดียวในสาขาด้วย ผมถามเขา เขาตอบว่าเขาเป็นพนักงานเอ้าซอร์ท สามารถเดินไปที่ไหนก็ได้ในธนาคาร
2.    คุณภามีอำนาจมากมายขนาดที่สามารถนั่งโต๊ะคุณตู่ หรืออยู่หน้าคอมคุณตู่ ได้เลยหรือ ทั้งข้อมูลในคอมหรือเอกสารที่อยู่บนโต๊ะต่างๆ เท่าที่ผมทราบ ควรจะเป็นความลับของเจ้าหน้าที่แต่ละคนหรือไม่ ผมถามคุณภา ว่าเอกสารการกู้สินเชื่อของผมเป็นความลับไม่ใช่หรือ ทางคุณภายืนยันว่ามีสิทธิ์ดูได้เพราะเกี่ยวกับประกันที่เธอดูแล อยากทราบเหมือนกันว่า ที่อยู่หน้าคอมและเอกสารบนโต๊ะนั้น เป็นเอกสารที่เกี่ยวกับประกันภัยทั้งหมดเลยหรือไม่
3.    สมควรหรือไม่ ที่ให้ตำรวจมาควบคุมตัวผมไม่ให้ออกจากสาขา แล้วแจ้งความว่า “หมิ่นประมาท ทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย” ทั้งๆ ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง ผมไม่ได้ก้าวร้าว ไม่คำหยาบออกมาจากปากผมสักคำ และ ผมเชื่อว่ากล้องวงจรปิดที่สาขา สามารถบันทึกภาพไว้ได้ทั้งหมด  ระหว่างที่ผมนั่งคุยที่โต๊ะคุณตู่ ผมไม่ได้ลุกจากที่นั่งด้วยซ้ำ คุณภาต่างหาก ทั้งเดิน ทั้งนั่ง โยนใส่โทรศัพท์ใส่หน้าผม แล้วถ้าลองเปลี่ยนจากโทรศัพท์เป็นของมีคมละ? หรือถ้าโทรศัพท์มันระเบิดขึ้นมา ใครจะรับผิดชอบผม เพราะโทรศัพท์ไอโฟน ก็เคยมีกรณีระเบิดมาแล้ว
4.    หากคุณภาเป็นพนักงานบริษัทกรุงไทยจริง อยากทราบว่า ธนาคารกรุงไทย ให้พนักงานทำกับลูกค้าของคุณแบบนี้หรือ?? ทั้งให้พนักงานมาทะเลาะกับลูกค้า, ให้พนักงานพูดจาเหยียดหยามเรื่องเพศ และให้ตำรวจมาควบคุมตัว ไม่ให้ออกจากสาขา ต่อหน้าลูกน้องผม, ต่อหน้าพนักงานธนาคารและต่อหน้าลูกค้าธนาคาร ที่มาใช้บริการขณะนั้น มันถูกต้องแล้วหรือ??
5. การที่ใครสักคนจะเป็นเพศอื่นๆ ที่ไม่ใช่เพศชาย หรือเพศหญิง จะได้รับการปฏิบัติเช่นนี้จากพนักงานธนาคารกรุงไทยหรือ?? ยุคสมัยของการดูถูกเหยียดหยามเชื้อชาติ สีผิว และเพศ มันน่าจะผ่านไปนานแล้ว
6.    เคยเกิดกรณีพนักงานโรงหนังแห่งหนึ่ง ตะคอกเถียงลูกค้าที่มาใช้บริการ สุดท้ายก็ต้องออกจากงานนั้นไป ถามว่าทางมาตรฐานและบรรทัดฐานของกรุงไทย จะจัดการเช่นไรกับกรณีนี้
7. ถ้ากู้ซื้อบ้าน และไม่ทำประกันได้หรือไม่ (อันนี้ไม่อยากได้คำตอบแล้ว)

ผมได้ทำการร้องเรียนผู้เกี่ยวข้องไปแล้ว แต่ก็ไม่คาดหวังว่าจะได้รับคำตอบอะไร เต็มที่ก็คงจะทำการขอโทษ ซึ่งการขอโทษมันก็ไม่ได้ช่วยอะไร เพราะนอกจากความรู้สีกที่เสียไปแล้ว ยังมีอื่นๆ ที่เสียตามมาอีก
- บ้านผมก็กู้ไม่ผ่าน
- ชื่อผมก็ต้องอยุ่ในบันทึกของตำรวจ
- ลูกน้อง การปกครองต่อไปจะเป็นอย่างไร
- เจ้าหน้าที่ธนาคารท่านอื่น ก็คงไม่อยากบริการลูกค้าเช่นผม
- ลูกค้าธนาคารช่วงเวลานั้น ตีหน้าผมไปแล้วว่า...
- ความกลัวที่จะเข้าไปใช้บริการกรุงไทย ผมไม่รู้ว่าหากพูดผิดหูเจ้าหน้าที่ธนาคารหรือไม่ จะถูกแจ้งความว่า "หมิ่นประมาท ทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย" อีก
- ภาพในกล้องวงจรปิด "ผมถูกตำรวจควบคุมตัว ไม่ให้ออกจากธนาคารกรุงไทย สาขาสี่แยกสะพานกรุงธน"

เลยมาแชร์ และถามผู้รู้ครับ

 สมาชิกหมายเลข 839416
14 พฤษภาคม เวลา 13:27 น.  [IP: 125.25.37.119]


เมื่อผมถูกตำรวจควบคุมตัวไม่ให้ออกจาก ธนาคารกรุงไทย สาขาสี่แยกสะพานกรุงธน
-http://pantip.com/topic/30484962-

ความคิดเห็นที่ 77
มาตอบและขอบคุณพันทิพ ครับ

ได้รับการติดต่อจากผู้จัดการสาขาแล้วครับ ได้รับการขอโทษจากผู้จัดการ ในนามของธนาคาร ผู้จัดการแจ้งว่า เพิ่งได้ทราบเรื่อง จากสำนักงานใหญ่ จากเรื่องราวที่ผมโพสในพันทิพ และผู้จัดการสาขาจะเข้ามาพบที่ออฟฟิสผม ในวันพุธที่ 15 พ.ค. บ่าย 2

เห็นแจ้งว่าขอเข้าพบเพื่อชี้แจง และจะดูให้ว่าพอจะช่วยเหลือเคสนี้อย่างไรบ้าง

ผมได้แจ้งวันเวลาเข้าพบอีกครั้ง และรบกวนให้ทางผู้จัดการนำไฟล์ของกล้องวงจรปิดมาให้ด้วยจะได้เข้าใจตรงกัน แต่ผู้จัดการแจ้งว่า กล้องวงจรปิดมีเฉพาะที่เค้าเตอร์กับประตูทางเข้า บริเวณที่คุณตู่นั่งไม่มี เฮ้อ...กลายเป็นสิ่งที่ผมพูด ไม่มีน้ำหนักขึ้นมาทันที มีแต่พยานบุคคลคือลูกน้องผม กับเจ้าหน้าที่ธนาคารอีก 2 คน ซึ่ง 2 คนหลังจะเป็นพยานให้หรือไม่

ผ่านพรุ่งนี้ไปได้ จะมาเล่าอีกทีนะครับ

ขอบคุณทุกความเห็นและพันทิพครับ


-------------------------------------------------------------

ความคิดเห็นที่ 250
เจ้าของกระทู้นะครับ มาตอบแล้วแจ้งข่าวและความคืบหน้าครับ

15 พ.ค.56 เวลา 14.30 น.- เจ้าหน้าที่กรุงไทย(คุณตู่), คุณคมสัน จันทร์สืบสาย ผู้จัดการสาขา(คห.163), เจ้าหน้าที่กรุงไทย-แอกซ่า 4 ท่าน และลูกน้องผม(ผู้ร่วมเหตการณ์)

