ผู้เขียน หัวข้อ: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"  (อ่าน 149437 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #130 เมื่อ: พฤษภาคม 05, 2014, 05:35:55 pm »
เงิน 750 บาท ในแต่ละเดือนของประกันสังคม แบ่งไปไหนบ้าง!?

-http://money.sanook.com/180958/%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99750-%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1-%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%9B%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%87/-



เงินของเรา เขาทำอย่างไร เราต้องรู้

เงิน 750 บาท ในแต่ละเดือนของประกันสังคม แบ่งไปไหนบ้าง!?

 

เงิน 750 บาท ในแต่ละเดือนของประกันสังคม จะถูกแบ่งเป็น...

- 225 บาท ดูแลเรื่องเจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และตาย ถ้าไม่ใช้สิทธิ เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้คืน

- 75 บาท ใช้ประกันการว่างงาน ถ้าว่างงานเมื่อไหร่ ก็เอาเงินส่วนนี้มาใช้ในระหว่างที่หางานใหม่ แต่ถ้าไม่ว่างงานเลย เงินส่วนนี้ก็จะหายไป ไม่ได้คืน

- 450 บาท เก็บเป็นเงินออม จะได้คืนเมื่ออายุครบ 55 ปี

 

โดยเงื่อนไขการได้เงินก้อนสุดท้าย (เงินออม เมื่ออายุครบ 55 ปี) คืน คือ

1. จ่ายประกันสังคมไม่ครบ 1 ปี ได้คืนส่วนที่จ่ายเป็นเงินก้อน เรียกว่าบำเหน็จชราภาพ เช่น จ่ายเดือนละ 750 บาทมาโดยตลอด 10 เดือน (750 บาท จะถูกหักเป็นเงินออม 450 บาท) เมื่ออายุครบ 55 ปี จะได้คืน 450 บาท x 10 เดือน = 4,500 บาท

2. จ่ายครบ 1 ปี แต่ไม่ถึง 15 ปี จะได้เป็นเงินก้อนเรียกว่าบำเหน็จเช่นกัน แต่จะมากกว่าข้อ 1. คือ ได้ส่วนที่นายจ้างสมทบด้วย เช่น จ่าย 750 บาท ตลอด 7 ปี (84 เดือน) ที่จะได้รับคืนเมื่ออายุครบ 55 ปี คือ 450 บาท (ส่วนที่ตนเองจ่าย) + 450 บาท (ส่วนที่นายจ้างจ่าย) x 84 เดือน = 75,600 บาท

3. จ่ายตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป จะได้รับเป็นเงินรายเดือน เรียกว่า บำนาญชราภาพ โดยคำนวณ 2 กรณี คือ

 

- กรณีจ่ายครบ 15 ปีเป๊ะๆ จะได้รับรายเดือน คือ 20% ของเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย สมมติ 60 เดือนสุดท้าย เฉลี่ยแล้วเท่ากับ 15,000 บาท จะได้รับ 20% คือ เดือนละ 3,000 บาท ไปจนตาย

- กรณีสมทบมากกว่า 15 ปี จะได้รับโบนัสเพิ่ม 1.5% ของเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย หากครบปี เช่น จ่ายครบ 20 ปี รายเดือนที่จะได้รับ คือ 20% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน + 1.5% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือน x 5 ปี (จ่าย 20 ปี เกินจากที่กำหนดขั้นต่ำมา 5 ปี)

สมมติเฉลี่ยเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย เท่ากับ 15,000 บาท จะได้รายเดือน คือ (20% x 15,000 บาท = 3,000 บาท) + (1.5% x 15,000 บาท x 5 ปี) = 3,375 บาท รวมเป็น 6,375 บาท ต่อเดือน ไปจนตาย

กรณีที่ได้รับเงินบำนาญชราภาพแล้ว ยังไม่ครบ 5 ปีเลย แต่เสียชีวิตซะละ กรณีนี้จะได้รับบำเหน็จ 10 เท่าของเดือนสุดท้ายของเงินบำนาญที่ได้รับ เช่น รับรายเดือน เดือนล่าสุด 6,375 บาท ตายปุ๊บ รับ 63,750 บาท

 

ขอบคุณข้อมูลจาก  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค
-https://www.facebook.com/fconsumerthai?fref=ts-


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #131 เมื่อ: พฤษภาคม 14, 2014, 09:28:29 pm »
7 วิธีประหยัดค่าใช้จ่ายที่ทำได้จริง เหลือเงินเก็บแน่นกระเป๋า

-http://money.kapook.com/view87914.html-


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          วิธีประหยัดค่าใช้จ่ายที่ทำได้จริงไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันอีกต่อไป จะได้มีเงินเหลือเก็บมากขึ้น ถ้าอยากลดค่าใช้จ่าย แล้วเพิ่มเงินเก็บให้กระเป๋าตุงก็ทำได้ไม่ยาก แค่ต้องอาศัยเคล็ดลับนิดหน่อยจ้า

          ภาระค่าใช้จ่ายของใครแน่นเอียด จนยอดเงินติดลบแทบทุกเดือน ตอนนี้คงกำลังมองหาวิธีประหยัดค่าใช้จ่ายกันอยู่แน่ ๆ ใช่ไหมคะ ถ้าอย่างนั้นลองมาดูเคล็ดลับประหยัดค่าใช้จ่ายที่กระปุกดอทคอมนำมาฝากต่อไปนี้ดีกว่า รับรองเลยว่าคุณจะเซฟเงินในกระเป๋าได้อีกเยอะ กลายเป็นคนที่เหลือเงินเก็บเป็นกอบเป็นกำเลยเชียวล่ะ

          ตัดงบเรื่องกินไปบ้าง

          ถ้าลองคำนวณดูเล่น ๆ จะเห็นว่า ค่าใช้จ่ายในเรื่องปากท้องของเราในแต่ละเดือนกินพื้นที่งบประมาณไปมากพอดู เอาง่าย ๆ แค่ค่ากาแฟ และขนมตอนบ่ายในแต่ละวัน ก็ 100-200 บาท เข้าไปแล้ว ยิ่งกับคนที่ชอบตระเวนกินอาหารหรู ๆ จัดบุฟเฟ่ต์ทุกสัปดาห์ก็ยิ่งควักกระเป๋ามากขึ้นไปอีก แต่ถ้าลองตัดงบประมาณค่ากาแฟ ขนมหวาน และอาหารฟุ่มเฟือยลงไปบ้าง พร้อมทั้งทำอาหารกินเองที่บ้านแทนกินข้าวนอกบ้าน คงเหลือเงินในกระเป๋าไม่น้อยเลยเหมือนกัน ที่สำคัญยังเป็นการไดเอตทางอ้อมที่เห็นผลจริง และรวดเร็วโดยไม่ต้องเสียเหงื่อออกกำลังกายสักหยดเลยด้วย

           ค่าเดินทางก็ประหยัดได้

          ในเมื่อราคาน้ำมันมีแต่พุ่งขึ้นกับขึ้นขนาดนี้ ขืนใช้รถ 2 คัน ขับของใครของมันคงต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายในส่วนการเดินทางจนเมื่อยบ่าแน่ ๆ ดังนั้นหากเป็นไปได้ ลองไปคันเดียวกัน หรือเลือกใช้บริการรถสาธารณะในบางโอกาสดีกว่า ประหยัดทั้งค่าน้ำมัน ค่าที่จอดรถ แล้วยังประหยัดเวลาหาที่จอดรถให้ยุ่งยาก ส่วนค่าเดินทางท่องเที่ยวในวันหยุดยาว คุณสามารถเซฟเงินในกระเป๋าได้ด้วยการจองโปรโมชั่นเครื่องบินแทนการขับรถทางไกล แค่นี้ก็มีเงินในกระเป๋าเพิ่มขึ้นอีกหลายบาทแล้วจ้า

          ฉลาดเลือกกรมธรรม์

          กรมธรรม์ในสมัยนี้มีให้เลือกหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบออมเงิน และประกันสุขภาพ พร้อมประกันอุบัติเหตุไปด้วยในตัว ซึ่งก็ขึ้นอยู่ว่าคุณจะเลือกซื้อกรมธรรม์แบบไหนให้ตัวเอง แต่ทั้งนี้ก่อนตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ อยากให้คุณคำนวณเบี้ยประกัน ผลประโยชน์ที่ได้รับ ระยะเวลาผ่อนส่ง รวมทั้งในส่วนของการลดหย่อนภาษีให้ดีด้วยนะคะ


          ปาร์ตี้ได้ แต่เบา ๆ

          เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะมีสังคม และสังสรรค์กับเพื่อนบ้างในแต่ละเดือน แต่ถ้าคุณลดความถี่ลงจากเดิม หรือเปลี่ยนแนวไปเที่ยวแบบที่ไม่ต้องใช้เงินมากนัก เช่น ปิกนิกในสวนสาธารณะ ดูฟรีคอนเสิร์ต หรือดูหนังในช่วงลดราคา ไม่ก็นัดปาร์ตี้กันที่บ้านเพื่อน แค่นี้ก็ประหยัดเงินในกระเป๋าไปได้อย่างไม่น่าเชื่อแล้วล่ะ

           ค่าใช้จ่ายในบ้าน ลดได้ไม่ยาก

          ลองคำนวณค่าใช้จ่ายภายในบ้านในแต่ละเดือนแล้วก็ต้องสะดุ้งเบา ๆ เพราะมีรายละเอียดจิปาถะที่ต้องใช้เงินทั้งนั้นเลยนะคะ แต่ถ้าอยากลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ คุณก็สามารถทำได้ง่าย ๆ แค่เลือกใช้ของที่คุ้มค่าทั้งในแง่ของคุณภาพ และราคา เพราะอย่าลืมว่าของคุณภาพดีบางทีก็ไม่จำเป็นต้องแพง หรือเป็นของแบรนด์ดังอะไร แถมของบางอย่างเราก็ไม่จำเป็นต้องใช้ของดีมีคุณภาพมากนักอีกต่างหาก ที่สำคัญพ่อบ้านคนไหนที่เป็นสิงห์อมควัน ลองตัดขาดจากบุหรี่ก็น่าจะดี แล้วคุณจะเห็นได้ว่า มีเงินเหลือเก็บอีกมาก หนำซ้ำสุขภาพก็ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเลยทีเดียว

           ประหยัดพลังงาน เท่ากับประหยัดเงิน

          บิลค่าน้ำ และค่าไฟเป็นค่าใช้จ่ายสำคัญในบ้านที่มองข้ามไม่ได้เช่นกัน ดังนั้นหากคุณปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้พลังงานให้รักษ์โลกมากขึ้น อย่างปิดทีวีเมื่อไม่ได้ดู ตั้งอุณหภูมิแอร์ไม่ให้ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส ถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าทุกครั้งที่ไม่ใช้งาน ปิดก๊อกน้ำให้สนิท รวมทั้งไม่เปิดน้ำทิ้งไว้ หรือแม้แต่อาบน้ำเย็นแทนการอาบน้ำอุ่น และปิดไฟในส่วนที่ไม่มีใครอยู่ก็ประหยัดเงินไปได้เยอะจนคาดไม่ถึงเลยจ้า

           จำกัดค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน

          วิธีที่จะช่วยให้คุณเหลือเงินเก็บในกระเป๋าตามเป้าที่ตั้งไว้ คงหนีไม้พ้นการวางแผนการใช้จ่ายให้ตัวเอง และเดินตามแผนนั้นอย่างเคร่งครัด พยายามอย่าวอกแวกใช้เงินส่วนที่แบ่งไว้เก็บ หรือตัดสินใจเป็นหนี้เด็ดขาด โดยเฉพาะบัตรเครดิต ถ้าไม่จำเป็นก็อย่าใช้เลยดีกว่านะคะ จะได้ไม่มีภาระหนี้ผูกพันในเดือนต่อ ๆ ไป และถ้าใช้เงินสดแทน คุณจะสามารถกำหนดค่าใช้จ่ายให้ตัวเองได้อย่างแม่นยำขึ้นด้วย

          เพียงแค่ฝึกวินัยการใช้จ่ายของตัวเองให้อยู่ในกรอบที่ตั้งไว้ แค่นี้คุณก็จะบรรลุเป้าหมายการออมเงิน และประหยัดค่าใช่จ่ายในแต่ละเดือนไปได้เยอะแล้วล่ะค่ะ


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #132 เมื่อ: พฤษภาคม 19, 2014, 10:09:38 pm »
วางแผนการเงิน...สบายกระเป๋าตลอดปี (modernmom)
เรื่อง : นารา อาทิตย์รักษ์

-http://money.kapook.com/view88448.html-


          วางแผนการเงิน..ได้ยินแล้วง่วงชะมัด เอาเป็นว่าเรื่องโครงสร้างตารางซีเรียส ๆ ปล่อยให้ท่านเจ้าหลักการหรือนักวางแผนการเงินมืออาชีพเขาทำกันไปก็แล้วกัน หลักการบ้าน ๆ ของเราเน้นง่าย ไร้ศัพท์แสง นั่นก็คือ ปีหน้า "ต้อง" จ่ายหรือเก็บเงิน เพื่ออะไรกับ "อยาก" ใช้จ่ายอะไรบ้าง ง่าย ๆ เท่านี้เอง งั้นมาเริ่มต้นวางแผนกันดีกว่า...

          แผนการเลิศหรูมักสวยงามยามเพ้อฝัน ลงมือทำจริงทีไร เป็นศูนย์ทุกทีสิน่า...

สแกนกรรมก่อนสตาร์ด

          รรมใดในอดีตที่ท่านก่อไว้ยังติดตามมาในภพเอ๊ยปีนี้หรือไม่ กรรมหมายถึงการกระทำ เช่น ผ่อนบ้านหรือผ่อนรถหรือเวรกรรม เช่น หนี้บัตรเครดิตจากการอัพเดตมือถือหรือกระเป๋าแบรนด์รุ่นล่า กู้ไปทัวร์ยุโรป หรือหนักมือกับการฉลองปีใหม่ไปนิด ฯลฯ อย่าลืมเช็กข้อมูลเครดิตว่ายังดีอยู่ หรือมีปัญหา จ่ายช้า ยังไม่ได้จ่ายหนี้ มีอะไรผิดปกติควรรีบติดต่อธนาคาร

          ส่วนกรรมดีดูสิว่าสะสมทรัพย์สิน เงินฝาก ลงทุนซื้อหุ้นพันธบัตร ที่ดินหรือทองไว้มากน้อยแค่ไหน แล้วแต่ละเดือนมีเงินงอกเงยจากสมบัติเหล่านี้กี่บาทกี่สตางค์ รวมตัวเลขแล้วทุกเดือนเงินเข้าจะมีมากกว่าออก กรรมดีมากกว่าหนี้กรรม... ยินดีด้วยค่ะ แต่ถ้ายังติดลบอยู่ควรคิดหารายได้เพิ่มช่วยล้างหนี้ให้เร็วขึ้น

ปีนี้ต้องหรืออยากทำอะไรบ้าง

          เตรียมตัวเตรียมใจและเงินไว้สำหรับจ่ายประจำก่อน ดูว่ารายเดือน มีรายจ่ายหลักอะไร ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ มีรายจ่ายประจำอะไรอีก ค่าอาหารพ่อแม่ ค่าน้ำ ค่าไฟ ของกินของใช้ลูก ค่าน้ำมัน ฯลฯ

          รายจ่ายบางเดือนที่มักจะลืมไป เช่น ครบกำหนดจ่ายค่าดูแลรักษาต่าง ๆ เช่น ประกันและพรบ.รถ ล้างแอร์ ค่าสาธารณูปโภคในอาคารหรือหมู่บ้าน หรือจ่ายภาษีถ้าต้องคิดเองจ่ายเอง ฯลฯ คิดมาให้ละเอียดยิบ เตรียมงบสนับสนุนโครงการ อยากไปเที่ยว เข้าคอร์สฟิตเนส ฝึกร้องเพลง เรียนปั้นดิน อบรมเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน เรียนต่อ ดาวน์รถใหม่ หรือต่อห้องเพิ่ม ฯลฯ หรือคิดว่าจะเก็บเงินไว้ยามเกษียณอย่างจริงจังสักที โปรเจกต์อย่าเยอะมากเดี๋ยวจะเป็นแค่ฝันลม ๆ แล้ง ๆ

          หมายเหตุไว้ตรงนี้หน่อยว่าพยายามผลักดันเงินออมยามเกษียณไปอยู่ในรายจ่ายหลักให้จงได้ มาเริ่มเก็บเอาบั้นปลายก็สายเกินแก้ คนแก่ ๆ ไม่มีเงินเลี้ยงตัวเป็นปัญหาทั่วโลก ส่วนบ้านเราการพึ่งรัฐฯ หรือสวัสดิการสังคมในอนาคต คาดการณ์แล้วขอใช้ตัวเลขนี้ "555"

อย่าลืม...รายจ่ายทำลายบรรยากาศ

          คนกำลังอารมณ์ดี ๆ ดูตามแผนที่วางไว้มีเงินพอตามฝันโครงการสวยหรู แต่ต้องสะดุดเหมือนมีใครมาขัดขาให้หกล้มเพราะรายจ่ายที่น่ารำคาญ คาดไม่ถึง แต่เขาต้องมาแน่ ๆ จำเป็นต้องซ่อมหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ต่าง ๆ รถเสีย โทรศัพท์พัง แอร์เสีย ซ่อมบ้าน หรือพวกหมดสภาพตามอายุการใช้งานอย่าง เครื่องซักผ้า ตู้เย็น คอมพิวเตอร์ ปรินต์เตอร์ตัวดี 2 ปีตายตลอด เตาไมโครเวฟ หรือรถยนต์เก่าทนใช้มานาน ฯลฯ ของเหล่านี้มีอายุขัยของมัน ซื้อมาเมื่อไรน่าจะจดวันซื้อและระยะการใช้งานไว้ จะได้รู้ว่าถึงเวลาเสียเงินซื้อใหม่หรือยัง ต้องมีเงินเพื่อการนี้ด้วย

          อีกอย่างที่อาจซ่อมก็คือสุขภาพ ดูแลสุขภาพตัวเองและคนในครอบครัวดี ๆ ถ้าเจ็บป่วยหนักประกันที่มีอยู่อาจไม่ครอบคลุมต้องควักกระเป๋าเองนะ

          ถ้ารู้แล้วว่าทั้งหมดเป็นจำนวนเงินเท่าไร กลับมาดูรายได้แต่ละเดือน กับทรัพย์สมบัติที่มีอยู่อย่างไหนนำมาแปลงเป็นเงินได้ โดยไม่สั่นคลอนหลักประกันในชีวิต ดูความเป็นไปได้ เรียงลำดับ ความสำคัญ และพยายามจัดสรรงบให้ลงตัวก็สบายไปอีก 1 ปีแล้วค่ะ



ขอขอบคุณข้อมูลจาก
-http://www.momypedia.com/-
Vol.19 No.219 มกราคม 2557
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #133 เมื่อ: พฤษภาคม 22, 2014, 10:06:09 pm »
6 ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดหลังแรก

-http://home.kapook.com/view88854.html-


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

          คอนโดกลายเป็นที่อยู่อาศัยที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ไม่แพ้การซื้อบ้านสักหลังเลย โดยเฉพาะคนในวัยทำงาน ที่ต้องการที่อยู่อาศัยสไตล์คนรุ่นใหม่ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ในยุคโมเดิร์นแบบนี้ได้ตรงความต้องการทุกข้อ ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกใจหากการซื้อคอนโดหลังแรกจะค่อนข้างบูมในหมู่คนที่เริ่มอยากลงทุนกับอสังหาริมทรัพย์แบบเป็นชิ้นเป็นอันสักอย่าง แต่ก่อนจะตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดสักหลัง คงต้องผ่านการพิจารณาหลายขั้นตอน ทั้งเรื่องโดยทั่วไป จนกระทั่งหลักการซื้อขาย การกู้ยืมเงินเพื่อซื้อคอนโด ดังนั้นวันนี้เราเลยขอนำเสนอ 6 ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจซื้อคอนโดหลังแรกมาให้คุณ ๆ ได้ศึกษากันก่อนค่ะ

1. พิจารณาสัญญา และกฎระเบียบให้ถี่ถ้วน

          การซื้อคอนโดสักหลังไม่ต่างอะไรกับการทำสัญญาซื้อขาดอย่างหนึ่ง ที่จะบอกว่าเป็นภาระผูกพันระยะยาวก็คงไม่ผิดนัก ดังนั้นก่อนตัดสินใจเลือกซื้อคอนโดหลังแรก ควรต้องมั่นใจก่อนว่า คุณจะสามารถยอมรับระเบียบข้อบังคับของคอนโด และพักอาศัยในคอนโดหลังนี้ได้อย่างสบายใจ โดยตรวจสอบตั้งแต่เงื่อนไขของการเก็บค่าส่วนกลาง บริษัทผู้รับผิดชอบโครงการ นิติกร รวมทั้งบริษัทที่รับหน้าที่ดูแลคอนโดแห่งนี้หลังจากการซื้อขายจบสิ้น พร้อมกันนั้นควรตรวจสอบด้วยว่า เงื่อนไขการอยู่อาศัยเข้มงวดแค่ไหน เลี้ยงสัตว์ได้หรือเปล่า หรือมีข้อห้ามปฏิบัติในส่วนไหนบ้าง ตลอดจนการจอดรถ และระบบการรักษาความปลอดภัยด้วยนะคะ ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกสบายของตัวคุณเอง และเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในภายหลัง

2. เปรียบเทียบราคาให้เหมาะสม

          สำหรับคนที่จำเป็นต้องกู้ธนาคารเพื่อซื้อคอนโด หรือต้องซื้อคอนโดต่อจากบุคคลอื่น ก็แน่นอนว่า สนนราคาคอนโดของคุณต้องสูงกว่าราคาที่โครงการตั้งไว้ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ด้วยเหตุนี้คุณจึงต้องใส่ใจรายละเอียดในเรื่องของไฟแนนซ์ และการกู้ยืมเงินให้มาก รวมทั้งคำนวณอัตราดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายเพิ่มขึ้นจากราคาคอนโด เปรียบเทียบราคาให้เหมาะสมกับกำลังจ่ายของตัวคุณเองด้วย เพราะหากราคาคอนโดถูกโก่งไว้สูงเกินไป จนคิด ๆ ดูแล้วไม่คุ้มที่จะซื้อสักเท่าไร เราจะได้ไหวตัวทันนะจ๊ะ

3. คำนึงถึงความคุ้มค่า

          ในเมื่อคอนโดกลายเป็นความต้องการอันดับต้น ๆ ของตลาด การแข่งขันจึงค่อนข้างสูง ซึ่งก็เป็นผลดีกับผู้บริโภคอุปโภคอย่างเรา ๆ เพียงแต่ว่า เราเองก็ต้องคำนึงถึงความคุ้มค่ากับเงินที่จะต้องเสียไป พิจารณาให้รอบคอบว่า คอนโดที่เราสนใจนั้นมีสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น ทำเลดีเริ่ด ติดรถไฟฟ้า ใกล้ห้างสรรพสินค้า โรงเรียน ที่ทำงาน มีสระว่ายน้ำ ฟิตเนส ห้องสมุด หรือข้อได้เปรียบที่ปล่อยผ่านไปไม่ได้อย่างไร ระบบการรักษาความปลอดภัย และสิทธิพิเศษที่ผู้อยู่อาศัยจะได้รับนั้นเหมาะสมกับเงินที่เราต้องจ่ายค่าส่วนกลาง และค่าคอนโดไปหรือเปล่า ซึ่งถึงแม้จะดูจุกจิกมากไปนิด แต่ในเมื่อจำนวนเงินที่จะออกจากกระเป๋าสตางค์เราไม่ใช่น้อย ๆ ก็ต้องเคี่ยวกันเป็นธรรมดาล่ะเนอะ

4. ความน่าเชื่อถือของโครงการ

          มีข่าวให้ได้ยินกันบ่อย ๆ ถึงคนที่ถูกเจ้าของคอนโดโกง โดยทำสัญญาซื้อขายทั้ง ๆ ที่โครงการยังไม่เป็นรูปเป็นร่างดี จนในที่สุดโครงการคอนโดสุดหรูนั้นก็ค้างอยู่ในวิมานกลางอากาศ สูญเงินเหยียบล้านแต่ไม่ได้เห็นโครงการคืบหน้าไปไหนสักที ดังนั้นเมื่อมีกรณีศึกษาแบบนี้แล้ว ก่อนตัดสินใจทำการซื้อขายคอนโด ก็น่าจะต้องตรวจสอบประวัติความเป็นมาของเจ้าของคอนโด คุณภาพงาน และมาตรฐานการทำงานที่ผ่าน ๆ มาของเขาด้วย ยิ่งถ้าเป็นโครงการที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง จนสามารถขยายโครงการไปได้หลาย ๆ ที่ในเวลารวดเร็วก็น่าจะไว้วางใจได้ในระดับหนึ่งนะคะ

5. โครงสร้างคอนโดต้องแข็งแรง

          นอกจากความน่าเชื่อถือของเจ้าของโครงการคอนโดแล้ว ทางที่ดีควรต้องเจาะลึกไปถึงการสร้างคอนโดแห่งนี้ด้วย เพื่อให้เราแน่ใจได้ว่า โครงสร้างคอนโดจะแข็งแรงแน่นปึ้กจริง ๆ วัสดุที่ใช้ก็ควรมีคุณภาพดี พูดง่าย ๆ ก็คือ เมื่อเหยียบย่างเข้าไปในคอนโดต้องไม่เห็นรอยร้าว จุดชำรุดในที่ใด ๆ หรือถ้าเคาะผนัง และพื้นแล้วต้องไม่ได้ยินเสียงก้องกังวาน แสดงให้เห็นถึงความโปร่งบางของโครงสร้างเด็ดขาดนั่นเองค่ะ

6. สภาพแวดล้อมรอบด้านน่าพึงพอใจ

          จุดเด่นของคอนโดในยุดนี้ต้องตั้งอยู่ในย่านที่มีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน ถ้าไม่ติดย่านกลางเมือง มีรถไฟฟ้าในระยะใกล้ ๆ ก็ต้องอยู่ไม่ไกลจากห้างสรรพสินค้า แต่เหตุผลแค่นี้คงไม่พอให้เรายอมจ่ายเงินจำนวนมากแน่ ๆ จริงไหมคะ เพราะถ้าจะเสียเงินก้อนทั้งที สภาพแวดล้อมรอบด้านคอนโดก็ควรจะต้องเป็นที่น่าพอใจสำหรับเราพอสมควร เช่น อยู่ใกล้ที่ทำงาน เดินทางไปไหนมาไหนสะดวก ไม่ตั้งอยู่ในย่านชุมชนแออัด แต่ก็ไม่เปลี่ยวจนน่าเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยจนเกินไป มีระบบรักษาความปลอดภัยที่แน่นหนา กล้องวงจรปิด และลานจอดรถต้องดูปลอดภัยไร้กังวลมาก ๆ ด้วย นอกจากนี้ควรพิจารณาถึงปัจจัยที่จะช่วยให้เราขายคอนโดได้โดยง่าย เผื่อกรณีที่คิดจะขายต่อในภายหลังด้วยนะคะ


          ไม่ว่าใครก็อยากจะซื้อคอนโดหลังแรกให้คุ้ม อยู่สบายและไม่เสียดายเงินก้อนโตที่ต้องจ่ายไป ฉะนั้นก่อนเลือกซื้อคอนโด ก็อย่าลืมนึกถึงข้อควรพิจารณาเหล่านี้ด้วยนะจ๊ะ



คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #134 เมื่อ: พฤษภาคม 27, 2014, 01:56:03 am »
กู้บ้านผ่าน ไม่ได้แปลว่า ผ่อนบ้านไหว

-http://money.kapook.com/view89036.html-



เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก ThinkOfLiving.com

          หลายคนดิ้นรนอยากเป็นเจ้าของบ้านสักหลัง ด้วยการทำงานหนักและพยายามเดินบัญชีสวย ๆ เพื่อให้สามารถขอกู้ซื้อบ้านผ่านฉลุย ทั้งยังตื่นเต้นดีใจที่ได้รับการอนุมัติสินเชื่อบ้าน แต่ทว่าในความเป็นจริงแล้ว การซื้อบ้านกลับมีปัจจัยอื่น ๆ นอกเหนือจากแค่กู้บ้านผ่านเท่านั้น กระปุกดอทคอมจึงมีบทความดี ๆ ที่อธิบายถึงความแตกต่างระหว่าง การกู้บ้านผ่าน และการซื้อบ้านไหว ที่ได้รับอนุญาตให้เผยแพร่จาก เว็บไซต์ ThinkOfLiving.com มาฝากให้ได้ทำความเข้าใจกันค่ะ

