หัวหอมใหญ่ยาครอบจักรวาล
-http://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%8D%E0%B9%88%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A5/-
ทราบหรือไม่ว่า...การทานหัวหอม ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในการปรุงอาหาร แล้วจะช่วยให้คุณห่างไกลจากโรคหัวใจ และไขมันอุดตัน ซึ่งในปัจจุบันการทานอาหารมีวิธีการทานที่จะต้องแข่งกับเวลาซะเป็นส่วนใหญ่ อาหารที่ได้รับในแต่ละวันจึงไม่ตรงกับความต้องการของร่างกายตัวเอง งั้นคุณลองหันมาทาน "หัวหอมใหญ่" ที่เป็นส่วนประกอบของอาหารต่างๆ ดีกว่าค่ะ
หอมหัวใหญ่ มีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันตก มีสรรพคุณเป็นพืชสมุนไพร มีสารสำคัญคือ ฟลาโวนอยด์ ไกลโคไซด์ (Flavonoid glycosides) ซึ่งมีคุณสมบัติขัดขวางไขมัน ไม่ให้เกาะตามผนังเส้นเลือด ซึ่งถ้าเกาะมากๆ จะเกิดภาวะเส้นโลหิตอุดตันทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ นอกจากนี้ หอมหัวใหญ่ยังช่วย "ลดไขมันในเลือด" ได้อีก ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับคนที่เป็นโรคอ้วน
น่าสนใจมากที่ปัจจุบัน นิยมนำหอมหัวใหญ่มาทำเป็นน้ำมันหอมระเหย หรือที่เราเรียกกันว่า การบำบัดแบบ "อโรมาเทอราปี" โดยหอมหัวใหญ่ที่สุกจะมีน้ำมันหอมที่ชื่อว่า "อัล ลิลิก ไดซัลไฟด์ (Allilic disulfides)" ซึ่งมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียได้ ถ้าสูดดมมากๆ จะช่วยกระตุ้นการขับปัสสาวะ บรรเทาอาการหวัด และลดเสมหะได้ หรือน้ำคั้นจากหอมหัวใหญ่ ก็จะช่วยลดอาการอักเสบบวม หรือลดความดันโลหิตและน้ำตาลในเส้นเลือด เนื่องจากหอมหัวใหญ่มีธาตุฟอสฟอรัสที่สูง จึงช่วยทำให้ความจำดีขึ้นอีก และยังสามารถนำหอมหัวใหญ่ไปใช้เป็นยาทาภายนอก ช่วยลดอาการอักเสบและฆ่าเชื้อแบคทีเรียใช้แก้พิษแมลงกัดอาการปวดบวมตามข้อหรือทาแก้สิวได้ด้วย
หอมหัวใหญ่ คนไทยนำมาประกอบอาหารหลายชนิด เช่น ยำต่างๆ ข้าวผัด สลัด ไข่เจียว ซุปหรือสตูต่างๆ ซึ่งถ้ารับประทานกันแบบสดๆ จะมีรสชาติกรอบ เผ็ดร้อน แต่ถ้านำไปปรุงอาหาร หรือถูกความร้อนก็จะมีรสชาติหวาน เนื่องจากสารที่ชื่อ "อัลลิลโปรบิลซัลไฟต์" ระเหยไประหว่างที่ถูกความร้อนและได้สารที่มีรสหวานมาแทน ว่ากันว่า...ถ้ารับประทานหอมหัวใหญ่วันละครึ่งหัวทุกวัน ติดต่อกันอย่างน้อย 2 เดือน จะช่วยลดอาการโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
แทบจะเรียกได้ว่าเป็นยาครอบจักรวาลเลยก็ว่าได้ เมื่อคุณทราบกันแล้วว่าหัวหอมดีอย่างไร อย่าลืมทุกครั้งที่ทำอาหาร ให้คุณลองเติมเมนูที่มีหอมหัวใหญ่ไปด้วย เพื่อสุขภาพของคนที่คุณรักน่ะค่ะ
ที่มาข้อมูล myhomeveg.com
ที่มารูปภาพ thaiza.com
------------------------------------------------
ผัก ผลไม้ ชนิดใดที่ช่วยลดคลอเลสเตอรอลได้