ทางเจ้าหน้าที่ทั้งจากกรุงไทย และกรุงไทยแอกซ่า ได้ทำการขอโทษอย่างเป็นทางการ พร้อมกระเช้าผลไม้จากกรุงไทยแอกซ่า ครับ

จากนั้นผมได้เริ่มเล่าเหตุการณ์ทั้งหมดตามเนื้อความที่ตั้งกระทู้ และทางคุณคมสัน ได้เล่าผลทางการสอบสวนเจ้าหน้าที่สาขาก่อนที่จะมา ซึ่งไปในทิศทางเดียวกันกับเหตุที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรม, คำพูดยั่วยุ เสียดสี, การโยนโทรศัพท์, การเดินเข้า-ออกระหว่างสนทนา และสุดท้ายคือการแจ้งตำรวจมาควบคุมตัวที่สาขาต่อหน้าพนักงาน และลูกค้าท่านอื่น

กรุงไทย
- ได้ชื้แจงแล้วว่า คุณภา ไม่ใช้พนักงานของธนาคารกรุงไทย แต่เป็นพนักงานของกรุงไทย-แอกซ่า ที่ประจำสาขานี้ และขณะนี้ได้ระงับ ไม่ให้เข้าไปยังสาขาแล้ว
- กล้องวงจรปิด ทางธนาคารได้นำรูปถ่ายภายในสาขา บริเวณที่ผมนั่งทำธุรกรรมอยู่ และเห็นว่าไม่มีกล้องวงจรปิดจริงๆ
- ในส่วนของสินเชื่อซื้อบ้าน ไม่มีเงื่อนไขว่า จะต้องซื้อประกันชีวิตด้วย และชี้แจงว่า กรณีของผม สินเชื่อได้ทำการอนุมัติแล้ว โดยได้ประสานงานกับทางโครงการบ้านจามจุรี พาร์ค ให้ดำเนินตามขั้นตอนต่อ แต่ที่คุณภาทำ คือการยัดเยียดการทำประกันชีวิต ซึ่งทางธนาคารไม่ได้มีนโยบายว่า การไม่ทำประกันชีวิต จะไม่อนุมัติสินเชื่อ

กรุงไทย-แอกซ่า
- ชี้แจงเรื่องไม่มีนโยบายให้ตัวแทนประกัน พูดคำว่า "ตาย" แต่ให้เลี่ยงใช้คำอื่นที่ไกลตัว แต่สื่อความหมายให้เข้าใจ
- ชี้แจงส่วนของพนักงาน (คุณภา) ว่าทางบริษัท ได้ดำเนินการขั้นเด็ดขาดกับพนักงานคนดังกล่าว และไม่ได้เข้าข้างพนักงานแต่อย่างใด รวมถึงไม่ได้ปฏิเสธความรับผิดต่อสิ่งที่คุณภาทำ
- ชี้แจงเรื่องกรมธรรม์, ขั้นตอนการอธิบาย รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่จะได้รับ(ที่ไม่ได้รับข้อมูลตั้งแต่แรกเริ่ม)

จากการได้พูดคุยกันในวันนี้ เนื้อความไม่ได้เยอะมากมาย แต่เป็นเรื่องการชี้แจงในหัวข้อต่างๆ ข้างต้น เพื่อสร้างความเข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ ผมคิดว่า เรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมด เป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของบุคคลเพียงคนเดียว ไม่ได้เกี่ยวข้องกับองค์กร ทั้งจากธนาคารกรุงไทย และกรุงไทย-แอกซ่า และผมเองก็ไม่ได้ติดใจเอาความแล้ว

สำหรับกรุงไทย-แอกซ่า ตามที่ได้คุยกัน ผมก็เห็นว่า คุณภา ได้ทำเรื่องแย่ๆ เพียงคนเดียว แต่ไม่ได้เกี่ยวกับองค์กร การขออภัยจากทางองค์กร ผมก็ถือว่าน่าจะเพียงพอแล้ว
สำหรับธนาคารกรุงไทย ขอขอบคุณที่แสดงการรับผิดชอบครั้งนี้อย่างจริงใจ

เรื่องระหว่างผม, ธนาคารกรุงไทย และ กรุงไทย-แอกซ่า ก็จบด้วยความเข้าใจอันดีครับ

ป.ล. ก่อนกลับ เราได้ทำการฟังคลิปเสียงที่ผมได้ทำการบันทึกไว้พร้อมกัน และทุกท่านที่ได้ฟังก็ดูสีหน้าตกใจกับเหตุเสียงที่ได้ยินในคลิป ทั้งคำพูดและน้ำเสียงที่ไม่เหมาะสม



ตอบกระทู้- สำหรับหลายท่านที่มีข้อสงสัย ขอตอบดังนี้ครับ
- ผมมาโพสเพื่ออะไร -
     - เพื่อมาแชร์เรื่องราวที่ผมเจอ และมีข้อสงสัยบางอย่างที่ต้องการคำตอบ
     - ผมว่าพนักงานบริการที่บริการเช่นนี้ ควรได้รับบทเรียน

- ทำไมตกลงทำประกันชีวิตแล้วเกิดเปลี่ยนใจ
     - ไม่ได้เปลี่ยนใจครับ เพียงแต่ว่า ตอนแรกแจ้งผมว่าเป็นประกันแบบเงินออม แต่พอมาเห็นกรมธรรม์จริง เป็นประกันแบบเงินออม ปีละ 20,000 บาท เป็นเวลา 26 ปี อันนี้ผมรับได้ แต่มีอีกส่วนที่รับไม่ได้คือ ต้องทำประกันเสริม จ่ายปีละ 10,000 บาท เป็นเวลา 15 ปี ซึ่งไม่เคยมีการแจ้งมาก่อน เลยรู้สึกว่าไม่อยากทำ

- คลิปเสียง ทำไมไม่เอามาลง
     - อัดจากในไอโฟนครับ พยายามจะเอาลงแล้ว แต่ทำไม่เป็น แต่หลังจากได้ทำการพูดคุยกันทุกฝ่าย ทางธนาคารกรุงไทย และกรุงไทย-แอกซ่า ก็ขอให้ผมส่งเป็นไฟล์เพื่อไปพิจารณา ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว (โพสไม่เป็นจริงๆ พยายามแนบไฟล์แล้ว มันเด้งกลับตลอดเลยครับ)

- ทำไมต้องอดทน ตอนที่ถูกยั่วยุ หรือโยนโทรศัพท์ใส่ ใจเย็นอยู่ได้อย่างไร
     - เพราะขณะนั้นผมก็ตกใจเหมือนกัน (กำลังอึ้ง) ทำอะไรไม่ถูก
     - ผมไม่ได้ใจเย็นนะครับ ก็มีเถียงไปตลอดเหมือนกัน การที่ผมจะลุกยืน ชี้หน้าด่า หรือทำร้ายร่างกายคุณภา ซึ่งเป็นผู้หญิงมันก็คงไม่ถูกต้อง ถ้าทำไป เรื่องนี้จะออกมาอีกแบบเลย มีบางคห. บอกว่า "มวยถูกคู่" อันนี้ยอมรับครับ
     - คนเข้าไปกู้เงินธนาคาร ปกติเราก็สงบเสงี่ยมเจียมตัวอยู่แล้ว การจะตั้งหน้าเพื่อจะไปหาเรื่องคงไม่ใช่