          “กู้บ้านผ่าน” ไม่ได้หมายความว่าจะ “ซื้อบ้านไหว” โดย ThinkOfLiving.com

          บ่อยครั้งที่เราเห็นคนใกล้ตัวคิดจะซื้อบ้าน จากที่ทีแรกตั้งงบประมาณไว้ 3 ล้านบาทก็คิดว่าพอสมควรแล้ว แต่พอเขาศึกษาบ้านมากขึ้นเรื่อย ๆ เข้าโครงการนี้ออกโครงการนั้น วิ่งวนไปอยู่สักพักหนึ่ง งบประมาณซื้อบ้านที่ตั้งไว้ทีแรกที่ 3 ล้านบาท ก็ขยายขึ้นไปเป็น 4-5-6 ล้านตามลำดับ ในระยะเวลาอันสั้น แล้วก็ไปหยุดอยู่ตรงงบประมาณสูงที่สุดที่พอจะกู้ธนาคารผ่านได้ โดยลืมไปเลยว่าตัวเองตั้งงบไว้ทีแรกเพียง 3 ล้านบาท … ยิ่งกู้บ้าน 100% จับเสือมือเปล่ายิ่งดี เพราะยังสามารถเก็บเงินก้อนเอาไว้ซื้อเฟอร์นิเจอร์ ตกแต่งเข้าบ้านได้ หรือบางรายหนักไปกว่านั้น ขอกู้เกินราคาบ้าน โดยส่วนเกินยอมให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยแพงหน่อยไปเป็น​ "ค่าตกแต่ง" จะได้ไม่ต้องเสียเงินก้อนในการตกแต่งบ้านด้วย ด้วยเหตุผลที่ว่า "ฉันกู้ผ่าน"

          จริง ๆ ประโยคที่ว่า "ฉันกู้ผ่าน" กับ "ฉันซื้อไหว" มันไม่ได้มีความหมายเหมือนกันนะครับ หลาย ๆ คนชอบคิดไปเองว่า 2 ประโยคนี้มีความหมายเดียวกัน หรือไม่ก็หลงอยู่ในประโยคแรกแต่ไม่ได้คิดถึงประโยคที่สอง ด้วยเมฆหมอกที่มาบังตาจากความอยากได้อยากมีเกินกำลัง ของมันแน่อยู่แล้วครับว่า บ้านเดี่ยวราคา 5 ล้านบาท ส่วนใหญ่ย่อมดีกว่าทาวน์เฮาส์ราคา 3 ล้านบาทอยู่แล้ว

          "กู้ผ่าน ผ่อนได้ เดี๋ยวเงินเดือนก็ขึ้น ได้โบนัสมาก็โปะ ปีสองปีแรกรัดเข็มขัดหน่อย ปีต่อ ๆ ไปก็ผ่อนสบาย ๆ แล้ว" คงจะเป็นเสียงในใจของคนหลาย ๆ คน ที่ลืมคิดไปว่าหากเศรษฐกิจไม่ดี รายได้ไม่เพิ่ม บริษัทที่ทำอยู่ลดพนักงาน หรือไม่จ่ายโบนัสจะทำอย่างไร ?

          ถ้ามีเงินเก็บ สามารถหยิบมาใช้ได้ หรือขยันทำงานมากขึ้น รับงานพิเศษ หาทางเอาตัวรอดได้ก็แล้วไป แต่ถ้าวินัยทางการเงินไม่พอ หรือเศรษฐกิจหดตัวแรง ๆ เงินช็อต อาจจะนำมาสู่การยึดทรัพย์เพื่อชำระเงินกู้ได้นะครับ ไม่เช่นนั้นเราคงไม่เห็นธนาคารเอาบ้านมือสองมาขายทอดตลาดกันอยู่บ่อย ๆ หรอก … หลายคนยิ่งไปกว่านั้น กดเงินสดดอกเบี้ย 20-28% มาใช้ โดยไม่รู้ว่ายิ่งเป็นการขุดหลุมฝังตัวเอง

          เรามาลองรู้จักคำว่า "พอดี" กันบ้างดีไหมครับ ? แต่ก่อนที่ผมจะพาไปรู้จักนั้น เดี๋ยวผมจะหยิบยกตัวเลขทางสถิติมาให้เห็นกันก่อน เพื่อที่จะได้เข้าใจภาพรวมคร่าว ๆ ของบ้านเมืองเรา ซึ่งเป็นสาเหตุที่ผมตัดสินใจเขียนบทความชิ้นนี้ขึ้นมา … ข้อมูลประกอบ รายงานนโยบายการเงิน เดือนมีนาคม 2557 โดย ธนาคารแห่งประเทศไทย




          นี่เป็นตัวเลขล่าสุดของ หนี้สินภาคครัวเรือนต่อ GDP ซึ่งแสดงให้เห็นว่าครอบครัวไทยมีความสามารถกู้เงินมาใช้จ่ายได้เก่งมาก ภายใน 3 ปี ก็ทำให้หนี้สินครัวเรือนพุ่งจาก 63% ก่อนปี 2554 จนเฉียด 80% ในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2556




          ต่อมาเป็นตัวเลข NPL หรือหนี้เสียจากสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ (ซื้อแล้วผ่อนไม่ไหว) ที่มีแนวโน้มในขาขึ้นชัดเจน จาก 10,000 กว่าล้านบาท พุ่งไปเกือบแตะ 25,000 ล้านบาทในเวลาเพียง 3 ปี



          ดูตัวเลขแล้วก็หนาว ๆ ร้อน ๆ เนอะ หลาย ๆ คนเห็นแล้วก็อาจจะโทษนู่นโทษนี่ ต่อว่านโยบายรถคันแรก ต่อว่าบัตรเงินสด ต่อว่าโฆษณาที่ทำให้ดูเหมือนว่าการกู้เงินเป็นเรื่องที่ง่ายมาก ขับรถเข้าไปปุ๊บได้เงินออกมาปั๊บ ยังมีรถใช้อยู่ แต่ลืมต่อว่าไปอย่างหนึ่ง … "ตัวคนกู้" นั่นเอง …

          ของอย่างนี้มันตบมือข้างเดียวไม่ดังหรอกครับ สถาบันการเงินหลาย ๆ แห่งชอบโทรมาชวนให้ทำบัตรบ้าง กดเงินบ้าง กู้รถ กู้บ้านเกินกำลังบ้าง แต่ถ้าตัวคนกู้ไม่เอาด้วยเสียอย่าง เขาก็ไม่มีสิทธิ์มาบังคับให้คุณจับปากกาเซ็นชื่อลงในเอกสาร ธุรกรรมทางการเงินก็คงจะไม่เกิดขึ้น ซึ่งผมเชื่อว่าสาเหตุหนึ่งคงจะมาจากการที่หลาย ๆ คนมีความรู้ในเรื่องนี้น้อยเกินไป ว่าใช้จ่ายอย่างไรเรียกว่า "ไหว" และใช้จ่ายอย่างไรเรียกว่า "ไม่ไหว"

          การที่เราจะหาคำว่า "พอดี" ได้นั้น เราก็ต้องมารู้จักความหมายของ "ฉันกู้ผ่าน" กับ "ฉันซื้อไหว" เสียก่อน

          ฉันกู้ผ่าน หมายความถึง จำนวนเงินที่ธนาคารคิดว่าสามารถทำกำไรจากคุณในความเสี่ยงที่เขายอมรับได้ (ไม่ใช่คุณยอมรับได้)

          ฉันซื้อไหว หมายความถึง จำนวนเงินที่คุณสามารถจ่ายได้โดยไม่สร้างเดือดร้อนต่อตนเองและคนรอบข้าง

          เงินกู้ก็เหมือนมีด ใช้ดี ๆ ก็เกิดประโยชน์ ใช้ผิดก็อาจจะเฉือนทำร้ายตัวเองรวมถึงคนที่อยู่รอบ ๆ เราได้ด้วย ดังนั้นธนาคารพาณิชย์จึงถูกตั้งเกณฑ์ขั้นต่ำในการปล่อยสินเชื่อขึ้นมา จากตัวเลขที่เรียกว่า "อัตราส่วนรายได้ต่อภาระจ่ายชำระหนี้" หรือ DSCR: Debt Service Coverage Ratio ซึ่งคำนวนจากการเอาเงินได้มาหารภาระที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน เช่น

          เงินเดือน 50,000 บาท

          ผ่อนชำระหนี้ 10,000 บาท

          ก็เรียกว่ามี DSCR = 5 เท่า

          โดยตัวเลขนี้ในเหตุการณ์ทั่วไปจะถูกกำหนดไม่ให้ต่ำกว่า 2 เท่า ก็คือเงินเดือน 50,000 บาท ผ่อนชำระหนี้ได้สูงสุด 25,000 บาท นั่นเอง




          ทีนี้เรามาดูอัตราเฉลี่ยของประเทศไทยกันบ้างนะครับ ตรงนี้เป็นตัวเลขที่รวมรวบยอดประชากรทุกฐานะ ตั้งแต่มหาเศรษฐี จนถึงชนชั้นกลางที่สามารถกู้บ้านผ่านได้ ปรากฏว่ามีอัตราส่วนรายได้ต่อภาระจ่ายชำระหนี้ (DSCR) อยู่ที่ 4.4 เท่าโดยเฉลี่ย คิดง่าย ๆ ก็คือ มีเงินเดือน 44,000 บาท ผ่อนชำระหนี้ 10,000 บาท เหลือ 34,000 บาท เอาไว้ใช้จ่ายในแต่ละเดือนรวมถึงจ่ายภาษีรายได้ส่วนบุคคลด้วย ซึ่งผมก็เห็นว่าเป็นตัวเลขที่ค่อนข้างเหมาะสม สามารถใช้จ่ายกันได้อย่างสบาย ๆ ไม่เกินตัว

