ผู้เขียน หัวข้อ: ระวังถูกหลอกและเรื่องเกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ ของใกล้ตัว  (อ่าน 68959 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 4 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
อีกแล้ว!! เตือนภัย ลูกค้าธนาคาร แม้ไม่ได้เปิด e-Banking ก็โดนขโมยเงินได้!

ขอบคุณที่มา:  -www.it24hrs.com-

-http://hitech.sanook.com/1388218/%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B9%89%E0%B8%A7-%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2-%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3-%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94-e-banking-%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B9%80/-


จากเหตุการณ์ เตือนภัย Internet Banking รูปแบบใหม่!! ปลอมเป็นคุณ ด้วยหลักฐานปลอม สวมรอยโอนเงินออก สูญหลายแสน! ที่ เคยนำเสนอมาแล้ว….มาคราวนี้ ได้รับข้อมูลใหม่ จากผู้เสียหายอีกท่าน ที่ใช้บริการบัญชีออมทรัพย์ธนาคารเดี่ยวกันกับเคสที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ แต่ คราวนี้ หนักกว่าเดิม! เพราะผู้เสียหายรายนี้ ไม่เคยมีบัญชี Internet Banking ด้วยซ้ำ! แต่โดนคนร้ายสวมรอยใช้เอกสารปลอม เปิดบัญชีใหม่แบงค์เดียวกัน แต่ต่างสาขา และคนร้ายก็ไปจัดการเปิดใช้ internet banking เอง ขโมยเงินเจ้าของบัญชีตัวจริงไป รวมกว่า 5 แสนบาท!!!


iT24Hrs เตือนภัย แม้ไม่มี e-banking ก็โดนขโมยโอนเงินได้ 20aug13
-http://www.youtube.com/watch?v=WCC74uxJTyo-

iT24Hrs เตือนภัย แม้ไม่มี e-banking ก็โดนขโมยโอนเงินได้ 20aug13
iT24Hrs เตือนภัย แม้ไม่มี e-banking ก็โดนขโมยโอนเงินได้ 20aug13


คุณเอ ไชยเดช ศิริวัฒนกุล ผู้เสียหายจากเหตุการณ์นี้ ได้ แจ้งความที่ สน.หาดใหญ่ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม หลังพบว่าบัญชีของตัวเองเงินหายไปกว่า 560,000 บาท ซึ่งทางผู้เสียหายได้ไปตรวจสอบกับธนาคารแห่งดังกล่าวสาขาใน อ.หาดใหญ่ ซึ่งเป็นสาขาที่เจ้าของบัญชีตัวจริงเปิดไว้   ใน ชื่อบัญชี ธนัท ศิริวัฒนกุล  (ซึ่งเป็นชื่อเก่าของเจ้าของบัญชี  ก่อนที่เปลี่ยนชื่อเป็น คุณชยเดช [ เมื่อ 14 มิย. 53 ] และเปลี่ยนชื่อเป็นคุณ ไชยเดช [เมื่อ 17 มิย. 53])



พบ ว่ามีคนร้ายไปสวมรอยเปิดบัญชีใหม่และเปิดบริการธนาคารบนอินเตอร์เน็ต (internet bangking) เมื่อวันทื่ 30 เมษายน  โดยเปิดที่ธนาคารเดียวกัน แต่คนร้ายไปเปิดที่สาขา กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร  โดยหลักฐานการเปิดบัญชีนั้น คน ร้ายใช้เอกสารปลอมโดยยื่นบัตรข้าราชการ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่กรมราชทัณฑ์ระดับ 7 อ.หาดใหญ่ ที่ระบุชื่อ นาย ชยเดช ศิริวัฒนกุล ให้กับเจ้าหน้าที่ธนาคาร   ซึ่งความจริงแล้วเจ้าของบัญชีตัวจริง คุณชยเดช  ศิริวัฒนกุล ไม่ได้รับราชการเลย     และเปลี่ยนชื่อจาก ชยเดช เป็น ไชยเดช เมื่อ 17 มิย 53     จากที่ทีมงานสัมภาษณ์ผู้เสียหาย เค้าให้สัมภาษณ์ว่า  คาดว่าคนร้ายทราบชื่อข้อมูลเราเป็น ชยเดช เลยทำบัตรราชการปลอมเป็นชื่อ ชยเดช ไว้ไปเปิดบัญชีธนาคาร

จากนั้นคนร้ายก็ขอเปิดใช้บริการ internet banking ด้วย! ซึ่งแน่นอนว่า เมื่อคนร้ายเป็นคนเปิดใช้บริการ internet banking เอง… username และ password จึงเป็นสิ่งที่คนร้ายทราบแน่นอน เพราะเป็นคนเลือกเอง! ส่วนเบอร์มือถือสำหรับรับรหัส OTP (One time password) ที่ธนาคารจะส่งมาเข้ามือถือ ผ่านทาง SMS เพื่อให้รหัสอีกชั้นหนึ่งเวลามีการทำธุรกรรมการเงินผ่าน internet banking ก็ใช้เบอร์มือถือของคนร้าย (เพราะคนร้ายเป็นคนแจ้งเบอร์เอง)…



คราวนี้คนร้ายเข้า Login ผ่านทาง Internet Banking แล้วสั่งโอนเงินออกจากบัญชีไปได้อย่างสบายๆ เพราะได้ครบทั้ง username, password, OTP โดยขโมยเงินจากเจ้าของบัญชีตัวจริง ครั้งละ 100,000 บาท จำนวน 5 ครั้ง หลังจากนั้นคนร้ายก็สั่งโอนเงิน ขโมยอีกประมาณ 67,000 และยังสั่งโอนเงินทีละน้อยๆ   โดยที่เจ้าของบัญชีตัวจริงไม่รู้ตัว จนกระทั่ง มารู้ตัวว่าโดนขโมย เมื่อวันที่ 16พฤษภาคม  2556 และไปแจ้งความ ที่ สน.หาดใหญ่ และตอนนี้อยู่ในระหว่างตามจับคนร้าย



จะเห็นได้ว่าคนร้ายได้พยายามใช้ช่องทางใหม่ที่ไม่ใช่การขโมยเงิน แบบเก่าๆแล้ว จะใช้วิธีสวมรอยเป็นคุณ ขโมยเงิน เป็นวิธีที่โจรเลือกใช้ที่ฮิตและแนบเนียนมากขึ้น …. ลูกค้าที่ใช้บริการธนาคารต้องหมั่นตรวจสอบบัญชี และระมัดระวังในเรื่องหลักฐานส่วนตัวต่างๆ เช่นบัตรประชาชน  เป็นต้น และทางธนาคารเองต้องตรวจเฉพาะบัตรประชาชนตัวจริงเท่านั้น ไม่ใช่บัตรข้าราชการซึ่งสามารถปลอมแปลงได้ง่าย