- ทำไมต้องรอจนตำรวจมา
     - ไม่ได้รอจนตำรวจมาครับ แต่ว่าจะออกจากสาขาแล้ว คุณภาเข้ามาขวาง ไม่ให้ออกจากสาขา เพียงไม่ถึง 10 วินาที (10 วินาทีจริงๆ เพราะเร็วมาก) ตำรวจก็มาถึงสาขา

- ทำไมไม่แจ้งความกลับ
     - ขณะนั้นผมก็คิดไรไม่ออกครับ ยิ่งอยู่ใกล้ตำรวจด้วยแล้ว คิดอะไรไม่ออกเข้าไปใหญ่
     - ผมมีนัดลูกค้า ไว้ตอนบ่าย 2 เลยต้องรีบไป

เรื่องนี้ต้องให้เครดิตกับตำรวจด้วยครับ เพราะนอกจากจะมาระงับเหตุแล้ว ยังได้ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น

- ชื่อวรเทพ ครับ ไม่ได้เป็นคนเดียวกับ gsg99 ครับ

สุดท้ายนี้ ผมก็ขอบคุณทุกความคิดเห็น และเสนอแนะจากทุกๆ ท่านครับ ผมแค่อยากมาแชร์ประสบการณ์กับสิ่งที่ได้เจอครับ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เมื่อผมถูกตำรวจควบคุมตัวไม่ให้ออกจาก ธนาคารกรุงไทย สาขาสี่แยกสะพานกรุงธน
-http://pantip.com/topic/30484962-

ความคิดเห็นที่ 163
ผม นายคมสัน จันทร์สืบสาย ผู้จัดการธนาคารกรุงไทย สาขาสี่แยกสะพานกรุงธน ขอแสดงความรับผิดชอบในสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด และต้องขอโทษแทนธนาคารกรุงไทย และบริษัทในเครือของธนาคาร  ที่เกิดเรื่องดังกล่าวขึ้นในสาขาที่กระผมรับผิดชอบ  ซึ่งกระผมได้สอบถามผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่เกิดขึ้น และได้โทรศัพท์นัดหมายกับคุณวรเทพ เพื่อจะได้ร่วมกันแก้ไขในเรื่องที่เกิดขึ้น   เรียบร้อยแล้ว
      กระผมขอยืนยันและให้ความเชื่อมั่นกับคุณวรเทพว่า  ถึงแม้จะไม่มีกล้องวงจรปิดในบริเวณนั้น ผมรับรองว่าเรื่องนี้จะได้รับการตรวจสอบอย่างโปร่งใส และเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
                                              ขอขอบคุณสำหรับทุกความเห็น และต้องขอโทษในเรื่องที่เกิดขึ้นอีกครั้ง


ความคิดเห็นที่ 21
สวัสดีค่ะคุณลูกค้า
ธนาคารกรุงไทยขออภัยในความไม่สะดวกในการให้บริการค่ะ _/\_  รบกวนขอชื่อ นามสกุล เบอร์โทรศัพท์ติดต่อกลับ ทางหลังบ้านเพื่อประสานงานตรวจสอบไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนะคะ


เมื่อผมถูกตำรวจควบคุมตัวไม่ให้ออกจาก ธนาคารกรุงไทย สาขาสี่แยกสะพานกรุงธน
-http://pantip.com/topic/30484962-


ความคิดเห็นที่ 17
อ่า ตอบได้อย่างเดียวว่าคุณภาเป็นพนักงานกรุงไทย แอ็กซ่า ไม่ใช่พนักงานกรุงไทยครับ (แอ็กซ่าเป็นบริษัทที่เกิดจากกรุงไทยกับประกันแอ็กซ่าร่วมกันครับ)

งงมั๊ย ... เหมือนกับ KTC กับ KTB ครับ คนละบริษัทกัน แต่อยู่เครือเดียวกันประมาณนั้น

ส่วนเรื่องอื่นๆ อยากให้ฟ้องกลับฐานแจ้งความเท็จต่อจนท.ตำรวจ
และชี้แจงข้อมูล ข้อเท็จจริงไปที่บริษัทกรุงไทยแอ็กซ่า รวมถึงสำนักงานเขตที่ดูแลธ.กรุงไทย สาขานี้ครับครับ เพื่อไม่ให้เกิดเห็นการณ์แบบนี้อีก

ปล. เรื่องนี้ผมได้ฟังความข้างเดียว  รับทราบแค่ข้อมูลส่วนของ จขกท. ฉะนั้นจึงแนะนำตามที่เห็นในข้อความครับ หากข้อเท็จจริงผิดไปจากนี้ก็รอดูข้อมูลแล้วค่อยว่ากัน


ความคิดเห็นที่ 18
ของผมกู้กรุงไทยเหมือนกัน  แค่โทรไปคอลเซ็นเตอร์ บอกว่าไม่ได้ใบเสร็จมาหลายเดือนแล้ว

แค่เนี้ย  ผจก.สาขาที่เรากู้โดนตัดคะแนนเลยนะครับ  ทั้งๆที่ผมไม่ได้มีเจตนาอะไรแบบนั้นเลย แค่อยากได้ใบเสร็จไว้ป้องกันตัวเฉยๆ

ถ้ารู้ชื่อจริง นามสกุลจริง  ลองโทรไปคอลเซ็นเตอร์ดูครับ


ความคิดเห็นที่ 19
เขามาอ่านรู้สึกว่าอ่านแล้วรู้สึกโมโหแทนคะ ( ถ้าเป็นตามคุณเล่ามานะคะ ) ลองยื่นเรื่องกับแบงค์อื่นดูคะ จริงๆเรื่องประกันทางแบงค์ไม่สิทธิบังคับเราทำนะ มีในกฎหมายห้ามไว้ด้วยคะ จะมีแต่ประกันประเภทที่ว่าเมื่อเรากู้ผ่านแล้วจะทำก้อคือประมาณว่าถ้าเราเป็นอะไรไปคนข้างหลังไม่ต้องรับภาระหนี้สิ้นที่เราเป็นอยู่ แต่การกระทำของพนักงานที่แสดงออกกับคุณ น่ากลัวที่สุด


ความคิดเห็นที่ 37
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ผู้ใดทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือ "จิตใจ" ของผู้อื่น ผู้นั้นกระทำผิดฐานทำร้ายร่างกายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 ผู็ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่สาม โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้นั้นเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวา่งโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ(ข้อแนะนำโปรดหลอกถามให้ได้ว่าทำอย่างงี้เป็นประจำ)

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 390 ผู้ใดกระทำการโดยประมาท และการกระทำนั้นเป็นเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 393 ผู้ใดดูหมิ่นผู้อื่นซึ่งหน้าหรือโดยการโฆษณา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินหนึ่งพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ(ข้อนี้ก็เช่นกัน ทำให้เค้าหลุดปากพูดว่าเค้าทำเป็นประจำ เจ้าหน้าจะได้นำไปประกอบการพิจารณาลงโทษขั้นสูงสุด)

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 379

อันนี้ไม่รู้ว่าจะเกี่ยวไหม

ประมวลกฏหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 159 การแสดงเจตนาเพราะถูกกลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ(คือถ้าบอกล้างก็จะเป็นโมฆะถ้าให้การรับรองก็สมบูรณ์) แต่การถูกกลฉ้อฉลต้องถึงขนาดซึ่งถ้าไม่มีกลฉ้อฉลดังกล่าว การอันเป็นโมฆียะนั้นคงจะมิได้ทำขึ้น