          สำหรับบางคนไม่ใช่อย่างนั้นนะสิครับ สมมุติว่า นายเปี๊ยก มีรายได้ 50,000 บาทต่อเดือน (600,000 ต่อปี) อยากได้ทาวน์เฮาส์ราคา 2 ล้านบาท ผ่อน 20 ปี ดอกเบี้ย 6% ก็จะอยู่ประมาณ 15,600 บาทต่อเดือน เหลือใช้ 34,400 บาทต่อเดือน (คิดเป็น DSCR = 3.2 เท่า) – คำนวณสินเชื่อด้วยโปรแกรมจากธนาคารอาคารสงเคราะห์




          แต่พอเปี๊ยกดูบ้านไป ๆ มา ๆ แล้วก็เห็นว่าข้าง ๆ โครงการนี้ก็มีบ้านเดี่ยวอยู่ห่างไปไม่ไกล ในราคา 3.2 ล้านบาท ผ่อน 20 ปี ดอกเบี้ย 6% ก็จะต้องจ่าย 24,900 บาทต่อเดือน เหลือใช้ 25,100 บาทต่อเดือน อัตราส่วน DSCR ลดลงเหลือ 2 เท่าเศษ ซึ่งเปี๊ยกเองก็สามารถกู้ผ่านได้อยู่ …



          สายตาที่เคยมองทาวน์เอาส์ก็ถูกความฝันของบ้านเดี่ยว 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ พร้อมสวนรอบข้างมาแทนที่ ลืมไปเลยว่าตัวเองเคยตั้งงบไว้ไม่เกิน 2 ล้านบาทเพราะ "กู้บ้านเดี่ยวผ่าน" ก็เลยเทใจมาที่บ้านที่ใหญ่กว่า ตั้งใจว่าจะรัดเข็มขัด ลดค่าใช้จ่ายอย่างอื่นเอา

          บังเอิญเปี๊ยกลืมไปว่า เงินเดือนแต่ละเดือนก็ต้องถูกหักภาษีไปนะ ต้องส่งประกันสังคมด้วยนะ หากเดือนไหนป่วยก็ต้องไปหาหมอด้วยนะ ประกันรถยนต์ก็ต้องจ่ายทุกปีนะ … แล้วพออยู่บ้านเดี่ยวค่าใช้จ่ายการดูแลบ้านก็ต้องเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ไหนจะดูแลรักษาต้นไม้ ตัดหญ้ารอบบ้าน จ่ายค่าส่วนกลางที่มักจะแพงกว่าโครงการทาวน์เฮาส์ทั่ว ๆ ไป … ยิ่งไปกว่านั้นก็ไม่ได้คำนึงถึงเหตุการณ์สุดวิสัย ที่เปี๊ยกไม่อาจคำนวณได้ ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาเศรษฐกิจโลก อุบัติเหตุ หรือเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ ไม่มีเงินก้นถุงเหลือมาใช้จ่ายในส่วนนี้

          บ้านนั้นจัดเป็นการลงทุนก็จริงอยู่ เป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่ามากขึ้นก็จริงอยู่ แต่เราก็ไม่ต้องคิดไปว่าเราจะอยู่บ้านที่เราจะซื้อนี้ไปจนตายนะครับ … คนส่วนใหญ่มักคิดอย่างนั้น แต่แท้จริงแล้วบ้านสามารถขายเปลี่ยนมือและไปหาที่ใหม่ได้ตลอดเวลา ตราบใดที่เรามีสตางค์พอก็สามารถขยับขยายได้ … แต่สิ่งที่จะทำให้เรามีสตางค์ไม่พอนั้น ก็คือ "ดอกเบี้ย" คนเรากู้ธนาคารมักจะลืมเรื่องดอกเบี้ย หรือเงินจ่ายเปล่า ๆ นั้นไปเลย

          ทาวน์เฮาส์ 2 ล้านบาท ผ่อน 20 ปี ดอกเบี้ย 6% ผ่อนเดือนละ 15,600 บาท รวมต้องจ่ายทั้งหมด 3.744 ล้านบาท เป็นดอกเบี้ย 1.744 ล้านบาท

          บ้านเดี่ยว 3.2 ล้านบาท ผ่อน 20 ปี ดอกเบี้ย 6% ผ่อนเดือนละ 24,900 บาท รวมต้องจ่ายทั้งหมด 5.976 ล้านบาท เป็นดอกเบี้ย 2.776 ล้านบาท

          คิดหยาบ ๆ ปีแรก 3.2 ล้านบาท ดอกเบี้ย 6% ตกเดือนละ 16,000 บาท … นี่คือเงินที่เสียไปฟรี ๆ นะครับ ไม่ได้ลดต้นนะ แต่เป็นส่วนกำไรของธนาคารต่างหาก

          ผมเข้าใจว่าทุกคนอยากได้บ้านในฝัน แต่ถ้าเราซื้อบ้านอย่างมีสติอยู่ด้วยความพอดี ปัญหาการเงินหลาย ๆ อย่างก็คงจะไม่เกิดขึ้น ซึ่งถ้าเกิดขึ้นแล้วธนาคารเขาก็ไม่ได้มาเดือดร้อนกับคุณด้วยนะครับ ดอกเบี้ยวิ่งทุกวัน ขนาดน้ำท่วมกรุงเทพฯ ปี 54 หลายคนขอประนอมหนี้หยุดผ่อนได้ 3 เดือน แต่ดอกเบี้ยก็ยังไม่หยุดเดินนะ คิดทุกเม็ด ถ้าผ่อนไม่ไหวก็จับบ้านไปขายทอดตลาด หรือรีไฟแนนซ์ที่ยืดเวลาผ่อนนานขึ้น ให้คุณจ่ายต่อก้อนน้อยลงแต่เขาก็ได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเหมือนกัน

          ความพอดีที่ดีที่สุดสำหรับแต่ละคนนั้นคงไม่ใช่อัตราส่วนใด ๆ ที่คนอื่นเป็นผู้กำหนดขึ้น หรือเป็นสัดส่วนค่าเฉลี่ยประชากร มันแทนกันไม่ได้ครับ เพราะบริบทต่างกัน แต่ละคนมีภาระไม่เท่ากัน มีลักษณะการใช้ชีวิตแตกต่างกัน มีความพอใจในความมั่นคงไม่เท่ากัน ดังนั้นเกณฑ์ที่ดีควรจะเป็นเกณฑ์ที่ไม่ได้กำหนดลงไปอย่างเฉพาะเจาะจง

          อย่างเช่นคำถามที่ผมชอบใช้ ..
         
          หากคุณมีความคิดแม้แต่แว้บเดียวว่า "ฉันจะจ่ายไหวไหม ?" นั่นแหละครับ สรุปได้เลยว่า "คุณจ่ายไม่ไหว" แต่กำลังหาเหตุผลมาสนับสนุนความเกินพอดีของตนต่างหาก

          ปล. คำถามนี้ไม่ใช่ "คุ้มค่าเงินไหม" นะครับ เรื่องคุ้มค่าเงินเป็นเรื่องแพงหรือถูก ซึ่งต้องพิจารณาทุกครั้งก่อนที่จะซื้อสินค้าทุกชนิด
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #135 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2014, 09:29:41 am »
เป็นหนี้บัตรเครดิต ทําไงดี เรามีคำแนะนำมาฝาก

-http://money.kapook.com/view89516.html-

ลดหนี้…… บัตรเครดิต เทคนิคดีๆ ที่ควรรู้  (ธนาคารกสิกรไทย)

          เป็นหนี้บัตรเครดิต ทําไงดี ไม่จ่ายบัตรเครดิต หนี้บัตรเครดิต ไม่จ่าย ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ควรทำอย่างไร วันนี้เรามีคำแนะนำมาฝาก

          ปัญหาหนึ่งของคนมีหนี้บัตรเครดิตที่ยังไม่มีวินัยในการใช้จ่ายเงิน แถมใช้จ่ายเงินด้วยความฟุ่มเฟือยหรือใช้จ่ายเงินไม่เป็น อาจก่อให้เกิดปัญหาไม่สามารถจ่ายชำระหนี้ได้ทันเวลาที่กำหนด ส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ตามมา ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการติดตามทวงถามหนี้ ค่าปรับจากการผิดเงื่อนไขการชำระ ดอกเบี้ยที่คิดจากยอดค้างชำระ ทั้งนี้ ยังไม่รวมผลเสียจากความเครียดที่มีเพิ่มขึ้น และสุขภาพจิตที่เสียไปเมื่อขาดเงินชำระหนี้

          เริ่มแรกเมื่อใช้บัตรเครดิตใหม่ ๆ ไม่มีใครคิดอยากเป็นหนี้ แต่พอเริ่มใช้สักระยะหนึ่งแล้ว รู้สึกว่าตนเองมีกำลังซื้อจากเงินในอนาคตมากขึ้น จากเดิมที่เคยชำระแบบเต็มวงเงิน เริ่มเปลี่ยนเป็นการชำระเพียงบางส่วน ดังนั้น หากไม่มีวินัยในการใช้เงินที่ดีแล้ว จะเริ่มมีการค้างชำระหนี้บัตรเครดิตจาก 1 เดือน เป็น 2 เดือน 3 เดือน และในที่สุดก็ไม่สามารถชำระหนี้ได้ ซึ่งส่งผลต่อการขอกู้เงิน หรือการขอสินเชื่อในครั้งต่อ ๆ ไป เช่น ในอนาคตหากมีความประสงค์ต้องการซื้อบ้าน รถยนต์ จะทำให้สูญเสียโอกาสในการกู้เงิน เพราะการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินต่าง  ๆ ในปัจจุบัน ใช้วิธีดูประวัติการผ่อนชำระผ่านทางระบบข้อมูลเครดิตแห่งชาติ (Credit Bureau) กล่าวคือ หากเป็นผู้ที่มีประวัติการผ่อนชำระไม่ดี อาจไม่สามารถกู้เงินได้อีกในครั้งต่อไป ดังนั้น คุณผู้อ่านควรรู้จักวิธีบริหารจัดการหนี้ เผื่อไว้สำหรับเวลาที่เดือดร้อนเรื่องเงินจริง ๆ จะได้สามารถพึ่งพาเครดิตของตัวเองได้ ไม่ต้องไปขอหยิบขอยืมเงินใครมาใช้