“ในเมื่อกรณีแบบนี้ ก็จะเห็นได้ว่าลูกค้าไม่อาจจะป้องกันตนเองได้เลย แถมเกิดขึ้นกับใครก็ได้ แม้ไม่มีบัญชี e-banking …. คุณคิดว่า ธนาคาร ควรปรับปรุงระบบไหม? ”



กรณีนี้  ธนาคารต้องรับผิดชอบ และ ผู้เสียหาย หากเกิดความเสียหายเนื่องจากเงินที่ต้องนำไปใช้ หรือ ดอกเบี้ยที่ควรได้  ธนาคารต้องรับผิดชอบ

เนื่องจากความผิด เกิดจากความผิดพลาดการปฎิบัติงานของธนาคารเอง



.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เตือนแก๊งคอลเซ็นเตอร์ปลอมเป็นเลขาฯปปง.หลอกโอนเงิน


-http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1390904169&grpid=&catid=19&subcatid=1905-


เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (เลขาธิการ ปปง.) เปิดเผยว่า มีประชาชนจำนวนมากได้ร้องเรียนผ่านศูนย์รับเรื่องราว ร้องทุกข์ แจ้งเบาะแส สายด่วน ปปง. 1710 มีมิจฉาชีพแอบอ้างเป็นเลขาธิการ ปปง. แจ้งผู้เสียหายว่ามีผู้แอบอ้างนำบัญชีเงินฝากของผู้เสียหายไปใช้ในการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งผู้เสียหายจะต้องถูกดำเนินการยึดอายัดทรัพย์สิน โดยสำนักงาน ปปง.จะต้องตรวจสอบเงินในบัญชี หากต้องการ “พิสูจน์ตนเอง” และต้องการ “ช่วยราชการ” ในการจัดการทางกฎหมายกับผู้แอบอ้างที่นำบัญชีของผู้เสียหายไปใช้กระทำความผิด ผู้เสียหายต้องโอนเงินผ่านเครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ (เอทีเอ็ม) หรือโอนผ่านเครื่องรับฝากเงินสดอัตโนมัติ (ซีดีเอ็ม) เพื่อตรวจพิสูจน์ สารเสพติด และเมื่อตรวจสอบเรียบร้อยจะโอนเงินคืนกลับไปยังบัญชีผู้เสียหายในภายหลัง เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อและโอนเงินไปเรียบร้อยแล้ว ผู้เสียหายจะไม่สามารถติดต่อมิจฉาชีพทางโทรศัพท์ได้อีก


พ.ต.อ.สีหนาทกล่าวต่อว่า ล่าสุด ปลายปี 2556 มีผู้เสียหาย 2 ราย อายุประมาณ 40-45 ปี ขอปกปิดนาม ถูกหลอกลวงด้วยวิธีการดังกล่าว หลงเชื่อจึงโอนเงินไปให้มิจฉาชีพ ครั้งละ 300,000-700,000 บาท รวมถึงการถูกหลอกลวงให้ไปกู้เงินมาเพิ่มอีกด้วย รวมมูลค่าที่โอนเงินไปกว่า 5,000,000 บาท โดยมิจฉาชีพจะสร้างสถานการณ์อย่างเป็นระบบ เป็นขั้นตอน และน่าเชื่อถือ ดังต่อไปนี้ เริ่มจากโทรศัพท์มาพูดคุยกับผู้เสียหายเป็นระยะเวลานานอย่างต่อเนื่อง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เสียหายว่าเป็นเลขาธิการ ปปง.จริง แสดงความจริงใจและต้องการจะช่วยเหลือผู้เสียหายเพื่อ “พิสูจน์ตนเอง” และเพื่อให้ผู้เสียหายได้ “ช่วยราชการ” ของสำนักงาน ปปง. ในการปราบปรามผู้กระทำความผิด โดยมิจฉาชีพจะใช้วิธีการเดียวกันนี้หลอกลวงผู้เสียหายอีกหลายราย ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด


เมื่อผู้เสียหายรายใดที่หลงเชื่อ มิจฉาชีพจะสร้างสถานการณ์ต่างให้ดูน่าเชื่อถือ ด้วยการกล่าวอ้างกับผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายมิได้ถูกแอบอ้างนำบัญชีไปใช้กระทำความผิดเพียงคนเดียว ยังมีผู้เสียหายรายอื่นที่ต้องการ “พิสูจน์ตนเอง” และ “ช่วยราชการ” เช่นกัน พร้อมเชื่อมสัญญาณโทรศัพท์ให้เป็นแบบคุย 3 สาย เพื่อให้ผู้เสียหายที่หลงเชื่อมาพูดคุยและปรึกษาหารือกัน โดยมีมิจฉาชีพที่แอบอ้างเป็นเลขาธิการ ปปง. ร่วมพูดคุยด้วย จนสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้เสียหายว่าไม่ได้ถูกหลอกลวง เมื่อผู้เสียหายหลงเชื่อ และต้องการ “พิสูจน์ตนเอง” และ “ช่วยราชการ” ของสำนักงาน ปปง. มิจฉาชีพจะหลอกลวงให้ผู้เสียหายโอนเงินผ่านตู้เอทีเอ็มหรือเครื่องรับฝากเงินสด และกำชับให้ทำลายสลิปการโอนเงินทุกครั้ง


พ.ต.อ.สีหนาทกล่าวอีกว่า เมื่อผู้เสียหายโอนเงินไปให้มิจฉาชีพระยะหนึ่งแล้ว มิจฉาชีพเหล่านั้นจะสร้างสถานการณ์ให้เกิดความน่าเชื่อถือให้กับผู้เสียหายด้วยการโอนเงินจำนวนหนึ่งคืนกลับมาให้ผู้เสียหาย เพื่อเป็นการแสดงความจริงใจและแสดงความเป็นห่วง ถ้าผู้เสียหายต้องการนำเงินไปใช้ทำธุรกรรมประเภทต่างๆ เช่น จ่ายค่าบ้าน จ่ายค่าบัตรเครดิต จ่ายค่าผ่อนงวดรถยนต์ เป็นต้น ขณะที่พูดคุยมิจฉาชีพจะข่มขู่ผู้เสียหายให้เกิดความกลัว และไม่ให้ผู้เสียหายติดต่อหรือสอบถามเรื่องใดๆ มายังสำนักงาน ปปง. เพราะอาจเป็นอันตราย ประกอบกับอ้างว่าสำนักงาน ปปง.ทำงานเชิงลับมาก ผู้เสียหายจึงไม่กล้าติดต่อหรือสอบถามรายละเอียดใดๆ จากสำนักงาน ปปง.