ความคิดเห็นที่ 41
อ่านมาตั้งแต่ต้นจนจบ ในส่วนคำถามที่คุณอยากทราบ คงต้องให้ทางกรุงไทยมาชี้แจงแล้วล่ะ

แต่ในส่วนที่คุณเสียความรู้สึกนั้น คงต้องเสียความรู้สึกอยู่แล้ว แต่ส่วนอื่นๆ ผมไม่เห็นว่าจะเสียหายตรงไหน

- ถ้าคุณกู้บ้านไม่ผ่าน คุณก็ไปติดต่อแบงค์อื่นก็ได้ ใช่ว่าจะมีแต่กรุงไทยที่คุณจะขอกู้ได้ เราไม่จำเป็นต้องง้อแบงค์สักหน่อย
- ชื่อคุณไม่น่าจะอยู่ในบันทึกของตำรวจ เพราะคุณไม่ได้ถูกเชิญไปที่โรงพัก อีกทั้งยังมีหลักฐานว่าคุณไม่ได้หมิ่นประมาท (จากเทปที่อัดเสียง) ไม่ได้ทำร้ายร่างกาย ตำรวจคงไม่ได้ลงบันทึกประจำวันไว้หรอกครับ
- จะปกครองลูกน้องยังไง ก็ปกครองเหมือนเดิม ไม่เห็นมีอะไรเสียหาย ถ้าคุณไม่ได้เป็นฝ่ายผิด ลูกน้องคุณคงเข้าใจ
- เจ้าหน้าที่คนอื่นจะบริการคุณหรือไม่ ทำไมต้องแคร์ แบงค์นี้ไม่บริการก็ไปใช้บริการที่อื่น หรือสาขาอื่น ผมคิดว่าคนที่ต้องอาย คือพนักงานแบงค์ที่คุณมีปัญหาด้วยมากกว่า ที่แสดงกิริยามารยาทที่ไม่ดีต่อลูกค้า ไม่ใช่ตัวคุณ
- ลูกค้าธนาคารคนอื่น ควรจะเห็นใจคุณมากกว่าที่จะประนามคุณ ถ้าคุณไม่ได้ทำนิสัย หรือมารยาทที่ไม่ดี แถมลูกค้าท่านอื่นสมควรที่จะไม่พอใจการบริการของแบงค์ซะด้วยซ้ำนะครับ
- ทำไมคุณต้องกลัวคนอื่นด้วยล่ะ ในเมื่อคุณไม่ได้ทำอะไรผิด ถ้าคุณคิดว่าคุณไม่พอใจบริการของที่นี่ ก็ไปใช้บริการแบงค์อื่น หรือถ้าคุณคิดจะใช้บริการของที่นี่อยู่ ก็ไปใช้สาขาอื่น มีเจ้าหน้าที่คนอื่นยังยินดีต้อนรับ ใช้ว่าพนักงานแบงค์ทุกคน ทุกสาขาเขาจะบริการไม่ดีซะทุกคนสักหน่อย
- ภาพในกล้องวงจรปิดมันมีทุกที่ คุณเดินเข้า 7-11 มันก็มีกล้องวงจรปิด ถ้าไม่ได้ทำผิดสักอย่าง แล้วจะกลัวอะไร

ผมว่าคุณจะวิตกจริตเกินไปนะสำหรับหลายๆ เรื่อง ถ้าเป็นผมๆ ไม่แคร์หรอก ไม่ได้ทำอะไรผิดสักอย่าง จะกลัวตำรวจ กลัวพนักงานคนอื่น จะอายใครทำไม คนที่อายคือคนที่ทำผิดมากกว่า

สำหรับความต้องการของคุณที่อยากจะให้ทางแบงค์ดำเนินการกับพนักงานที่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม คงต้องให้ทางแบงค์จัดการเอง

แต่สำหรับในเรื่องการทำประกัน ผมเห็นว่าเดี๋ยวนี้หลายๆ แบงค์มีนโยบายเหมือนกันนะ ถ้าเขาจะไม่อนุมัติให้คุณกู้ หากคุณไม่ทำประกัน คุณก็ควรจะทำใจ เพราะเดี๋ยวนี้แบงค์นอกจากปล่อยกู้แล้ว ยังต้องทำรายการอื่นๆ อีก

ปัจจุบันเข้าแบงค์ฝาก-ถอนเงินธรรมดา พนักงานก็ยัดเยียดอยู่นั่นแหละ ทำประกันชีวิตไหมพี่ มีบัตรเครดิตหรือยัง สนใจซื้อกองทุนหรือเปล่า บลาๆๆๆ มากมายสารพัดสินค้า ที่จะพยายามยัดเยียดคุณ

ผมคิดว่าทุกแบงค์มีนโยบายคล้ายกันหมดแหละครับ เขาคิดว่าคนที่ไปขอกู้เดือดร้อน อยากได้เงิน เขาก็เลยได้โอกาสยัดเยียดสินค้าพ่วงมาให้ด้วยมากกว่าครับ



ความคิดเห็นที่ 154
เจ้าของกระทู้ทนให้เค้าพูดจาอย่างนี้อยู่่ได้ไง เป็นคนอื่นคงฟาดเปรี้ยงเข้าให้แล้ว
แต่ก็พอเข้าใจได้ว่าเราไปขอกู้เงินเค้า ก็ต้องทนฟัง ยอมๆไปหน่อย แต่เยอะขนาดนี้น่าจะจัดหนักหน่อย
แจ้งความกลับเลยครับ ร้องไปธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย
แจ้งไปทาง คปภ. ให้ตรวจผลสอบใบอนุญาตตัวแทนประกันชีวิตว่ามีใหม ที่ขายๆกันอยู่เนี่ยะ ถ้ามีให้ถอนใบอนุญาต
และถ้าเค้าผิดจริงให้ทางธนาคารทำเป็นหนังสือมาครับ เซ้นด้วย ไม่ใช่มาขอโทษด้วยวาจาแล้วจบไป



ความคิดเห็นที่ 155
สงสัยว่า เรื่องทำประกันต้องตกลงกันก่อนแต่แรกแล้วไม่ใช่หรอครับ แล้วไม่ตรงตามเงื่อนไขคืออะไร ในเมื่อประกันบ้านมันมีแบบเดียว คือคุ้มครองจากการเสียชีวิตและชำระเบี้ยครั้งเดียว ถ้าลูกค้าเกิดเป็นอะไรขึ้นมาหนี้ก็เสียเป็นภาระกับธนาคาร ซึ่งธนาคารทุกที่เค้าก็ให้ทำหมด อาจจะยกเว้นแค่ออมสิน ถ้าเช่นนั้นรบกวนเจ้าของกระทู้บอกด้วยที่ว่าไม่ตรงตามที่คุยคืออะไร ผมไม่ได้เข้าข้างธนาคารและก็เห็นด้วยที่ว่าพนักงานที่ชื่อภาผิด แต่ผมแค่สงสัยประเด็นที่ จขกท กล่าวตอนแรกว่าตกลงทำไปแล้ว แล้วทำไมถึงเกิดเปลี่ยนใจ ทั้งที่ธนาคารอนุมัติแล้ว


http://pantip.com/topic/30484962

.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ซื้อขายประกันภัยทางโทรศัพท์...กฎเกณฑ์ที่ผู้ซื้อควรรู้
-http://www.oknation.net/blog/print.php?id=534537-