-http://club.sanook.com/19334/%E0%B8%9C%E0%B8%B1%E0%B8%81-%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89-%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%83%E0%B8%94%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%A5-
ผัก ผลไม้ ชนิดใดที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลได้
คอเลสเตอรอล (Cholesterol) คือไขมันที่อยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายมนุษย์และสัตว์ เป็นสิ่งจำเป็นที่ช่วยให้ร่างกายทำงานได้ คอเลสเตอรอลผลิตในตับแล้วส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ทางเส้นเลือดให้แก่เซลล์ เซลล์จะคอยรับคอเลสเตอรอลในจำนวนที่มันต้องการ ส่วนที่เหลือเกินจะยังคงติดกรังอยู่ในเส้นเลือด ขัดขวางการไหลเวียนของกระแสเลือด หากเกิดกับเส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ก็ปรากฎอาการโรคหัวใจ
คอเลสเตอรอล 2 ชนิด
คอเลสเตอรอลมี 2 ชนิด คือ ชนิดดีและชนิดไม่ดี
ชนิดดีเรียกว่า HDLs (High Density Lipoproteins) ได้จากอาหารและร่างกายผลิตขึ้นเพื่อนำไปใช้ ชนิดดีนี้จะช่วยขับคอเลสเตอรอลที่เกินต้องการออกจากร่างกายด้วย
ชนิดไม่ดีเรียกว่า LDLs (Low Density Lipoproteins) ได้จากอาหารเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เป็นชนิดที่ร่างกายไม่ต้องการ คนที่มีคอเลสเตอรอลสูงจึงควรดูให้ละเอียดด้วยว่า สัดส่วนของชนิดดี กับชนิดไม่ดี เป็นอย่างไร เราควรมีชนิดดีสูง ๆ แต่ถ้ามีชนิดดีต่ำ แปลว่าอัตราเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจค่อนข้างสูง
ระดับคอเลสเตอรอลปกติควรต่ำกว่า 200 สำหรับ HDLs นั้นสูงเท่าไหร่ก็ยิ่งดี มีการวิจัยออกมาแล้วว่า กลุ่มคนที่กินผักบ่อย ๆ จะมีคอเลสเตอรอลต่ำกว่ากลุ่มคนที่กินแต่เนื้อสัตว์เป็นส่วนใหญ่ เมื่อแพทย์พบว่าคนไข้มีคอเลสเตอรอลสูงก็มักจะแนะนำให้ลดความอ้วน ไม่ให้กินอาหารที่มีไขมันสูง
วิธีเพิ่ม HDLs ลด LDLs ด้วยอาหารธรรมชาติ เช่น หอมใหญ่ หอมเล็ก เป็นของดีมีประโยชน์ทำให้ตัว HDLs สูง ถ้าเอาไปทำให้สุกก็จะด้อยคุณค่าลงเล็กน้อย
ผัก ผลไม้ มักอุดมด้วย วิตามินซี เบต้าแคโรทีน (Beto carotene) และพวกแอนตี้ออกซิแดนท์ (Antioxidants) ทั้งหลาย ซึ่งจะมีประโยชน์อย่างมากในการทำให้ LDLs เปลี่ยนเป็นน้ำดี วิตามินซี สามารถรวมตัวกับคลอเลสเตอรอลและแคลเซี่ยมทำให้คอเลสเตอรอลละลายน้ำได้ ข้อสำคัญอย่ากินผลไม้ที่เป็นแป้งและหวานมาก อันจะมีผลต่อน้ำตาลสูงเกินไปอีก
ถั่วและธัญญพืช เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วแดง ถั่วดำ และข้าวซ้อมมือ ลูกเดือย ข้าวโอ๊ต ก็เป็นกลุ่มอาหารที่ช่วยลดคอเลสเตอรอลได้อย่างเร็ว ทั้งยังช่วยเสริมโปรตีนด้วย
กระเทียมมีสารอัลลิไทอะมีน ช่วยเผาผลาญไขมันและลดคอเลสเตอรอล เพิ่ม HDLs
อาหารที่มีวิตามินอีสูง ได้แก่น้ำมันมะกอก ถั่วอัลมอนด์ ผลอะโวคาโด และพวกธัญพืชต่าง ๆ แต่น้ำมันมะกอกถั่วอัลมอนด์และอะโวคาโด ช่วยทำให้ HDLs ของคุณสูงขึ้นเป็นไขมันที่ร่างกายต้องการเช่นเดียวกับไขมันจากปลา
ประโยชน์และความสำคัญของน้ำมันปลา?
ผลจากการวิจัยทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่ากรดไขมันจำเป็นชนิดโอเมก้า 3 สามารถป้องกันการสะสมคอเลสเตอรอลในหลอดเลือดได้ EPA และ DHA ในน้ำมันปลา ลดการสร้างคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ โดยยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ในตับ
การได้รับไขมันจากปลาควบคู่ไปกับอาหารไขมันสูงชนิดอื่น จึงสามารถช่วยป้องกันการสะสมของคอเลสเตอรอลที่เกินต้องการไม่ให้จับเกาะผนังของเส้นเลือด พบว่าชาวเอสกีโมไม่มีโรคหัวใจ แม้ในชีวิตประจำวันจะกินไขมันมากมายเพื่อสร้างความอบอุ่นแก่ร่างกาย เนื่องจากมีการกินปลาอยู่เป็นประจำ
เพื่อลดคลอเลสเตอรอล เราควรรับประทานอาหารประเภท
1 มะเขือต่างๆ ทั้งมะเขือเทศ มะเขือเปราะ หรือมะเขือพวง อย่างมะเขือเทศก็จะมีทั้งวิตามินซี รวมทั้งมีสารเบต้าแคโรทีนและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์อีกหลายชนิด
2 หอมหัวใหญ่ และ กระเทียมสด สองอย่างนี้มีสรรพคุณชัดเจนในเรื่องของการช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และลดระดับไขมันและคลอเลสเตอรอลในเส้นเลือด และสารที่สกัดจากหัวหอมใหญ่ สามารถลดน้ำตาลในเส้นเลือดได้
3 ถั่วเหลือง พืชตระกูลถั่วที่ให้โปรตีนสูง ต่อมาคือ แอปเปิ้ล ผลไม้สารพัดประโยชน์ที่มีเพคติน ซึ่งเป็นไฟเบอร์ที่ละลายน้ำได้ ซึ่งไฟเบอร์ประเภทนี้จะดึงคอเรสเตอรอลแล้วขับออกมาจากร่างกายได้ นอกจากนั้นก็ยังช่วยบำรุงหัวใจ ลดความดัน ควบคุมปริมาณน้ำตาลในร่างกาย และอย่างสุดท้ายคือ โยเกิร์ต ที่นอกจากจะช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดได้แล้ว ก็ยังบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งอีกด้วย
4 รับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารเยอะในมื้อเช้า ได้แก่ ข้าวโอ๊ต ผลไม้ เป็นต้น เมื่อเลือกซื้อธัญญหาร ซีเรียล ต่าง ๆ ควรอ่านฉลากข้างกล่อง เลือกซื้อประเภทที่ระบุว่ามีเส้นใยอาหาร 5 กรัมหรือมากกว่า รำข้าวโอ๊ตและรำข้าวเจ้า เป็นอาหาร ที่มีเส้นใยอาหารมากที่สุด
5 รับประทานธัญพืช ได้แก่ ขนมปังโฮลวีต ลูกเดือย เป็นต้น
6 รับประทานถั่ว อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ได้แก่ ซุปถั่ว ถั่วแดง ถั่วดำ ถั่วเหลือง ผลิตภัณฑ์ของถั่วเหลือง
7 รับประทานผักและผลไม้ 5 ชนิดทุกวัน เช่น ในมื้อเช้าให้รับประทานผัก (ได้แก่ แครอท มะเขือเทศหั่นบาง)มื้อเที่ยง ผลไม้ (ได้แก่ ส้ม แอปเปิ้ล) มื้อเย็นรับประทานสลัดและผลไม้เพียงแค่นี้ก็สามารถทำให้คุณได้รับผักและผลไม้ 5 ชนิดในแต่ละวัน
8 รับประทานผลไม้สดแทนการดื่มน้ำผลไม้
9 รับประทานกระเทียม เพราะกระเทียมมีคุณสมบัติช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอลในเลือดลง
10 รับประทานผักที่มีวิตามิน ซีและอีสูง อาหารที่มีวิตามินซีสูง ได้แก่ พริกเขียว พริกแดง สตอร์เบอรี่ บร๊อคโคลี่ ส้ม แคนตาลูป สับปะรด เป็นต้น อาหารที่มีวิตามินอีสูง ได้แก่ เมล็ดถั่วเหลือง ถั่วอัลมอนด์ ถั่วเปลือกแข็ง น้ำมันถั่วเหลือง ถั่วเหลือง เป็นต้น
11 มีบางการศึกษาแสดงให้เห็นว่าดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณน้อย ๆ ช่วยลดระดับคลอเลสเตอรอลลง แต่ถึงอย่างไรก็ตามแพทย์ก็ไม่แนะนำให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
นอกจากนี้ควรปฏิบัติดังนี้
1 ออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดิน รำไทเก็ก เป็นต้น
2 อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง ได้แก่ ชา กาแฟ เหล้า บุหรี่ เกลือและน้ำตาล อาหารกระป๋อง หรือสำเร็จรูป ขนมปังขาว
Credit : โรงพยาบาลพัทลุง