 

พ.ต.อ.สีหนาทกล่าวว่า เมื่อผู้เสียหายโอนเงินให้กับมิจฉาชีพจนหมดบัญชีเงินฝากแล้ว มิจฉาชีพจะโน้มน้าวให้ผู้เสียหายแสวงหาเงินจากแหล่งอื่นๆ เช่น การจำนองบ้าน รถ ที่ดิน หรือจำนำทรัพย์สิน เพื่อนำเงินทั้งหมดมา “พิสูจน์ตนเอง” และ “ช่วยราชการ” ของสำนักงาน ปปง. และหากผู้เสียหายเป็นข้าราชการ มิจฉาชีพก็จะโน้มน้าวให้กู้เงินสหกรณ์ ออมทรัพย์ สินเชื่อธนวัฏ กองทุนต่างๆ ของข้าราชการ เป็นต้น โดยให้เหตุผลว่ามีมิจฉาชีพซึ่งทำงานที่ธนาคารพยายามใช้เอกสารปลอมของผู้เสียหายทำเรื่องกู้เงินที่ธนาคารหรือสหกรณ์นั้นๆ จึงแนะนำให้ผู้เสียหายทำการกู้เงินตัดหน้า ก่อนที่จะถูกมิจฉาชีพที่ปลอมเอกสารนำเงินของผู้เสียหายไป

 

เลขาธิการ ปปง.กล่าวเพิ่มเติมว่า จากรูปแบบและวิธีการหลอกลวงของมิจฉาชีพดังกล่าวจะมีความซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้น หากมีผู้แอบอ้างว่าเป็นเลขาธิการ ปปง. แล้วอ้างว่ามีการใช้บัญชีของผู้เสียหายในการฟอกเงิน ต้องถูกออกหมายจับกุม ถูกอายัดเงินในบัญชี ขอให้ประชาชนให้ระมัดระวังอย่าหลงเชื่อ เนื่องจากไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เพราะหลักการปฏิบัติตามข้อเท็จจริงหน่วยราชการจะดำเนินการใดๆ ก็ตามจะต้องมีหนังสือแจ้งให้ไปพบ ณ สถานที่ราชการ ในวัน เวลา ราชการเท่านั้น และหากผู้เสียหายได้มีการโอนเงินไปยังบัญชีของมิจฉาชีพแล้ว ห้ามทำลายสลิปการโอนเงินหรือห้ามฉีกโดยเด็ดขาดให้เก็บไว้เป็นหลักฐานและส่งสำนักงาน ปปง. โดยด่วน เพื่อจะได้ติดตามร่องรอยบัญชีการโอนเงินซึ่งสำนักงาน ปปง.สามารถทำการระงับการโอนเงินในบัญชีดังกล่าวคืนให้กับผู้เสียหายได้

 

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและรู้เท่าทันมิจฉาชีพเหล่านี้ ขอให้ประชาชนทุกคนตั้งสติ เตือนตนอย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพโดยเด็ดขาด ควรวางโทรศัพท์ทันที ไม่ควรพูดหรือเจรจาเพราะมิจฉาชีพจะมีวิธีพูดให้เหยื่อกลัว และไม่กล้าวางสาย ขอให้ประชาชนอย่าหลงเชื่อหากมีข้อสงสัยให้เปิดเว็บไซต์ของสำนักงาน ปปง. ที่ www.amlo.go.th หรือโทรสายด่วน ปปง. 1710 เพื่อสอบถามข้อมูลโดยตรง ซึ่งบนเว็บไซต์ของสำนักงาน ปปง. จะมีการแจ้งเตือนประชาชนกรณีดังกล่าวด้วย ส่วนการติดตามคนร้าย ปปง.จะนำสลิปโอนเงินของผู้เสียหายไปตรวจสอบเส้นทางการเงินต่อไปโดยเชื่อว่าคนร้ายน่าจะถอนเงินออกไปทันที

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
สุดช็อก ค่าโทรศัพท์สูงลิบ 1.4 ล้าน เหตุเปิดโรมมิ่ง แต่ไปประเทศที่ไม่มีโรมมิ่ง

-http://hilight.kapook.com/view/99305-



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
 
           เป็นเรื่องเป็นราวอีกแล้ว..สำหรับการใช้บริการโทรศัพท์มือถือในต่างประเทศ รวมถึงแพ็กเกจอินเทอร์เน็ต ที่ล่าสุดลูกค้า DTAC ซึ่งเดินทางไปยังประเทศซาอุดีอาระเบีย ได้ใช้เปิดการใช้โรมมิ่งโทรข้ามประเทศแบบปกติ แต่กลับบ้านมาเปิดบิลค่าใช้จ่าย ถึงกับช็อก ! เพราะค่าบริการสูงเกือบถึง 1.4 ล้านบาท เลยทีเดียว

          โดย คุณพีรพล อนุตรโสตถิ์ ผู้สื่อข่าวสำนักข่าวไทย ได้รายงานผ่านทวิตเตอร์ @yoware เกี่ยวกับกิจกรรมวันสิทธิผู้บริโภคสากล ที่จัดขึ้น ณ โรงแรมเซ็นจูรี่ กทม. ในวันนี้ (14 มีนาคม 2557) ว่า..  ในงานดังกล่าวได้ระบุถึงปัญหาโรมมิ่งอินเทอร์เน็ตรั่ว โดยผู้ใช้หลายคนไม่ทราบว่าต้องเสียอะไรอย่างไร และไม่รู้ว่าค่าใช้จ่ายแพง อีกทั้งยังไม่รู้ว่าจะปิดอย่างไร

           หลังจากนั้น คุณจันทรดี เผยว่า ใช้บริการ DTAC เดินทางไปยังประเทศซาอุดีอาระเบีย และได้เปิดแพ็กเกจเน็ต โดยไม่รู้ว่าประเทศซาอุฯ ไม่อยู่ในแพ็กเกจดังกล่าว เมื่อเปิดซองบิลก็ถึงกับตกใจ เพราะค่าบริการสูงถึง 1,390,794.40 บาทเลยทีเดียว (บิลออกเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2556) ซึ่งหลังจากที่เจอบิลค่าใช้บริการสูงลิบ ทางผู้ใช้ก็ได้ไกล่เกลี่ย แต่ทาง DTAC ก็ยังเกลี้ยกล่อมให้จ่ายถึง 5 แสนบาท ผ่อนเดือนละ 4,000 บาท นานถึง 10 ปี ทางผู้ใช้เลยตัดสินใจสู้คดีดังกล่าว...