ได้อ่าน ภัยใกล้ตัว..! สมัครบัตรเครดิต แถมหลอกขายประกันชีวิต เป็นหนี้ไม่รู้ตัว ยิ่งกว่าโดนกระชากกระเป๋า ของบล็อกเกอร์ สิปาง
เลยคิดว่าน่าจะนำเรื่องนี้มาลงให้เราได้รู้สิทธิของเราในฐานะผู้ซื้อ...เพื่อประโยชน์ของเราเอง ค่ะ
*****

ซื้อขายประกันภัยทางโทรศัพท์
กฎเกณฑ์ที่ผู้ซื้อควรรู้

ค้นหาใน บมจ. ไทยเศรษฐกิจประกันภัย http://www.tsi.co.th/tips.asp?tid=193

ทุกวันนี้การเสนอขายสินค้าผ่านโทรศัพท์ หรือเทเลมาร์เก็ตติ้ง ถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางสำคัญในการทำตลาดสินค้าหลากหลายประเภท โดยเฉพาะประกันภัยที่ใช้ช่องทางนี้ค่อนข้างมาก แม้ด้านหนึ่งการขายผ่านช่องทางนี้จะทำให้ผู้บริโภคบางกลุ่มรำคาญ และรู้สึก "ไม่ชอบ" จนมองว่าเป็นการละเมิดสิทธิส่วนบุคคล แต่อีกด้านหนึ่งก็มีคนจำนวนไม่น้อยที่เลือกซื้อผ่านเทเลมาร์เก็ตติ้ง เพราะ "ชอบ" ที่ตอบโจทย์ความสะดวกสบายได้เช่นกัน เห็นได้จากยอดขายกรมธรรม์ผ่านเทเลมาร์เก็ตติ้งในไตรมาสแรกปีนี้มีมูลค่ากว่า 2.3 พันล้านบาท ซึ่งประเมินภาพรวมทั้งปีอาจสร้างเบี้ยสูงถึง 1 หมื่นล้านบาท

ดังนั้น ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับการบริหารความ "ชอบ" และ "ไม่ชอบ" ของคนสองกลุ่มนี้ก็คือ การมีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจนเพื่อควบคุมการขายผ่านเทเลมาร์เก็ตติ้ง และไม่เป็นการรบกวนผู้บริโภคจนก่อให้เกิดความรำคาญ ซึ่งธุรกิจประกันภัยถือเป็นธุรกิจแรกที่ได้กำหนดหลักเกณฑ์การขายทั้งในเชิงของการเป็นมาตรฐานจริยธรรมทางวิชาชีพ และการเป็นกฎหมาย



หลักปฏิบัติที่สำคัญของการขายประกันภัยผ่านทางโทรศัพท์นั้น

    ประการแรก ตัวแทนหรือนายหน้าที่จะโทรศัพท์ไปเสนอขายแบบประกันนั้นจะต้องสอบใบอนุญาตการเป็นตัวแทน
    ทั้งยังต้องขึ้นทะเบียนการเป็นผู้เสนอขายแบบประกันผ่านทางโทรศัพท์กับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ด้วย
    ขณะเดียวกันบริษัทก็ต้องวิเคราะห์ฐาน ลูกค้าเพื่อมาออกแบบกรมธรรม์ให้เหมาะสม
    รวมถึงแบบประกันที่จะเสนอขายต้องได้รับอนุมัติจาก คปภ.ก่อนเช่นกัน

การเสนอขาย

ในการโทรศัพท์ไปเสนอขายแบบประกันจะต้องอยู่ในช่วงวันจันทร์-เสาร์ ระหว่างเวลา 08.30-19.00 น. โดยขั้นตอนการเสนอขาย ตัวแทนต้องแจ้งชื่อ-สกุล, เลขที่ใบอนุญาต และชื่อบริษัทประกัน ซึ่งต้องชี้แจงว่าจะเป็นการเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย

หากผู้บริโภคไม่สนใจและปฏิเสธที่จะสนทนาต่อตัวแทนก็ต้องยุติการเสนอขายทันที พร้อมกับบันทึกชื่อลูกค้ารายดังกล่าวไว้ในอีกบัญชีหนึ่งและต้องไม่ติดต่อไปเสนอขายกรมธรรม์แก่ลูกค้ารายนั้นอีกไม่น้อยกว่า 6 เดือน

ในกรณีที่ลูกค้าสนใจและอนุญาตให้เสนอขายกรมธรรม์ได้ ตัวแทนต้องขออนุญาตบันทึกเสียงการสนทนาก่อนจะเสนอขายและอธิบายรายละเอียดของแบบประกันทั้งความคุ้มครอง, ผลประโยชน์, ข้อยกเว้น, เบี้ยประกัน, ระยะเวลาเอาประกัน ไปจนถึงช่องทางการชำระเบี้ย

หลังการซื้อขาย

หลังจากตกลงซื้อกรมธรรม์ภายใน 7 วันหลังจากส่งกรมธรรม์ไปให้ผู้เอาประกันแล้ว บริษัทจะต้องโทรศัพท์ไปขอคำยืนยันจากผู้เอาประกันอีกครั้งหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ผู้เอาประกันยังมีระยะเวลาในการขอยกเลิกกรมธรรม์ประกันภัย (free look period) ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับกรมธรรม์จากบริษัท ในกรณีนี้ผู้เอาประกันจะได้รับเบี้ยคืนเต็มจำนวนโดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากนี้ ในกรณีที่ผู้บริโภคต้องการทราบว่าผู้เสนอขายได้ข้อมูลของตนเองมาได้อย่างไร ตัวแทนก็ต้องแจ้งถึงแหล่งที่มาของข้อมูลของผู้บริโภคด้วย

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจก็คือ ผู้บริโภคแต่ละรายอาจถูกโทรศัพท์ไปเสนอขายกรมธรรม์หลายครั้งจากหลายบริษัท เนื่องจากแต่ละบริษัทก็จะมีฐานข้อมูลของตนเองและไม่ได้เชื่อมโยงเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกัน ลูกค้ารายหนึ่งอาจปฏิเสธไปแล้วแต่กลับมีบริษัทอื่น โทร.เข้ามาเสนอขายอีกก็เป็นได้ ซึ่งเป็นโจทย์ที่สมาคมประกันชีวิตไทย และภาคธุรกิจ รวมถึง คปภ.จะช่วยกันหาทางแก้ไขในอนาคตเพื่อรักษาสิทธิส่วนบุคคลของผู้บริโภค ทั้งยังต้องไม่ขัดกฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความลับลูกค้าของสถาบันการเงินอีกด้วย ในอนาคตอันใกล้น่าจะได้เห็นระบบนี้อย่างแน่นอน

ที่มา นสพ บ้านเมือง

เคยโพสต์ไว้ที่นี่ -http://dhanita-rpk.spaces.live.com/Blog/cns!926D7AD01F9C551F!1103.entry-



--------------------------------------------------------------------------------

พนักงานของบริษัทนายหน้าประกันภัยต้องมีใบอนุญาตหรือไม่? ฉบับที่ 156
-http://www.sumret.com/content.php?id=919&group_id=26-


สวัสดีครับ .พบกับการก้าวไปอย่างมั่นคง ก้าวไปอย่างปลอดภัย กับ....ก้าวทันประกันภัยและ เพื่อไม่ให้ต้องเสียเวลาเรามาก้าวทันกันต่อเลยครับ
                คำถาม  : จากคุณ  สมชาย กรุงเทพฯ “ ได้รับคำเชิญชวนจากเพื่อนให้เปิดบริษัทนายหน้าประกันวินาศภัย มีคำถามอยากทราบว่า ลูกจ้างของบริษัทที่จะทำหน้าที่ในการดำเนินการเพื่อรับประกันภัยนั้นต้องมีใบอนุญาตเป็นนายหน้าด้วยหรือไม่อย่างไร?”