          สำหรับวิธีบริหารจัดการหนี้นั้น ขอเริ่มจากหนี้ที่ง่ายที่สุด คือ หนี้บัตรเครดิต การใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตมีความง่ายและสะดวกสบาย แต่ หากขาดการวางแผนที่ดี อาจก่อให้เกิดเป็นหนี้สินได้ หนี้บัตรเครดิตเป็นหนี้อันดับแรกที่ควรชำระ เนื่องจากดอกเบี้ยสูงและเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะสถาบันการเงินผู้ออกบัตรเครดิตจะ เริ่มคิดดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่มีการจ่ายเงินแทนลูกค้าออกไป สำหรับเทคนิคการบริหารจัดการหนี้บัตรเครดิตอย่างถูกวิธีนั้น มีดังต่อไปนี้

          ไม่มีเงินจ่าย อย่าได้รูดบัตร ใช้จ่ายให้น้อยกว่า หรือเท่ากับเงินสดที่มีเท่านั้น

          ชำระเต็มจำนวน... ตรงตามเวลา จะช่วยลดค่าใช้จ่ายดอกเบี้ย รวมถึงค่าปรับต่าง ๆ ได้

          ถือบัตรที่เหมาะกับ Lifestyle มีส่วนช่วยลดค่าใช้จ่ายบางส่วนลงได้ เช่น เติมน้ำมันผ่านบัตรเครดิตให้ส่วนลดสูงถึง 5% เติมเงินค่าเดินทางรถไฟฟ้าผ่านบัตรเครดิตมีส่วนลดพิเศษ เป็นต้น

           อ่าน Statement อย่างละเอียด เพื่อทบทวนรายจ่ายในแต่ละเดือน

          ใช้ Statement เป็นบันทึกการใช้จ่าย ลดค่าใช้จ่ายฟุ่มเฟือยที่ไม่จำเป็น

          ใช้สิทธิประโยชน์จาก Point อย่างเหมาะสม ไม่เป็นเหยื่อโปรโมชั่น ของบัตรเครดิต

เป็นหนี้บัตรเครดิต ทําไงดี

          สำหรับผู้ที่เริ่มมีหนี้บัตรเครดิต และต้องการหาทางออก มีเคล็ดลับดี ๆ ในการลดหนี้ ก่อนอื่นควรรู้จักกับหนี้ที่เหมาะสมของบัตรเครดิตก่อน คุณผู้อ่านทราบหรือไม่ว่า มีหนี้บัตรเครดิตเท่าไร ถึงจะไม่เกินตัว สำหรับจำนวนหนี้ที่ต้องผ่อนชำระบัตรเครดิตนั้น ไม่ควรเกิน 10% ของรายได้สุทธิต่อเดือน หรือ ไม่ควรกู้เกิน 20% ของรายได้สุทธิตลอดทั้งปี เพราะจะส่งผลต่อการผ่อนชำระหนี้ได้ ทั้งนี้ เคล็ดลับในการลดหนี้บัตรเครดิต ขอแนะนำ เทคนิคดี ๆ ที่ควรรู้ มีดังต่อไปนี้

          อันดับแรกต้องใจแข็ง ไม่ก่อหนี้เพิ่ม ซื้อเฉพาะสิ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น อาหาร ยารักษาโรค ค่าเดินทางมาทำงาน เสื้อผ้าตามความจำเป็น ฯลฯ มีข้อคิดดี ๆ สำหรับการประหยัดเงินเพื่อมาชำระหนี้เพิ่ม คือ “ถึงแม้ว่าจะถูกแค่ไหน ถ้าไม่ใช้ ก็ไม่ซื้อ”

          อันดับต่อมา ควรชำระหนี้ที่คิดอัตราดอกเบี้ยสูง ๆ ก่อน หากมีเฉพาะบัตรเครดิต ควรเลือกปิดบัตรที่มียอดหนี้คงเหลือต่ำ ๆ ก่อน  แล้วทยอยปิดบัตรที่มียอดคงเหลือน้อยใบต่อไป เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการลดหนี้ ทั้งนี้ ควรมีการบันทึกบัญชีรับ-จ่าย ควบคู่กันไปด้วย เพื่อดูความสามารถในการชำระหนี้เพิ่ม (จะได้หมดเร็ว ๆ) และหากต้องการมีวินัยในการใช้จ่ายเงิน แนะนำให้เปลี่ยนไปใช้ “บัตรเดบิต” แทน “บัตรเครดิต” เพื่อที่จะได้ใช้จ่ายตามเงินที่มีอยู่ในกระเป๋า ไม่ต้องคอยกังวลว่าจะมีเงินมาชำระหนี้บัตรเครดิตหรือไม่ ซึ่งการใช้บัตรเดบิตก็เป็นการลดค่าใช้จ่ายที่ดีอีกทางเลือกหนึ่ง และพยายามหาทางเพิ่มรายได้ เพื่อนำมาชำระหนี้

          อันดับสุดท้ายที่แนะนำ คือ การขายสินทรัพย์เพื่อนำมาชำระหนี้ พิจารณาสินทรัพย์ที่มีอยู่และไม่มีความจำเป็นต้องใช้ ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หากนำมาชำระหนี้แล้วจะทำให้ลดดอกเบี้ยจ่ายและเงินต้น ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีอีกทางหนึ่ง

          นอกจากนี้ การวางแผนการใช้จ่ายล่วงหน้าเป็นรายเดือน จัดแยกค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าสาธารณูปโภค และใช้จ่ายให้อยู่ในงบประมาณที่กำหนด จะช่วยให้คุณมีเงินเหลือเก็บมาชำระหนี้มากขึ้น


ขอขอบคุณข้อมูลจาก
ธนาคารกสิกรไทย
โดย คนอง ศรีพิบูลพานิชย์
ฝ่ายวางแผนและให้คำปรึกษาทางการเงินส่วนบุคคล ธนาคารกสิกรไทย
-http://k-expert.askkbank.com/Article/Pages/A4_015.aspx-



http://money.kapook.com/view89516.html
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #136 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2014, 10:18:39 am »
8 กลยุทธ์ออมเงินอย่างไรให้รวย

-http://guru.sanook.com/27078/8-%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%87%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A2/-



1.ออมเงินก่อนใช้

          การใช้เงินก่อนแล้วค่อยออมจากส่วนที่เหลือถือว่าเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้อง เพราะถ้าไม่วางแผนการใช้เงินแล้วละก็ เราก็จะใช้เงินที่คิดจะออมจนหมดแน่นอน แต่ถ้าเรากำหนดจำนวนเงินที่ตั้งใจจะออมไว้ก่อนแล้วค่อยใช้เงินจากส่วนที่เหลือ จะได้เงินที่ตั้งใจออมและมีเงินไว้ใช้ได้อย่างประหยัด

2.ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น         

          เคยบ่นเรื่องค่าน้ำค่าไฟที่แพงขึ้นไหม เราสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้ โดยปิดน้ำและไฟเมื่อไม่ได้ใช้ นอกจากจะประหยัดเงินแล้วเรายังได้ช่วยประหยัดทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย

3.ทำบัญชีการใช้เงิน

          มาตรฐานของการออมเงินคือ การทำบัญชีอย่างละเอียด ต้องจดว่าใช้เงินไปเท่าไร ใช้ทำอะไรบ้าง ถ้าใช้ไปอย่างฟุ่มเฟือยก็จะรู้ได้ทันที แม้จะเป็นเงินแค่๑บาท ก็ต้องจดไว้เสมอ

4.เลือกสินค้าดีราคาประหยัด 

          เวลาซื้อสินค้าต้องเลือกที่มีคุณภาพดี แต่ราคาประหยัด ถ้าสินค้ามีคุณภาพและปริมาณเหมือนกัน แต่ยี่ห้อต่างกัน ก็ควรเปรียบเทียบราคาดูว่าอันไหนถูกกว่า หรือเลือกสินค้าลดราคา ถ้าเป็นอาหารก็ต้องดูวันหมดอายุด้วย การทำแบบนี้จะช่วยให้มีเงินออมมากขึ้น

5.กำหนดเป้าหมายแล้วทำให้ได้

          กำหนดจำนวนเงินที่จะออมภายใน1ปี จากนั้นกำหนดเป้าหมายระยะสั้น1เดือน 3 เดือน 6 เดือน และ 9 เดือน เพราถ้ากำหนดเวลานานเกินไป จะทำให้ใช้เงินอย่างประมาทและลืมเป้าหมายที่ตั้งไว้ ตั้งเป้าหมายระยะสั้นๆจะทำให้ตื่นตัว และใช้เงินอย่างประหยัดอยู่เสมอ

6.ตามล่าธนาคารดอกเบี้ยสูง   

          ถ้าเปรียบเทียบธนาคารของรัฐบาลกับธนาคารเอกชน ธนาคารเอกชนจะมีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า แต่มีความเสี่ยงมากกว่าธนาคารรัฐบาล จึงต้องเลือกให้ดีและคอยติดตามข่าวสารเรื่องดอกเบี้ยอยู่เสมอ

7.มีธนาคารประจำ       

          ถ้าต้องทำธุรกรรมต่างๆผ่านธนาคาร เช่นชำระค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ ควรเปิดบัญชีธนาคารไว้หนึ่งบัญชีเพื่อชำระผ่านธนาคารเดียวกัน จะได้ไม่ต้องกังวลว่าถึงกำหนดชะระเมื่อไรและป้องกันการลืมอีกด้วย