ภาพประกอบจาก ทวิตเตอร์ @yoware

           รายงานระบุด้วยว่า โดยชาวเน็ตส่วนมากแนะนำให้ทางค่ายมือถือควรกำหนดเพดานโรมมิ่งตามที่ผู้ใช้ต้องการ และมีการเตือนหรือตัดการให้บริการหากมีการใช้ถึงเพดานดังกล่าวแล้ว จะได้ไม่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ รวมไปถึงควรจะแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บริการดังกล่าวอย่างละเอียด

           อย่างไรก็ดี กรณีลักษณะนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งเนื่องจากผู้ใช้ไม่ทราบเงื่อนไขและไม่เข้าใจถึงการใช้บริการดังกล่าว ซึ่งได้มีผู้ตั้งกระทู้ร้องเรียนอยู่เป็นประจำ โดยเคสล่าสุดคือกรณีของ คุณ Forsd ที่ตั้งกระทู้ในเว็บไซต์พันทิปดอทคอม โดยระบุว่า พี่สาวเดินทางไปฮ่องกง และใช้บริการโรมมิ่งของ DTAC ซึ่งใช้งานไป 3 วัน ค่าบริการสูงถึง 2 ล้านบาท เลยทีเดียว...




คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เผยเคล็ดไม่ลับ 9 ข้อ สกัดภัยร้ายการเงิน


-http://money.sanook.com/178354/%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%9A-9-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD-%E0%B8%AA%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%A0%E0%B8%B1%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99/-

-http://www.prachachat.net/index.php-

แคสเปอร์สกี้ แลป พร้อมปกป้องคุ้มครองเงินในบัญชีธนาคารของคุณ ด้วยเคล็ดไม่ลับสำหรับปกป้องบัตรธนาคาร ทั้งบัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินสด ให้รอดพ้นเงื้อมมือมิจฉาชีพที่จ้องฉกเงินคุณทุกวิธีทาง


1.เก็บข้อมูลบัตรธนาคารเป็นความลับ

จำไว้เสมอว่า เพียงแค่มีข้อมูลไม่กี่อย่างเกี่ยวกับบัตรธนาคาร (บัตรเอทีเอ็ม บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรกดเงินสด) ไม่ว่าจะเป็นหมายเลขหน้าบัตร หรือรหัสตรวจสอบ มิจฉาชีพก็สามารถขโมยเงินในบัญชีคุณได้แล้ว

 

2.เก็บรหัส CVV เป็นความลับขั้นสุดยอด

รหัส CVV คือรหัส 3 หลัก อยู่ด้านหลังบัตรธนาคาร ใช้สำหรับตรวจสอบขั้นสุดท้ายในการทำธุรกรรม มิจฉาชีพอาจแอบจดหรือถ่ายรูปบัตรธนาคารของคุณไว้ได้ เวลาที่คุณจับจ่ายใช้สอยผ่านบัตรหรือถอนเงินที่ตู้เอทีเอ็ม คุณควรป้องกันโดยลบรหัส CVV ออกหรือหาเทปกาวมาปิดทับ ทั้งนี้ การแก้ไขเปลี่ยนแปลงบัตรไม่ใช่เรื่องที่ธนาคารจะแนะนำ แต่เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะป้องกันคุณจากมิจฉาชีพได้

 

3.อย่าเผลอถ่ายรูปบัตรธนาคาร

อย่าซุกซนถ่ายรูปบัตรธนาคารเก็บไว้ หรือโพสต์ไว้ในโซเชียลมีเดียต่างๆ เพราะเท่ากับเป็นการประกาศข้อมูลลับให้ผู้ไม่หวังดี

 

4.เก็บรักษาบัตรไว้ในที่ปลอดภัย

บัตรพลาสติกเล็กๆ ใบนี้ ควรได้รับการดูแลป้องกันอย่างดี ควรฝึกนิสัยการเก็บบัตรลงกระเป๋าสตางค์ทุกครั้งหลังใช้งาน จะช่วยลดปัญหาหลงลืมบัตรและบัตรหายได้ ไม่ควรเก็บบัตรไว้ใกล้ๆ กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หรือเครื่องใช้ที่มีสนามแม่เหล็ก เพราะอาจจะลบข้อมูลในบัตรได้

 

5.หลอกหัวขโมย

การหลอกหัวขโมยก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยปกป้องบัตรธนาคารของคุณได้เพียงเขียนรหัสปลอม (ย้ำ! รหัสปลอมที่ตั้งขึ้นใหม่) จำนวน 3 ชุดลงในเศษกระดาษและเก็บไว้ในกระเป๋าสตางค์ เมื่อเจ้าหัวขโมยเจอรหัสนี้ ก็จะนำไปลองกดที่ตู้เอทีเอ็มทันที เมื่อกดรหัสผิด 3 ครั้ง บัตรของคุณจะถูกระงับทันที ไม่สามารถถอนเงินได้อีก การทำบัตรใหม่ก็ไม่ยุ่งยาก เท่านี้คุณก็จะรักษาเงินในบัญชีได้ครบทุกบาททุกสตางค์

 

6.จดบันทึกหมายเลขโทรศัพท์ธนาคาร

ควรจดหมายเลขโทรศัพท์ธนาคารไว้ใกล้ตัว หรือบันทึกไว้ในโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต หากเกิดกรณีฉุกเฉิน จะได้สามารถติดต่อธนาคารเพื่ออายัติบัตรได้ทันท่วงที

 

7.ตั้งค่าการรักษาความปลอดภัย 2 ชั้น

การตั้งค่า 2 ชั้นอาจทำให้ธุรกรรมออนไลน์ช้าลงกว่าเดิมเพียงเล็กน้อย แต่จะช่วยป้องกันการเบิกถอนหรือจ่ายเงินโดยมิจฉาชีพได้

 

8.ตรวจสอบตู้เอทีเอ็มก่อนใช้งานทุกครั้ง

ก่อนเสียบบัตรเข้าเครื่อง ควรตรวจสอบว่ามีอุปกรณ์แปลกๆ น่าสงสัย ติดตั้งไว้ด้วยหรือไม่ อาจจะเป็นพวกแป้นกดรหัส ช่องเสียบบัตร หรือกล้องเว็บแคมตัวจิ๋ว