                อ.ประสิทธิ์ : ก่อนอื่นต้องขออนุญาตนำข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาอธิบายความกันก่อนนะครับว่า บุคคลที่ถือว่าเป็นคนกลางในธุรกิจประกันภัยในอันจะดำเนินการจัดทำประกันภัยก็คือ ตัวแทน  และ นายหน้า   ซึ่งตาม ปพพ.มาตรา 845 นั้นหมายถึง  “บุคคลหรือ นิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาต ให้ประกอบธุรกิจบริการแก่สาธารณะ เพื่อชี้ช่องหรือจัดการให้ทำสัญญาประกันภัย ให้เป็นไปตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย”  หรือพูดภาษาง่ายๆก็คือบุคคล หรือนิติบุคคลที่ไม่ใช่บริษัทประกันภัย ที่ทำหน้าที่ในการขายประกันภัยและรับเบี้ยประกันภัย แทน บริษัทประกันภัยนั่นเองดังนั้นความเป็นตัวแทนหรือความเป็นนายหน้าในความหมายจึงคล้ายกันจะมี ความแตกต่างระหว่างการเป็นตัวแทน กับ การเป็นนายหน้าประกันภัยนั้น ก็มีเพียงเล็กน้อย คือ ตัวแทนหมายถึงคนที่ได้รับใบอนุญาตให้เป็นตัวแทนของบริษัทหนึ่งบริษัทใด โดยบุคคลนั้นจะทำหน้าที่ในการขายให้กับบริษัทนั้นๆเป็นการเฉพาะ ในขณะที่ บุคคลที่ทำหน้าที่เป็นนายหน้าประกันภัยนั้น สามารถเสนอขายและดำเนินการเพื่อรับประกันภัยแทนบริษัทประกันภัยได้หลายบริษัท โดยเฉพาะการเป็นนายหน้าประกันภัย นั้นจะมีอยู่ สองแบบคือ   1. การเป็นนายหน้า แบบบุคคล ซึ่งหมายถึงบุคคลทั่วไปที่มีใบอนุญาตเป็นหน้าหน้าประกันภัย และ 2. .การเป็นนายหน้าแบบนิติบุคคล  หมายถึง การประกอบธุรกิจเป็นบริษัทนายหน้าประกันภัย  ซึ่งจะเหมือนกันทั้งการประกันชีวิต และ การประกันวินาศภัย

             ทีนี้เรามาเข้าคำถามของคุณ สมชายครับที่ถามว่าการดำเนินการประกอบธุรกิจเป็นบริษัท นายหน้าประกันภัยนั้นจะมีข้อบังคับอย่างไรบ้าง..โดยผมอธิบายเป็นสามขั้นตอนดังนี้ครับ

             ขั้นตอนที่หนึ่ง : การขอจดทะเบียนบริษัทจำกัดนั้นก็เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์ว่าด้วยบริษัท
                          จำกัดทั่วไป
            ขั้นตอนที่สอง : การยื่นขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าที่นิติบุคคลกับทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและ
                          ส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ( แบบ นว.5 ) โดยต้องมีรายละเอียดอันเป็นสาระ
                          สำคัญดังนี้

             1.    บริษัทนั้นต้องมีวัตถุประสงค์ในการประกอบกิจการนายหน้าประกันวินาศภัย

             2.    ต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า สองล้านบาทโดยการชำระค่าหุ้นเต็มมูลค่า

             3.    กรรมการ 3  ในสี่ ต้องมีสัญชาติไทย และต้องมีใบอนุญาตนายหน้าประกันวินาศภัยไม่น้อยกว่า 5 คน

             4.    เอกสารประกอบการขอยื่นต้องยื่นขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าที่นิติบุคคลนั้นต้องครบสมบูรณ์ตามประกาศนายทะเบียน เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนใขในการออกใบอนุญาตให้นิติบุคคลเป็นนายหน้าประกันวินาศภัย

ขั้นตอนที่สาม : ต้องเปิดดำเนินการธุรกิจนายหน้าประกันวินาศภัยภายใน 2 เดือนหลังได้รับใบอนุญาตโดย
              การดำเนินการนั้นต้องปฏิบัตตามกฎหมายและข้อบังคับตลอดจนกฎระเบียบของ คปภ. ดังนี้
               1.    ต้องดำรงกองทุนไม่น้อยกว่า หนึ่งล้านบาทตลอดเวลาที่ได้รับใบอนุญาต
               2.    ต้องจัดทำสมุดทะเบียน และสมุดบัญชี และเอกสารเกี่ยวกับธุรกิจ
               3.    ต้องยื่นรายงานผลประกอบการธุรกิจต่อนายทะเบียนตามที่กำหนด
               4.    ต้องมีนายหน้าปฏิบัติงานประจำในสำนักงานนิติบุคคลนั้นไม่นอยกว่า 1 คนเพื่อให้บริการประชาชน
               5.    ต้องมีหนังสือมอบอำนาจจากบริษัทประกันภัยให้เป็นผู้สามารถดำเนินการเพื่อรับประกันภัยและรับค่าเบี้ยประกันภัยได้

               ดังนั้นจากคำถามของคุณสมชาย ที่ถามว่าพนักงานลูกจ้างของบริษัทนายหน้าประกันวินาศภัยจะต้องมีใบอนุญาตเป็นนายหน้าหรือไม่นั้น.. คำตอบจึงไม่จำเป็นครับเพราะว่าบริษัทนายหน้านั้นเป็นนิติบุคคลแล้ว การดำเนินการใดๆก็จะเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัทจำกัดทั่วไปคือลูกจ้างที่ทำการในทางที่จ้างตามที่นายจ้างมอบหมายให้กระทำการก็มีผลผูกพันกับนิติบุคคลนั้นแล้ว เพียงแต่สิ่งที่บริษัทนายหน้าจะต้องดำเนินการเพิ่มเติมในส่วนของการเสนอขายและรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยนั้นต้องให้ทางบริษัททำหนังสือมอบอำนาจให้กับพนักงานที่มีหน้าที่ในกการรับเงินค่าเบี้ยประกันภัยตาม พ.ร.บ.ประกันวินาศภัย มาตรา 66:    วรรคสองกำหนดว่า นายหน้าประกันวินาศภัยหรือพนักงานของบริษัทซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการรับเงิน อาจรับเบี้ยประกันภัยในนามของบริษัทได้เมื่อได้รับหนังสือมอบอำนาจจากบริษัทประกันภัยนั้น    ( หากฝ่าฝืนมีโทษ จำคุกไม่เกิน 2 ปี  ปรับไม่เกิน  200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ )และ มาตรา 66/2:    ที่กำหนดไว้ว่า นายหน้าประกันวินาศภัย หรือ พนักงานของบริษัทต้องแสดงหนังสือมอบอำนาจจากบริษัททุกครั้งที่มีการรับเบี้ยประกันภัยในนามของบริษัท นายหน้าประกันวินาศภัย หรือพนักงาน ของบริษัทภัยต้องออกเอกสารแสดงการรับเงินของบริษัททุกครั้งที่มีการรับเบี้ยประกันภัยในนามของบริษัท (ปรับไม่เกิน 30,000 บาท) และหากการกระทำดังกล่าวเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทหรือผู้เอาประกันภัย   ( โทษ จำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับไม่เกิน 30,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ) และนอกจากนี้แล้วคุณสมชายในฐานะเจ้าของกิจการเองก็ต้องกำหนดแนวทางปฏิบัติในการนำเสนอขายประกันภัยของพนักงานของท่านด้วยอีกทางหนึ่งเนื่องจากได้มีการกำหนดไว้ในกฎหมายว่าตัวแทนหรือนายหน้าประกันวินาศภัยต้องแสดงใบอนุญาตการเป็นตัวแทนหรือนายหน้าทุกครั้งที่มีการสเสนอขายประกันให้กับลูกค้าประชาชน คุณสมชายในฐานะเจ้าของกิจการก็ต้องแจ้งให้พนักงานต้องแจ้งและแสดงใบอนุญาตการเป็นนายหน้านิติบุคคลให้กับลูกค้าหรือประชาชนทุกครั้งเช่นกันไม่ว่าจะเป็นการเสนอขายในช่องทางหนึ่งช่องทางใดก็ตาม