8.ติดตามข่าวสารเศรษฐกิจ     

          สถานการณ์การเมือง เศรษฐกิจและสังคมเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงควรติดตามข่าวเศรษฐกิจทั้งเรื่องอัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ เพื่อใช้ในการตัดสินใจออมเงินได้ดีขึ้น

คนที่ร่ำรวยแต่ไม่รู้จักการเก็บออม ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย ต่อให้ร่ำรวยมีเงินมากเท่าไร วันหนึ่งก็อาจหมดลงได้และกลายเป็นคนที่ลำบากยากจน ฉะนั้น คำว่า “ร่ำรวย”บางทีอาจหมายถึงการมีชีวิตของวันพรุ่งนี้ที่ดีกว่าวันนี้ เพราะมันเป็นการบอกว่าเราควรใช้ชีวิตด้วยความไม่ประมาท และพยายามประหยัดและอดออม เพราะถ้าเราสามารถใช้ชีวิตให้ดีขึ้นทุกๆวัน ก็เหมือนกับเราได้รวยขึ้นทุกๆวัน และคงเป็นเรื่องที่ทุกๆคนต้องการแน่นอน

ที่มา :  -l3nr.org-


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #137 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2014, 12:05:49 pm »
1 ก.ค.นี้ คปภ. เข้ม! ลงดาบตัวแทนไร้จรรยาบรรณ

-http://money.sanook.com/185215/1-%E0%B8%81.%E0%B8%84.%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%89-%E0%B8%84%E0%B8%9B%E0%B8%A0.-%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%A1-%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B9%81%E0%B8%97%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93/-


นายประเวช  องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)เปิดเผยว่าณ วันที่ 31 มีนาคม 2557 มีจำนวนตัวแทน/นายหน้าประกันภัย รวมทั้งสิ้น 461,585ราย แบ่งเป็นตัวแทนประกันชีวิต 270,599ราย ตัวแทนประกันวินาศภัย 23,322ราย นายหน้าประกันชีวิต 77,557ราย และนายหน้าประกันวินาศภัย 90,107ราย จากสถิติการรับประกันภัยจำแนกตามช่องทางการขายประกันภัย พบว่าช่องทางการขายผ่านตัวแทน/นายหน้าประกันภัย เป็นช่องทางสำคัญที่ทำรายได้สูงสุดให้แก่อุตสาหกรรมประกันภัย และเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพสร้างความแข็งแกร่งให้กับตัวแทน/นายหน้าประกันภัยให้มีจรรยาบรรณในการปฏิบัติหน้าที่เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต (วินาศภัย) พ.ศ.2535 (แก้ไขเพิ่มเติม 2551) และเป็นไปตามกฎหมายกำหนด ดังนั้น สำนักงาน คปภ. จึงได้ร่วมกับภาคธุรกิจประกันภัยกำหนดแนวทางในการเผยแพร่ข้อมูลของตัวแทน/นายหน้าประกันภัยที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้อง เพื่อให้ความรู้และปกป้องสาธารณชนในวงกว้าง

ทั้งนี้ ที่ผ่านมาสำนักงาน คปภ. ได้มีการนำข้อมูลของตัวแทน/นายหน้าประกันภัยที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม ฝ่าฝืนและไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดเช่น การรับชำระเบี้ยประกันภัยจากผู้เอาประกันภัยแล้วมิได้นำส่งให้บริษัท กระทำการปลอมลายมือชื่อลงในใบคำขอเอาประกันภัย และดำเนินการขอเอาประกันภัยกับบริษัท โดยที่ผู้ถูกปลอมลายมือชื่อมิได้มีเจตนาทำสัญญาประกันภัย ซึ่งได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตขึ้นบนเว็บไซต์ของสำนักงานฯ อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ประชาชนได้ตรวจสอบสถานะของตัวแทน/นายหน้าประกันภัยเพื่อประกอบการตัดสินใจซื้อกรมธรรม์ประกันภัย ดังนั้น ขั้นตอนต่อไปสำนักงาน คปภ. จะมีมาตรการที่เข้มงวดขึ้นอีกโดยการเปิดเผยรายชื่อและพฤติกรรมในการกระทำความผิดของตัวแทน/นายหน้าประกันภัยที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2557 เป็นต้นไป

เลขาธิการ คปภ. กล่าวเสริมว่า ในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชน สำนักงาน คปภ. ได้มุ่งเน้นการให้บริการด้วยความรวดเร็ว เป็นธรรม และโปร่งใส บนฐานของข้อมูลที่ครบถ้วน เข้าใจง่าย และเข้าถึงง่าย เพื่อให้ประชาชนและผู้ประกอบการใช้ประกอบการเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันภัย การที่ประชาชนมีข้อมูลที่ครบถ้วนและรับรู้สิทธิประโยชน์ ข้อยกเว้น เงื่อนไขด้านการประกันภัยของตนเองได้ถือเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากที่สุดในการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ให้กับประชาชนส่วนการเปิดเผยรายชื่อผู้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตดังกล่าวจะผลักดันให้บริษัทประกันภัยหันมาเข้มงวดกับตัวแทนในสังกัด และพัฒนาให้เกิดการแข่งขันทางด้านคุณภาพการให้บริการกับประชาชนและจะส่งผลให้เกิดความเชื่อมั่นต่อธุรกิจประกันภัยต่อไป
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #138 เมื่อ: มิถุนายน 01, 2014, 10:00:04 pm »

ประกาศ ..แชร์กันต่อๆไปครับ หลังจากพวกเราโดนโกงมานาน...
http://webboard.hitech.sanook.com/forum/?topic=3822115

ผมทำแล้ว จึงอยากให้เพื่อนๆ ทุกคน ทำบ้างครับ (ในโทรศัพท์มือถือของเราเอง)

พอกันเสียที หลังจากถูกมันกินฟรีมานาน ปกติเมื่อท่านโทรศัพท์ออก ไปหาเพื่อน หลังมีเสียงเรียกสักระยะหนึ่ง จะถูกตัดเข้า โหมด voice mail ทำให้ท่านต้องเสียค่าโทร. เพราะเจ้าของเครีอข่ายเค้าถือว่า call completed เค้าจึงคิดเงินทันที แม้เพียงวินาทีเดียวก็คิด 1 นาที

น้องที่ กสทช.แนะวิธียกเลิกโหมดนี้ โดย ให้กด ##002# กดโทร. ออก ก็จะเป็นการยกเลิกการตัดเข้า โหมด voice mail และจะไม่ต้องเสียค่าโทรอีก โดนคนละไม่กี่บาทต่อเดือน แต่เจ้าของเครือข่าย เค้ากินฟรีปีละหลายล้าน..ลบได้เลยทำตามขั้นตอน

ที่มา: FB Atipoj Srisukhon
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
Re: รวบรวมเรื่อง "เงิน" กับ "ทอง"
« ตอบกลับ #139 เมื่อ: มิถุนายน 04, 2014, 09:45:22 pm »
ยกเลิกสิทธิลดหย่อนภาษีและปฏิรูป LTFและ RMF จริงหรือ?
LTFและRMF ยกเลิกสิทธิลดหย่อนภาษีจริงหรือ

-http://money.kapook.com/view89762.html-

เกริ่นนำโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก TaxBugnoms  , ทวิตเตอร์ @TAXBugnoms

          ยกเลิกลดหย่อนกองทุนรวม LTFและRMF จริงหรือไม่ กรมสรรพากรจะทำการปฏิรูปการเก็บภาษีกองทุนรวม LTFและRMF อย่างไร มาดูกัน

          จากกรณีที่เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2557 นายสุทธิชัย สังขมณี อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ได้เตรียมเสนอต่อ คสช. ให้มีการปฏิรูปภาษีใหม่ทั้งระบบ เนื่องจากการปฏิรูปที่ผ่านมาไม่ได้แก้ปัญหารอบด้าน ทำให้ส่งผลต่อการจัดเก็บภาษี และหนึ่งในข้อเสนอดังกล่าวคือ ทบทวนสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษี ของกองทุน LTFและRMF พร้อมทั้งมีการศึกษาว่าค่าลดหย่อนทั้งหมด ผู้ได้ประโยชน์คือกลุ่มใดมากที่สุด … ว่าแต่ กองทุน LTFและRMF คืออะไร? ใครได้ประโยชน์จาก LTFและRMF กันแน่? วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการลงทุนคืออะไร? วันนี้กระปุกดอทคอม ได้รับการเอื้อเฟื้อข้อมูลจาก @TAXBugnoms ที่อนุญาตให้นำข้อมูลเรื่อง “เค้าจะปฏิรูป LTFและRMF จริง ๆ หรอครับ”  มาเผยแพร่ให้ได้อ่านกัน รายละเอียดเป็นอย่างไรไปดูกันเลยค่ะ

เค้าจะปฏิรูป LTFและRMF จริง ๆ หรอครับ

          จากข่าวล่ามาเร็วล่าสุดเมื่อวันก่อน เป็นข่าวที่มีหัวข้อสั้น ๆ แต่สั่นสะท้านทุกวงการลดหย่อนภาษีว่า.. “คลังเลิกลดหย่อน LTF-RMF เสนอลดภาษีบุคคลธรรมดา” เพื่อ “ปฏิรูปภาษี” โดยยกเลิกสิทธิลดหย่อนภาษีกองทุนรวม LTFและRMF ดังนั้นบทความพิเศษตอนนี้ @TAXBugnoms อยากจะขอแชร์ข้อมูลดี ๆ แนวคิดใส ๆ และแถลงไขความเข้าใจผิดที่อาจจะเกิดขึ้น เพราะมีหลายคนหลังไมค์มาถามว่า “ตกลงมันเกิดอะไรกันแน่?”