 

9.สังเกต HTTPS

ในการทำธุรกรรมออนไลน์ ควรตรวจสอบดูที่ช่อง URL ว่าเป็น http หรือไม่ ซึ่งต่างจาก URL ปกติที่จะมีเพียง http ตัวอย่างเช่น http://www.online.com นั่นแปลว่าเว็บไซต์ธุรกรรมของคุณเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอย่างปลอดภัย นอกจากนี้ ควรใช้โซลูชั่นเพื่อความปลอดภัยสำหรับการทำธุรกรรมออนไลน์โดยเฉพาะ เช่น Kaspersky Internet Security - Multi-Device ซึ่งมีฟังก์ชั่น Safe Banking คอยปกป้องคุ้มครองทุกการทำธุรกรรมการเงินออนไลน์
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด

เจาะคดีแก๊งแบงก์ปลอม อาละวาดลวงซื้อน้ำมัน ป่วนทั่วกรุงเก่า-อ่างทอง


-http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNU5UUXhOREk0T1E9PQ==&sectionid=-


วิเชียร นรสิงห์ สุรศักดิ์ หริ่มสืบ เรื่อง/ภาพ






เจ้า ของปั๊มน้ำมันละแวกย่านกรุงเก่า พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง ต่างต้องปวดเศียรเวียนเกล้า กับแก๊งคนร้ายที่อาศัยช่วงมืดค่ำมาขอซื้อน้ำมันครั้งละ 500-600 ลิตร ก่อนใช้แบงก์ปลอมจ่ายเป็นค่าน้ำมัน

กระทั่งล่าสุดไปก่อเหตุกับปั๊มน้ำมันบางจาก ในพื้นที่ ม.8 ต.โรงช้าง อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง

โดย เมื่อเวลาประมาณตี 5 วันที่ 18 มี.ค.ที่ผ่านมา ชายหนุ่ม 2 คน ขับปิกอัพเชฟโรเลต สีขาว ทะเบียน กฉ 6328 สุพรรณบุรี บรรทุกถังน้ำมันขนาด 200 ลิตร รวม 3 ใบ มาในกระบะท้าย ก่อนขอซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงรวม 600 ลิตร

ด้วย ความที่มีข่าวระแคะระคายมาเข้าหูว่า มีแก๊งคนร้ายลวงใช้แบงก์ปลอมหลอกซื้อน้ำมัน ทำให้นายสามารถ อินทร์อุไร อายุ 35 ปี เจ้าของปั๊มน้ำมันดังกล่าว จึงออกมายืนคุมเชิงระหว่างที่พนักงานเติมน้ำมันให้ลูกค้ารายนี้

แล้วเหตุการณ์ก็เป็นไปตามที่เจ้าของปั๊มระแวงไว้ทุกประการ!!?

ทันทีที่พนักงานของปั๊มเติมน้ำมันเต็ม ทุกถัง คิดเป็นเงินรวม 18,000 บาท

คนร้ายก็เข้าไปนั่งในรถทันทีเหมือนจะ ขับรถออกจากปั๊มไปเลย

นาย สามารถจึงรีบเดินเข้าไปเกาะประตูรถพร้อมขอเงินค่าน้ำมัน ซึ่งคนร้ายก็ยื่นเงินเป็นแบงก์ 1,000 บาท มาให้ปึกหนึ่ง เขาจึงยื่นมือเข้าไปรับเพื่อนับว่าครบถ้วนหรือไม่

แต่ทันทีที่มือสัมผัสกับเงินปึกดังกล่าว เขาก็รู้ทันทีว่าเป็นแบงก์ปลอม จึงตะโกนโวยวายขึ้น

จนคนร้ายตกใจรีบบึ่งรถออกไปทันที หายวับไปกับความมืดต่อหน้าต่อตาเขา

หลัง เกิดเหตุ พ.ต.อ.อนุสรณ์ วะยาคำ ผกก.สภ.ป่าโมก นำกำลังรุดไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ ทำให้พบว่า กล้องวงจรปิดของปั๊ม ดังกล่าวจับภาพคนร้ายและรถได้อย่างชัดเจน จึงประสานไปยังท้องที่ต่างๆ ซึ่งอยู่ข้างเคียงกัน โดยเฉพาะ บก.ภ.จว.พระนครศรีอยุธยา ซึ่งเกิดเหตุแบบเดียวกันหลายครั้ง

แล้วความพยายามของตำรวจก็เป็นผล สำเร็จในช่วงค่ำวันเดียวกัน เมื่อพล.ต.ต.เสริมคิด สิทธิชัยกานต์ ผบก.ภ.จว.พระนคร ศรีอยุธยา พ.ต.อ.ภูวดิท ชนะคชภัทร์ รอง ผบก. พร้อมเจ้าหน้าที่ฝ่ายสืบสวน สภ.บาง ปะหัน สภ.บางไทร

บุกเข้าจับกุม ตัว นายคมสัน วงศ์สุขชัยกิจ อายุ 25 ปี และ นายภานุวัฒน์ รามศร อายุ 31 ปี ชาว อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา ได้คาบ้านพักในพื้นที่ อ.บางไทร พร้อมรถปิกอัพเชฟโรเลต สีขาว ทะเบียน กฉ 6328 สุพรรณบุรี และน้ำมันเชื้อเพลิงจำนวนมาก ก่อนคุมตัวไปสอบสวน

เบื้องต้นผู้ต้องหา ซัดทอดถึงนายวรพจน์ สุขเกศา อายุ 38 ปี อยู่บ้านเลขที่ 58 ม.1 ต.แคออก อ.บางไทร ว่าเป็นผู้ผลิตแบงก์ปลอมที่ใช้ก่อเหตุ

เจ้าหน้าที่จึงตามไป จับตัวได้คาห้องพักเลขที่ 5203 หอพักกีรติจินดา ม.6 ต.ไผ่ลิง อ.พระนครศรีอยุธยา พร้อมของกลางเครื่องถ่ายเอกสารสีแบบเลเซอร์ 1 เครื่อง ธนบัตรปลอมฉบับละ 100 บาท 500 บาท และ 1,000 บาท จำนวนหลายสิบใบ กระดาษ เอ 4 จำนวนหนึ่ง ยาบ้าอีก 100 เม็ด