             ดูเหมือนว่ารายละเอียดและเงื่อนไขจะมากทำให้เกิดความยุ่งยากหรือไม่... ก็ต้องขอเรียนกับคุณสมชาย และท่านผู้อ่านด้วยนะครับว่า อาชีพการเป็นตัวแทน หรือ นายหน้านั้น จำเป็นต้องเป็นบุคคลที่น่าเชื่อถืออย่างยิ่งที่ผ่านมานั้นค่อนข้างมีปัญหา การที่กฎหมายมีการกำหนดไว้ให้เป็นเช่นนี้นั้นก็เพื่อเป็นการยกระดับมาตรฐานทางวิชาชีพตัวแทน หรือ นายหน้าให้มีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้แล้วยังมีการกำหนดอีกครับว่าตัวแทนหรือนายหน้าประกันภัยจะต้องเข้ารับการอบรมทุกครั้งก่อนมีการต่ออายุใบอนุญาตเพื่อปลุกจิตสำนึกการให้บริการ อันเป็นการส่งเสริมจรรยาบรรณในอาชีพเพื่อให้ประชาชนได้รับความคุ้มครองและการบริการที่ดีจากธุรกิจประกันภัย หากมองในภาพรวมแล้วประชาชนทั่วไปย่อมได้ประโยชน์อย่างแน่นอน ...ครั้งหน้าเราจะมาพูดถึงเรื่องจรรยาบรรณของตัวแทน และ นายหน้าประกันวินาศภัยกันครับ...แล้วพบกัน..สวัสดีครับ.  ประสิทธิ์  คำเกิด                 


อ้างอิง : นสพ.เส้นทางนักขาย ปีที่ 7 ฉบับที่ 156 ปักษ์หลัง ประจำวันที่ 36-31 พฤษภาคม 2552
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
วิธีการใช้บัตรเครดิตอย่างปลอดภัย เทคนิคง่าย ๆ ที่ควรรู้
-http://hilight.kapook.com/view/86389-




เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          ในยุคปัจจุบันที่เน้นความสะดวกสบายในการจับจ่ายซื้อสินค้าและบริการ การใช้บัตรเครดิตถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้ผู้บริโภคไม่ต้องพกเงินสดจำนวนมาก และยังเป็นการแบ่งเบาภาระสำหรับผู้ที่ไม่มีเงินก้อน แต่ต้องการซื้อสินค้าราคาค่อนข้างสูง รวมทั้งสามารถใช้บัตรเครดิตถอนเงินสดจากตู้ ATM ได้อีกด้วย แน่นอนว่า การที่สามารถใช้บัตรรูดซื้อสินค้าหรือบริการ รวมทั้งกดเงินสดได้อย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องกังวลเรื่องเงินที่มีอยู่ในบัญชี แม้จะเป็นข้อดีสำหรับผู้ใช้บัตร แต่ถือเป็นข้อเสียที่ให้เสี่ยงต่อการตกเป็นเป้าหมายของอาชญากรได้เช่นกัน

          ทั้งนี้ เพื่อให้เราสามารถใช้บัตรเครดิตได้อย่างสบายใจหายห่วง วันนี้เราจึงนำวิธีการใช้บัตรเครดิตอย่างปลอดภัยมาฝาก ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้

          1. ลงลายมือชื่อเจ้าของบัตรทันทีที่ได้รับบัตรใหม่

          2. เก็บรักษาบัตรไว้ในที่ปลอดภัย

          3. ไม่ควรเขียนหรือเก็บรหัสไว้รวมกับบัตร

          4. หากเป็นไปได้ ควรให้บัตรอยู่ในสายตาตลอดเวลาในขณะที่ร้านค้ากำลังดำเนินการขออนุมัติวงเงิน

          5. ต้องตรวจสอบหมายเลขบัตร ชื่อผู้ถือบัตร และยอดเงินในเซลส์สลิปว่าถูกต้องหรือไม่ก่อนลงลายมือชื่อ

          6. ตรวจดูให้แน่ใจว่าได้รับบัตรคืนหลังการใช้ทุกครั้ง และบัตรที่ร้านค้าคืนมาต้องไม่สลับกับบัตรของผู้อื่น

          7. พึงระวังว่าร้านค้ารูดบัตรเพียงครั้งเดียวต่อการทำรายการซื้อขายหนึ่งครั้ง หากมีการรูดบัตรเกินควรสอบถามและขอทำลายใบเสร็จ ที่บันทึกข้อมูลผิดหรือรายการที่ยกเลิกแล้ว

          8. ตรวจสอบใบเรียกเก็บเงินประจำเดือนกับใบเสร็จที่มี หากมีรายการเรียกเก็บเงินใดที่ไม่ถูกต้องให้แจ้งผู้ออกบัตรทันที

          9. หากไม่ได้รับใบเรียกเก็บเงินประจำเดือนตรงตามเวลา ให้สอบถามไปยังผู้ออกบัตรถึงสาเหตุที่ล่าช้า

          10. ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด อย่าเซ็นชื่อลงในใบบันทึกรายการที่ยังมิได้เขียนจำนวนเงิน

          11. อย่าแจ้งรหัสส่วนตัวที่ใช้บัตรเครดิตเบิกถอนเงินจากเครื่อง ATM ให้คนอื่นทราบอย่างเด็ดขาด

          12. ไม่ควรเปิดเผยข้อมูล ส่วนตัวใด ๆ ของท่านกับใครขณะใช้บัตรเครดิต และแสดงบัตรประชาชนหรือเอกสารอื่น ๆ เมื่อท่านเห็นสมควรว่าจำเป็นเท่านั้น

          13. ในการตั้งรหัสบัตรเพื่อกดเงินสด พยายามเลือกรหัสที่ท่านสามารถจำได้ง่าย แต่ไม่ควรใช้ตัวเลขที่ผู้อื่นอาจเดาได้ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ วันเกิด ทะเบียนรถ เป็นต้น

          14. หากรู้สึกว่าพนักงานขายทางโทรศัพท์คะยั้นคะยอขอหมายเลขบัตรเครดิตของท่าน ให้สงสัยไว้ก่อนและปฏิเสธไป

          15. อย่าวางบัตรไว้ใกล้แหล่งที่เป็นแม่เหล็ก เพราะแถบแม่เหล็กด้านหลังบัตรจะได้รับความเสียหาย ทำให้เครื่องไม่สามารถอ่านข้อมูลจากบัตรได้

          16. หากบัตรของท่านติดอยู่ในเครื่อง ATM ควรระวังผู้ที่แสดงความหวังดีเข้ามาช่วยเหลือ เพราะผู้ที่มาช่วยอาจแฝงด้วยเจตนาที่ไม่ดีและอาจใช้วิธีการต่าง ๆ เพื่อล่วงรู้รหัสบัตรของท่าน แล้วอาจนำบัตรของท่านที่ค้างอยู่ในตู้ ATM มากดถอนเงินในภายหลัง

          17. จดจำหมายเลขบัตรและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ออกบัตร เพื่อติดต่อสถาบันผู้ออกบัตรได้ทันทีในกรณีบัตรสูญหาย ถูกขโมย หรือสอบถามข้อสงสัย ตลอดจนเมื่อมีปัญหาจากการใช้บัตร

          สำหรับใครที่ใช้บัตรเครดิตค่อนข้างบ่อย คงต้องหัดทำตัวเป็นคนช่างสังเกตมากขึ้น เพราะไม่อาจรู้ได้เลยว่า เหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดจะเกิดขึ้นเมื่อใด ซึ่งการปฏิบัติตามวิธีในข้างต้นนี้ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่บัตรเครดิตของเราจะถูกลักลอบนำไปใช้หรือโดนปลอมแปลงได้


หมายเหตุ : แก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อเวลา 14.10 น. วันที่ 27 พฤษภาคม 2556


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
bfiia.org, bot.or.th

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ไฮโซแจ้งจับสองผัวเมียตุ๋นเงินแชร์ลูกโซ๋สูญ 100 ล้าน
โดย ทีมข่าวอาชญากรรม    10 มิถุนายน 2556 17:12 น.
-http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9560000069867-



กลุ่มผู้เสียหายนับสิบรายพร้อมทนายความแจ้งความกองปราบฯ ถูกสองสามีภรรยานักธุรกิจอสังหาฯ หลอกเงินไปลงทุนทำแชร์ลูกโซ๋รวมลงทุนทำธุรกิจ มูลค่ากว่า 100 ล้าน ก่อนเชิดเงินหนีตามระเบียบ
       
       วันนี้ (10 มิ.ย.) ที่กองปราบปราม เมื่อเวลา 13.30 น. นางณัฎฐ์รดา อมรสินสถิตย์ อายุ 35 ปี ที่ปรึกษาด้านการเงิน บริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง และกลุ่มผู้เสียหายซึ่งเป็นบรรดานักธุรกิจ รวม 14 ราย พร้อมด้วยทนายความ เดินทางเข้าพบ พล.ต.ต.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ ผบก.ป.เพื่อแจ้งความดำเนินคดีต่อนายวชิระ พูลเพิ่ม อายุ 34 ปี นักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ และนางพิมลพรรณ พูลเพิ่ม อายุ 32 ปี เจ้าของธุรกิจร้านหนังสือ สองสามีภรรยา หลังจากถูกทั้งสอง หลอกลวงให้นำเงินไปร่วมลงทุนทำธุรกิจหลายประเภท เช่น ร้านจำหน่ายแผ่นซีดี ธุรกิจคาร์แคร์ รวมทั้งธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 75 ล้านบาท
       
       นางณัฎฐ์รดากล่าวว่า รู้จักกับนางพิมลพรรณมาเป็นเวลากว่า 10 ปี เนื่องจากเคยเรียนมาด้วยกัน กระทั่งเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมานางพิมลพรรณได้ชักชวนให้ร่วมลงทุนทำธุรกิจร้านจำหน่ายแผ่นซีดี โดยวางโครงการต่างๆ ไว้เรียบร้อยแล้ว รวมทั้งด้านการบริหารงาน ซึ่งตนเพียงแต่นำเงินมาลงทุนด้วยเท่านั้นก็จะได้รับผลตอบแทน 10% จากเงินที่นำมาลงทุน โดยครั้งแรกเมื่อปี 2554 ตนได้นำเงินจำนวนหนึ่งมาลงทุนก็ได้รับเงินปันผลตอบแทนจริง จึงติดต่อกับลูกค้าบริษัทที่ตนทำงานอยู่ให้ร่วมนำเงินมาลงทุนธุรกิจดังกล่าว รวมเป็นเงิน 48 ล้านบาท ซึ่งระยะแรกก็ยังได้รับเงินตอบแทนเป็นรายเดือน แต่หลังจากนั้นก็เริ่มไม่ได้รับเงิน
       
       นางณัฏฐ์รดากล่าวต่อว่า เมื่อเริ่มผิดสังเกตว่าไม่มีการจ่ายเงินปันผลตอบแทนมาให้ ตนจึงพยายามติดต่อกับนางพิมลพรรณ แต่ก็ไม่สามารถติดต่อได้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้โทรศัพท์ไปก็จะรับสายตลอด รวมทั้งติดต่อผ่านทางแอปพลิเคชันสมาร์ทโฟนด้วย นอกจากนี้ ตนมาทราบภายหลังว่า นางพิมลพรรณกับสามียังหลอกลวงผู้เสียหายอีกหลายรายให้ร่วมลงทุนในธุรกิจคาร์แคร์ ซึ่งอ้างว่ามีโครงการที่ได้จัดซื้อที่ดินไว้แล้ว หรือจะเป็นโครงการเปิดร้านหนังสือ ร้านอาหาร ฯลฯ ซึ่งบางรายนางพิมลพรรณ เคยพาไปดูธุรกิจที่เปิดในห้างสรรพสินค้าชื่อดังย่านลาดพร้าว ทำให้ผู้เสียหายยิ่งหลงเชื่อว่าไม่น่าจะถูกหลอกลวง
       
       “หลังจากตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ก็พบว่านางพิมลพรรณกับสามีจะหลอกให้ผู้เสียหายโอนเงินเข้าไปยังบัญชีธนาคารกสิกรไทย สาขาสุขุมวิท 6 และมีการโอนเงินที่อ้างว่าเป็นปันผลผ่านบัญชีธนาคารของผู้เสียหายแต่ละราย โดยพบว่าน่าจะมีผู้เสียหายอีกหลายสิบรายที่ยังไม่ได้เข้าแจ้งความดำเนินคดี รวมมูลค่าความเสียหายกว่า 100 ล้านบาท” นางณัฏฐ์รดากล่าว
       
       ด้าน พล.ต.ต.สุพิศาลกล่าวว่า กรณีที่เกิดขึ้นมีลักษณะคล้ายกับแชร์ลูกโซ่ ซึ่งมีการหลอกลวงให้ผู้เสียหายนำเงินมาร่วมลงทุนทำธุรกิจ และมีการบอกต่อๆ กัน มีการนำเงินจากผู้เสียหายรายหนึ่งไปจ่ายให้กับอีกราย สลับกันไปมา จนที่สุดอาจประสบปัญหาหมุนเงินไม่ทันจึงติดค้างการจ่ายเงินคืนให้ผู้เสียหาย เบื้องต้นได้มอบหมายให้ พ.ต.ท.ณัฐปกรณ์ ปัญญาดี พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ กก.1 บก.ป.สอบปากคำผู้เสียหายและรวบรวมพยานหลักฐานต่างๆ ก่อนจะพิจารณาออกหมายเรียกบุคคลทั้งสองเข้าให้ปากคำต่อพนักงานสอบสวนต่อไป
       
       ผบก.ป.กล่าวต่อว่า การกระทำดังกล่าวเข้าข่ายความผิดฐาน ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน ส่วนกรณีการตรวจสอบบัญชีธนาคารและเส้นทางการเงินก็จะประสานธนาคารเจ้าของบัญชีในการตรวจสอบ และหากมีการยักย้ายเงิน หรือการกระทำที่เข้าข่ายความผิดฐานฟอกเงินก็จะส่งเรื่องให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ดำเนินการต่อไป


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)