          อันดับแรก! เรามาทำความเข้าใจกันอีกครั้งนะครับว่า “แรกเริ่มเดิมทีกองทุนรวมเฉพาะ LTF เท่านั้นที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีในปี 2559 เป็นปีสุดท้าย” แต่สำหรับข่าวล่ามาเร็วนี้เข้าใจว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปทั้ง LTFและRMF ไปพร้อม ๆ กันเลย เนื่องจากเหตุผลว่า “ประชาชนที่มีรายได้น้อยและปานกลางได้รับประโยชน์จริง ๆ หรือไม่” หรือพูดอีกแง่หนึ่งก็คือกลัวว่าสิทธิประโยชน์นี้จะเอื้อประโยชน์ให้ “คนที่มีรายได้มาก” มีโอกาสลดหย่อนภาษีมากกว่า “คนที่มีรายได้น้อย” เอ่อ… ว่าแต่คนแบบไหนเรียกว่ารายได้มากหรือรายได้น้อยกันละเนี่ย

ใครได้ประโยชน์จาก LTFและRMF กันแน่

          จากการค้นคว้าวิจัยด้วยตัวเอง (ฟังดูอนาถพิลึกนะครับ TwT) พบว่ามีกลุ่มคนอยู่ 4 ประเภท ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อกองทุน LTF และ RMF เพื่อประหยัดภาษี อันได้แก่

          1. คนที่ไม่สามารถซื้อ LTF/RMF เพื่อประหยัดภาษีได้ : คนกลุ่มนี้เรียกว่าผู้มีรายได้น้อยอย่างแท้จริง เนื่องจากลำพังจะยาไส้ยังไม่มีปัญหา แล้วจะเอาเงินที่ไหนมาซื้อกองทุนเพื่อประหยัดภาษีกันละโว้ยยย (โทษครับ อินไปหน่อย)

          2. คนที่ซื้อ LTF/RMF เพื่อลดหย่อนภาษีบ้างตามอัธยาศัย : คนกลุ่มนี้ได้วางแผนการเงินโดยแบ่งเงินออม หรือรายได้บางส่วนมาซื้อกองทุนไม่ว่าจะเป็นเพื่อการลงทุนหรือประหยัดภาษี แต่ไม่ได้ใช้สิทธิเต็มทั้งจำนวน

          3. คนที่ซื้อ LTF/RMF เพื่อลดหย่อนภาษีเต็มจำนวน : คนกลุ่มนี้มีการวางแผนการเงินที่เรียกได้ว่ายอดเยี่ยม ถ้าเป็นเกมส์ก็เรียกได้ว่าเก็บทุกเม็ด อารมณ์ประมาณเล่นคุกกี้รันแล้วเก็บเพชรได้ทุกเม็ด และคนกลุ่มนี้เองแหละที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย

          4. คนที่ชีวิตนี้ไม่คิดจะซื้อ LTF/RMF : คนกลุ่มนี้ไม่มีผลใด ๆ ชั้นไม่ซื้อซักอย่าง LTF หรือ RMF ช่างแมร่งงงงง /ฝากออมทรัพย์โลด

          หากเราเปรียบเทียบข้อมูลง่าย ๆ เราจะเห็นว่า กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ที่สุดคือกลุ่มที่ 3 นั่นคือได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีเต็มเพดานที่กฎหมายอนุญาต แต่สิ่งหนึ่งที่เห็นได้จากการแบ่งประเภทนี้คือ เราไม่รู้เลยว่าคนกลุ่มไหนคือคนรวยหรือคนจน เพราะมันมาจากอุปนิสัยในการใช้เงินและการวางแผนทางการเงินของแต่ละบุคคลมากกว่า








          จากรูปประกอบข้างบนจะเห็นได้ว่า คนที่มีโอกาสประหยัดภาษีได้มากนั้น คือ กลุ่มคนที่มีรายได้สูง จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า “ผู้ที่มีรายได้สูงกว่า ย่อมมีโอกาสมากกว่า” เพราะหลักเกณฑ์ในการซื้อกองทุน LTFและRMF นั้นอ้างอิงกับรายได้ที่เกิดขึ้นในระหว่างปี

          แต่รูปประกอบด้านล่างนั้น คือการใช้สิทธิลดหย่อนภาษีตามความเป็นจริง เนื่องจากบางคนอาจจะมีรายได้สูงแต่ใช้สิทธิลดหย่อนและในขณะเดียวกันก็อาจจะมีบางคนไม่ได้ใช้สิทธิ์ ดังนั้นคำถามหนึ่งที่ทางสรรพากรอาจจะต้องพิจารณาคือ คนที่มีรายได้สูงนั้น ใช่คนกลุ่มเดียวกันกับคนที่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนภาษีอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยหรือไม่ และที่สำคัญก็คือ ผู้ที่มีรายได้สูงนั้น เราจะนิยามได้อย่างไร ดังนั้น คำกล่าวที่ว่า “เอื้อประโยชน์คนรวย” อาจจะไม่ได้เป็นจริง หากเรื่องนี้ยังไม่ได้รับการพิสูจน์จากข้อเท็จจริงที่ตรวจสอบได้

วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการลงทุนคืออะไร

          เนื่องจาก LTFและRMF นั้นเป็นกองทุนมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการลงทุนและการออมระยะยาว โดย LTF จะเน้นเพื่อส่งเสริมและพัฒนาตลาดหุ้นไทย เพื่อเพิ่มจำนวนผู้ลงทุน และเสถียรภาพให้มากขึ้น ส่วน RMF มีวัตถุประสงค์เพื่อสะสมเงินไว้ใช้หลังวัยเกษียณและความมั่นคงของชีวิตหลังเกษียณ

          อีกข้อหนึ่ง คือ ปัจจุบันระบบประกันสังคมและการบริการด้านสาธารณสุขยังมีไม่พอเพียงต่อความต้องการของประชาชน รวมถึงสวัสดิการต่าง ๆ สำหรับผู้สูงอายุ โดยมีงานวิจัยชิ้นหนึ่งระบุไว้ว่าคนไทยจำนวน 62% นั้นไม่เคยคิดถึงวันเกษียณ และไม่เคยวางแผนใด ๆ ทางการเงินเลย (โอ้ววแม่เจ้า)

          ณ จุดนี้ เราคงต้องถามตัวเองว่า วัตถุประสงค์ในการลงทุนของเรานั้นคืออะไร? หากเรามองว่าเป็นการลงทุนระยะยาวหรือเพื่อเกษียณ เราก็นั่งหน้ามนยิ้มแป้นลงทุนต่อไปให้สบายใจ เพราะถึงไม่ลดหย่อนภาษีเราก็ไม่มีปัญหา แต่ถ้าเรามองว่าเป็นการลงทุนเพื่อ “ลดภาษี” เป็นหลัก เราอาจจะต้องถามตัวเองต่อไปอีกสองข้อว่า “ทุกวันนี้เราลงทุนโดยรู้ความเสี่ยงหรือไม่” และ “เรามีหนทางอื่นในการลงทุนแล้วหรือยัง”

แล้วอนาคตตรูจะเป็นอย่างไร?

          บอกตรง ๆ ว่า งานนี้มีหนาว เพราะหลังจากปี 2559 จำนวนคนซื้อที่จำนวนลดลงในแต่ละปี อาจจะส่งผลกระทบต่อตลาดทุนอย่างแน่นอน โดยข้อมูลจากเฟซบุ๊กส่วนตัว คุณวรวรรณ ธาราภูมิ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บลจ.บัวหลวง ได้ให้ข้อมูลจำนวนเงินลงทุนและสัดส่วนของกองทุน LTFและRMF ไว้ดังนี้




          ตัวเลขข้างต้นแสดงให้เห็นว่า หากยกเลิกกองทุน น่าจะมีผลกระทบไม่น้อยต่อตลาดกองทุนรวม และอาจจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นโดยรวมหรือไม่ อันนี้ @TAXBugnoms คงตอบไม่ได้เช่นเดียวกันครับ แต่เท่าที่ลองสอบถามเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ผู้เชี่ยวชาญในวงการ มักจะได้รับคำตอบพร้อมรอยยิ้มว่า “ตก” หรือไม่ก็ “ตกหนักแน่” เพราะหลาย ๆ คนมองว่า คนส่วนใหญ่ซื้อเพราะต้องการผลประโยชน์ทางภาษีมากกว่าลงทุน เนื่องจาก (ความคิดเห็นส่วนตัว) สามารถลงทุนในหุ้นได้ผลตอบแทนมากกว่า หรือว่าสามารถเลือกลงทุนในกองทุนรวมอื่น ๆ ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าได้

          แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข่าวสารและข้อเสนอที่ทางกรมสรรพากรแจ้งต่อทาง คสช. ไว้ ซึ่งเราทุกคนก็ต้องติดตามดูกันต่อไปว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร ตอนนี้ขอให้ทุกคนอย่าเพิ่งตื่นตระหนกตกใจกันไปจนรีบขายตั้งแต่ปีนี้นะครับ (ย้ำอีกครั้งว่าปี 2559 นะครับที่หมดสิทธิ์)

          สุดท้ายนี้ ผมคาดว่าคงมีหลักการและแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่สิ่งที่ผมขออนุญาตเตือนใจอีกครั้งหนึ่ง คือ ถึงแม้ว่าจะมีสิทธิประโยชน์ทางภาษีหรือไม่ก็ตาม แต่เราทุกคนควรจะสนใจการลงทุนเป็นหลักเพื่ออนาคตในวันหน้า และเพื่อที่จะได้ลัลล้ายามเกษียณนะครับ
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)