ซึ่งนายวรพจน์ก็ก้มหน้ายอมรับสารภาพว่า รับจ้างผลิตแบงก์ปลอมให้แก๊งคนร้ายนำไปหลอกซื้อน้ำมันจริง โดยได้ยาบ้าเป็นค่าจ้าง

รุ่ง เช้าวันที่ 19 มี.ค. ผู้การเสริมคิดก็นำทีมสอบปากคำนายคมสันและนายภานุวัฒน์ ซึ่งทั้งคู่ก็สารภาพอย่างหมดเปลือกว่า ก่อเหตุมาแล้วหลายครั้ง เท่าที่จำได้มีเมื่อวันที่ 15 มี.ค. ลงมือที่ ปั๊มน้ำมันคอสโม่ ม.3 ต.ขยาย อ.บางปะหัน ได้น้ำมันไป 200 ลิตร

วันที่ 16 มี.ค. ก่อเหตุที่ปั๊มน้ำมันพีที ม.3 ต.ตานิม อ.บางปะหัน ได้น้ำมันไป 51 ลิตร วันที่ 17 มี.ค. ลวงซื้อน้ำมันที่ปั๊ม ปตท.วัฒนชัย ม.3 ต.หันสัง อ.บางปะหัน

สุดท้ายก็ที่ปั๊มน้ำมันบางจากของนายสามารถที่ อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง รวมมูลค่าความเสียหายหลายหมื่นบาท

ก่อนถูกตำรวจบุกเข้าจับกุมตัวได้ยกแก๊งดังกล่าว

นาย คมสันยังสารภาพอีกว่า ก่อนเริ่มลงมือก่อเหตุทั้งหมดนั้น ได้รู้จักกับนายวรพจน์ซึ่งมีอาชีพเป็นช่างซ่อมคอมพิวเตอร์ และติดยาบ้างอมแงม จึงใช้ยาบ้าล่อให้นายวรพจน์ร่วมมือ ด้วยการผลิตแบงก์ปลอมนำไปลวงซื้อน้ำมัน เพื่อนำไปขายต่อ

แต่ก็ไปไม่รอด เพราะถูกกล้องวงจรปิดจับภาพไว้ได้อย่างชัดเจน ต้องเข้าไปชดใช้กรรมหลังมุ้งสายบัวยกแก๊ง

นับเป็นอีกหนึ่งผลงานของตำรวจอ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา ที่ร่วมกันสืบสวนจนทลายแก๊งคนร้ายได้ในเวลาเพียงไม่กี่วัน
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เตือนภัย! แอปธนาคารปลอมระบาดใน Playstore
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    26 มีนาคม 2557 23:35 น.

-http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000034392-



 ธนาคารไทยเร่งออกโรงเตือนลูกค้าทุกช่องทางให้ระวังแอปปลอมระบาดในกูเกิล เพลย์สโตร์ บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ย้ำทางแก้ไขก่อนดาวน์โหลดควรดูชื่อผู้พัฒนาให้แน่ชัด ป้องกันอันตรายจากกลุ่มมิจฉาชีพได้


       ธนาคารไทยเริ่มประกาศออกทุกช่องการสื่อสารเพื่อให้ลูกค้ารับทราบถึงแอปพลิเคชันปลอมที่กำลังระบาดอยู่ Playstore ของระบบแอนดรอยด์ โดยรายชื่อธนาคารที่มีการปลอมแอปพลิเคชันมี 5 ธนาคารได้แก่ ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงศรี และสุดท้ายธนาคารธนชาติ


       โดยธนาคารกรุงไทยมีข้อความเตือนผ่านระบบไลน์ว่า “โปรดระวัง!!! App.ปลอมบนระบบปฏิบัติการ Android หากต้องการดาวน์โหลด หรือทำธุรกรรมผ่าน App : KTB netbank โปรดสังเกตชื่อผู้ผลิต app. ของจริงคือ Krung Thai Bank PCL. เท่านั้น หากพบ App.ต้องสงสัย อย่าดาวน์โหลด หรือติดตั้ง และโทรแจ้ง 1551 เพื่อความปลอดภัยในทรัพย์สิน ทราบแล้วอย่าลืมบอกต่อเพื่อนๆ นะครับ”


       ขณะที่ธนาคารไทยพาณิชย์ก็ออกข้อความเตือนผ่านระบบไลน์และทวิตเตอร์เช่นกันว่า “ขณะนี้มี mobile app Internet Banking ปลอมของหลายธนาคารที่ไม่ได้ทำโดยธนาคารเอง อยู่บน Google Play Store แนะวิธีสังเกตตามภาพ” โดยธนาคารไทยพาณิชย์แจ้งผ่านทวิตเตอร์ว่ากำลังอยู่ระหว่างประสานงานกับทางกูเกิลเพลย์
       
       ทั้งนี้บริษัทที่ทำแอปดังกล่าวขึ้นมามีชื่อผู้พัฒนาว่า ‘SCIENTIFIKA MEDIA’ โดยแอปพลิเคชันทั้งหมดของ 5 ธนาคารเริ่มเผยแพร่เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2557 วันเดียวกันทั้งหมด โดยจำนวนการดาวน์โหลดยังเป็น 0 ครั้ง และในรายละเอียดแจ้งว่าเป็นเพียง Launcher สำหรับการเข้าสู่หน้าเว็บของธนาคาร พร้อมรายละเอียดที่แจ้งว่าสามารถทำธุรกรรมต่างๆไว้อย่างครบถ้วน โดยเวอร์ชันที่เผยแพร่ล้วนเป็นเวอร์ชัน 1.0 ทั้งสิ้น



http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9570000034392

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ยอด ATM ถูกแฮกเกอร์ดูดเงินพุ่ง 40 ราย เสียหายเกือบ 7 แสน

-http://hilight.kapook.com/view/100534-



ยอดATMถูกแฮกเกอร์ดูดเงินประชาชื่นพุ่ง40ราย  (ไอเอ็นเอ็น)

          ยอดผู้เสียหายจากแก๊งคนร้ายแฮกบัตรเอทีเอ็ม เพิ่มสูงขึ้นเป็น 40 ราย เสียหายเกือบ 7 แสนบาท ขณะที่ตำรวจ ร่วมประชุมหามาตรการป้องกัน

          วันนี้ (9 เมษายน 2557) ร.ต.ท.คมสัน ทุติยานนท์ พนักงานสอบสวน สน.ประชาชื่น เปิดเผยความคืบหน้า เหตุแก๊งคนร้ายแฮกบัตรเอทีเอ็มของผู้เสียหายเพื่อนำไปกดเงินในพื้นที่ต่าง ๆ ตั้งแต่ช่วงค่ำของวันที่ 5 เมษายน ที่ผ่านมาว่า ในขณะนี้มียอดผู้เข้าแจ้งความเพิ่มเป็น 40 ราย รวมมูลค่าประมาณ 679,900 บาท ซึ่งในส่วนเจ้าหน้าที่ทราบจุดหมายปลายทางของตู้เอทีเอ็มที่เงินได้ถูกกดออกตามต่างจังหวัดนั้น ได้มีการประสานไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจในท้องที่นั้น ๆ เพื่อตรวจสอบกล้องวงจรปิด ในการหารายละเอียดคนร้ายต่อไป

          โดยวันพรุ่งนี้ (10 เมษายน 2557) เวลา 10.30 น. พ.ต.อ.ณัฏฐ์ภาณพ วัชรเสวี ผกก.สน.ประชาชื่น พ.ต.ท.ณัฐวัฒน์ เกศะรักษ์ พงส.ผนพ. (หน.) สน.ประชาชื่น เจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) และเจ้าหน้าที่ธนาคารทุกแห่งที่รับแจ้ง จะร่วมประชุมที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อประชุมเร่งรัดคดีดังกล่าว และหามาตรการในการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดเหตุซ้ำ

          ในส่วนของคดีนั้น ในขณะนี้ตำรวจได้รวบรวม รหัสตู้เอทีเอ็ม ที่ถูกกดเงินไปอยู่ ซึ่งในวันที่ 10 เมษายน นี้ จะนำไปให้เจ้าหน้าที่ธนาคารตรวจสอบว่ารหัสใดและเป็นธนาคารใดบ้าง
 
INN News
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :30: แอปธนาคารปลอมระบาดใน Playstore น่ากลัวมากครับพี่หนุ่ม
ผมเองไม่ลงแอพธนาคารเลยครับ เสียวๆ
มือถือมันถึงตัวเราง่ายครับ เวลาทำธุรกรรมออนไลน์ มันก็แจ้งsms ในมือถือเลย


การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
พี่เองก็ไม่เคยลงเช่นกัน ไม่ไว้ใจ

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ไม่ตกเป็นเหยื่อการโฆษณา รู้ให้ลึกกับการทำ “ประกันชีวิต”
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    15 เมษายน 2557 01:06 น.

-http://www.manager.co.th/iBizchannel/viewNews.aspx?NewsID=9570000041107-

เคยไหมที่ทำประกันเพราะเกรงใจ และเคยหรือไม่ทำประกันชีวิตแต่ไม่รู้ว่ากรมธรรม์คุ้มครองอะไรบ้าง ...วันนี้ทีมงาน “ASTVผู้จัดการ” จะพาไปรู้จักประกันชีวิต และไม่ลืมที่จะบอกถึงเทคนิคดีๆ ในการทำประกันอีกด้วย....
       
       โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย หรือ คปภ.นิยามว่า“การประกันชีวิต” เป็นวิธีการที่บุคคลกลุ่มหนึ่งร่วมกันเฉลี่ยภัยอันเนื่องจากการตาย การสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ และการสูญเสียรายได้ในยามชรา โดยที่เมื่อบุคคลใดต้องประสบกับภัยเหล่านั้นก็ได้รับเงินเฉลี่ยช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ตนเองและครอบครัว โดยบริษัทประกันชีวิตจะทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการนำเงินก้อนดังกล่าวไปจ่ายให้แก่ผู้ได้รับภัย
       
       โดยการประกันชีวิตแยกออกได้เป็น 3 ประเภท คือ
       
       1. ประเภทสามัญ เป็นการประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยค่อนข้างสูง ตั้งแต่ 50,000 บาทขึ้นไป เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ปานกลางขึ้นไป ในการพิจารณารับประกันชีวิตอาจจะมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ตรวจสุขภาพ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของบริษัท และมีการชำระเบี้ยประกันภัยเป็นรายปี, ราย 6 เดือน, ราย 3 เดือน หรือรายเดือน
       
       2. ประเภทอุตสาหกรรม เป็นการประกันชีวิตที่มีจำนวนเงินเอาประกันภัยต่ำ โดยทั่วไปตั้งแต่ 10,000-30,000 บาท เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้ปานกลางถึงรายได้ต่ำ การชำระเบี้ยประกันภัยจะชำระเป็นรายเดือน และไม่มีการตรวจสุขภาพ ฉะนั้นจึงมีระยะเวลารอคอย คือ ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตด้วยโรคภัยไข้เจ็บตามธรรมชาติ บริษัทจะไม่จ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้ แต่จะคืนเบี้ยประกันภัยที่ผู้เอาประกันภัยได้ชำระมาแล้วทั้งหมด
       
       3. ประเภทกลุ่ม เป็นการประกันชีวิตที่กรมธรรม์หนึ่งจะมีผู้เอาประกันชีวิตร่วมกันตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ส่วนมากจะเป็นกลุ่มของพนักงานบริษัท ในการพิจารณารับประกันอาจจะมีการตรวจสุขภาพหรือไม่ตรวจก็ได้ ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของบริษัท การประกันชีวิตกลุ่มนี้อัตราเบี้ยประกันชีวิตจะต่ำกว่าประเภทสามัญและประเภทอุตสาหกรรม
       
       สำหรับรูปแบบของการประกันชีวิตที่เป็นแบบพื้นฐานนั้นมี 4 แบบ คือ
       
       1. แบบตลอดชีพ เป็นการประกันชีวิตที่ให้ความคุ้มครองตลอดชีพ ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตเมื่อใดในขณะที่กรมธรรม์มีผลบังคับ บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์ วัตถุประสงค์เบื้องต้นของการประกันภัยแบบนี้เพื่อจัดหาเงินทุนสำหรับจุนเจือบุคคลที่อยู่ในความอุปการะเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต หรือเพื่อเป็นเงินทุนสำหรับการเจ็บป่วยครั้งสุดท้ายและค่าทำศพ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้ตกเป็นภาระของคนอื่น
       
       2. แบบสะสมทรัพย์เป็นการประกันชีวิตที่บริษัทจะจ่ายจำนวนเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัยเมื่อมีชีวิตอยู่ครบกำหนดสัญญา หรือจ่ายเงินเอาประกันภัยให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตลงภายในระยะเวลาประกันภัย การประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์เป็นส่วนผสมของการคุ้มครองชีวิตและการออมทรัพย์ ส่วนของการออมทรัพย์ คือส่วนที่ผู้เอาประกันภัยได้รับคืนเมื่อสัญญาครบกำหนด
       
       3. แบบชั่วระยะเวลาเป็นการประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตในระยะเวลาประกันภัย วัตถุประสงค์เพื่อคุ้มครองการเสียชีวิตก่อนวัยอันสมควร การประกันชีวิตแบบนี้ไม่มีส่วนของการออมทรัพย์ เบี้ยประกันภัยจึงต่ำกว่าแบบอื่นๆ และไม่มีเงินเหลือคืนให้หากผู้เอาประกันภัยอยู่จนครบกำหนดสัญญา
       
       4. แบบเงินได้ประจำ เป็นการประกันชีวิตที่บริษัทประกันชีวิตจะจ่ายเงินจำนวนหนึ่งเท่ากันอย่างสม่ำเสมอให้แก่ผู้เอาประกันภัยทุกเดือน นับแต่ผู้เอาประกันภัยเกษียณอายุ หรือมีอายุครบ 55 ปี หรือ 60 ปีเป็นต้นไป แล้วแต่เงื่อนไขในกรมธรรม์ที่กำหนดไว้ สำหรับระยะเวลาการจ่ายเงินได้ประจำนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เอาประกันชีวิตที่จะเลือกซื้อ
       
       ทั้งนี้ รูปแบบของกรมธรรม์จะมีหลายรูปแบบและตั้งชื่อเป็นนามเฉพาะของแต่ละบริษัท ทุกรูปแบบพร้อมอัตราเบี้ยประกันภัยจะต้องได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียนประกันชีวิต (อธิบดีกรมการประกันภัย) ก่อนจะนำเสนอขายแก่ประชาชน แต่โดยหลักวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นกรมธรรม์รูปแบบใดหรือชื่ออะไรก็ตาม จะอยู่ภายใต้แบบของการประกันชีวิตรวม 4 แบบ คือ
       
       1. แบบชั่วระยะเวลา ให้ความคุ้มครองในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ โดยบริษัทจะจ่ายเงินตามจำนวนเงินเอาประกันภัยให้ผู้รับประโยชน์ ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้นั้น
       
       2. แบบตลอดชีพ บริษัทจะจ่ายเงินตามจำนวนเงินเอาประกันภัยให้ผู้รับประโยชน์ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต ไม่ว่าจะเสียชีวิตเมื่อใดก็ตาม
       
       ทั้งแบบ 1 และแบบ 2 เป็นการจ่ายเงินให้แก่ผู้รับประโยชน์ในกรณีที่ผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตแล้วเท่านั้น
       
       3. แบบสะสมทรัพย์ บริษัทจะจ่ายเงินตามจำนวนที่เอาประกันภัยไว้ให้แก่ผู้รับประโยชน์ถ้าผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ หรือจ่ายเงินเอาประกันชีวิตให้แก่ผู้เอาประกันภัยในกรณีที่มีชีวิตอยู่รอดพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้
       
       4. แบบเงินได้ประจำ บริษัทจะจ่ายเงินได้ประจำ หรือเงินบำนาญให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดยเริ่มจ่ายตั้งแต่วันที่ผู้เอาประกันภัยไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติเนื่องจากความชรา ไปจนถึงวันที่กำหนดไว้ (อาจเป็นชั่วระยะเวลาหนึ่ง หรือตลอดอายุก็ได้)
       
       แบบ 3 ส่วนท้าย และแบบ 4 เป็นการจ่ายเงินโดยมีเงื่อนไขว่าผู้เอาประกันภัยต้องมีชีวิตรอดอยู่จนพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้
       
       สำหรับเทคนิคการทำประกันชีวิตให้คุ้มค่าและให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการทำประกันชีวิตได้แก่
       
       1.ทำความเข้าใจ เรียนรู้ และศึกษาประกันชีวิตมีหลากหลายประเภท และหลากหลายความคุ้มครอง ผู้ที่ต้องการทำประกันควรศึกษาข้อมูลให้ดี โดยเฉพาะเรื่องของผลประโยชน์และเบี้ยประกันที่ต้องจ่าย นอกจากนี้เราไม่ควรมองข้ามเรื่องการเปรียบเทียบกรมธรรม์ประเภทเดียวกันแต่คนละบริษัท แน่นอนว่ากรมธรรม์เหมือนกันแต่อาจจะแตกต่างกันในเรื่องของค่าใช้จ่าย
       
       2ไม่ควรมองข้ามการตรวจสุขภาพการทำประกันชีวิตโดยเฉพาะประกันสุขภาพนั้น การตรวจสุขภาพเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะโรคบางชนิดนั้นจะไม่ได้รับความคุ้มครองจากประกัน และเพื่อเป็นการป้องกันปัญหาเกี่ยวกับการเคลมประกันในอนาคต
       
       3.ซื้อประกันให้ครอบคลุมหนี้ที่มีการทำประกันชีวิตที่ดีควรที่จะรู้ความเสี่ยงและภาระที่เรามีทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นภาระในการผ่อนรถ ผ่อนบ้าน หรือค่าเล่าเรียนบุตร รวมถึงการประเมินสวัสดิการที่เราได้รับ และเมื่อคำนวณทั้งหมดแล้วก็จะได้ตัวเลขหรือจำนวนเงินที่ควรจะมีหากเราเกิดเสียชีวิตขึ้นมา ซึ่งการทำประกันก็ควรจะครอบคลุมหนี้ที่เรามีเพื่อไม่เป็นภาระให้แก่คนที่อยู่ข้างหลัง
       
       4. รายได้เพิ่มควรเพิ่มทุนประกันแน่นอนว่าหากรายได้เพิ่มเราก็ควรที่จะเพิ่มทุนประกัน ซึ่งในทุนประกันที่มีอยู่ในปัจจุบันอาจจะไม่พอในอนาคต
       
       5. จ่ายเบี้ยพอดี ไม่เป็นภาระอย่าลืมว่าการทำประกันส่วนใหญ่เป็นภาระระยะยาว การจ่ายเงินที่ยาวๆ นั้นอาจจะมีความเสี่ยงที่เราไม่อาจรับรู้ได้ในอนาคต ซึ่ง ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน หรือ TSI แนะนำว่า เบี้ยประกันชีวิตต่อปีไม่ควรเกิน 10% ของรายได้ต่อปี
       
       ขอบคุณข้อมูลจาก คปภ.
       และ TSI

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)